Knowledge Center

SKU คือ อะไร?สำคัญยังไงกับร้านค้าออนไลน์

SKU คือ, SKU คืออะไร, วิธีตั้ง SKU สินค้า

เคยไหม? สต็อกสินค้าเยอะแค่ไหนก็จำไม่หมด หยิบผิดรุ่น ผิดสี ส่งผิดออเดอร์จนลูกค้าคอมเพลน ยิ่งขายหลายช่องทางก็ยิ่งสับสน จัดการหลังบ้านแทบไม่ทัน… ปัญหาเหล่านี้จะกลายเป็นเรื่องง่ายทันที ถ้าคุณรู้จัก “SKU” ระบบรหัสสินค้าที่ร้านค้าออนไลน์มือโปรเลือกใช้ บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักว่า SKU คือ อะไร และทำไมธุรกิจออนไลน์ยุคนี้ถึงต้องมีระบบ SKU เพื่อให้บริหารงานได้ง่าย ขยายธุรกิจได้ไกล และเติบโตอย่างมืออาชีพ

SKU คือ อะไร?

เก็บสินค้าอย่างเป็นระเบียบ ขายออนไลน์

SKU คือ รหัสที่ร้านค้าใช้กำหนดขึ้นเองเพื่อระบุและจำแนกสินค้าแต่ละชิ้นในระบบสต็อกอย่างชัดเจน ชื่อเต็มของ SKU “Stock Keeping Unit” หรือ “หน่วยเก็บสินค้า” นั่นเองค่ะ

ในทางปฏิบัติ SKU เปรียบเสมือน “ชื่อเล่นของสินค้า” ที่ช่วยให้ทีมงานสามารถค้นหา จัดเก็บ และหยิบสินค้าถูกต้องได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น หากร้านขายเสื้อผ้าอาจตั้ง SKU ของเสื้อยืดสีดำ ไซส์ L ว่า “TSH-BK-L” เพื่อแยกจากเสื้อสีขาวหรือไซส์อื่นๆ ได้อย่างชัดเจน

การมี SKU ช่วยลดความสับสนและช่วยบริหารจัดการสินค้าในคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อร้านค้าเริ่มมีจำนวนสินค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

SKU จำเป็นต่อร้านค้ามากแค่ไหน?

หลายคนอาจสงสัยว่า การตั้ง SKU มีความสำคัญขนาดไหนสำหรับร้านค้าออนไลน์? จริงๆ แล้ว SKU คือหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การจัดการหลังบ้านง่ายขึ้นมากค่ะ เพราะ

  • บริหารสต็อกแม่นยำ: สามารถเช็กจำนวนสินค้าในแต่ละรุ่นได้อย่างรวดเร็ว ว่าสินค้าตัวไหนขายดี ตัวไหนต้องเติมสต็อก
  • ลดความผิดพลาดในการจัดส่ง: ช่วยให้ทีมงานหยิบสินค้าถูกต้องตรงตามออเดอร์ ลดโอกาสส่งของผิด
  • รองรับการขายหลายช่องทาง: ไม่ว่าคุณจะขายสินค้าผ่าน Shopee, Lazada, TikTok Shop หรือเว็บไซต์ร้านค้าของตัวเอง การมี SKU ที่ชัดเจนจะช่วยให้ระบบหลังบ้านสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างง่ายดายและลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาด ยกตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อผ่านระบบ Omnichannel ของ MyCloud Fulfillment ที่สามารถรวมทุกช่องทางการขายไว้ในระบบเดียว โดยใช้ SKU ตัวเดียวในการเชื่อมโยงสินค้าทั้งหมด ทำให้สามารถบริหารสต็อกและจัดการออเดอร์จากทุกช่องทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ระบบหลังบ้านเดียวกัน
  • วิเคราะห์ข้อมูลยอดขายได้ง่ายขึ้น: ดูได้ว่าสินค้ารุ่นไหนขายดี รุ่นไหนควรโปรโมทเพิ่ม โดยเฉพาะ Inventory Dashboard ที่ MyCloud ฟีเจอร์ช่วยส่งเสริมการขายนี้จะประมาณผลความเคลื่อนไหวของสต๊อกที่อยู่ในคลัง ร้านค้าที่ใช้บริการจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสินค้ารายการไหน หรือ SKU ไหนขายดีหรือขายไม่ดี ช่วยให้วางแผนการรับเข้าสินค้าเพิ่มและเคลียร์สต๊อกได้ง่าย

โดยเฉพาะสำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มีสินค้าหลายรายการ SKU เป็นเครื่องมือที่ช่วยลดภาระงานและช่วยให้การเติบโตของธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

การตั้ง SKU คือ ขั้นตอนที่สำคัญ!

วิธีตั้งค่า SKU สินค้าให้มีประสิทธิภาพ

การตั้ง SKU ที่ดีไม่ใช่แค่คิดชื่อสุ่มๆ แต่ควรมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เพื่อให้ทีมงานทุกคนเข้าใจตรงกัน การตั้ง SKU ที่มีประสิทธิภาพควรมีแนวทางดังนี้

  • สั้น กระชับ และเข้าใจง่าย: ใช้อักษรย่อที่อธิบายประเภทสินค้า สี และไซส์
  • มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน: เช่น [ประเภทสินค้า]-[สี]-[ขนาด]
  • หลีกเลี่ยงการใช้สัญลักษณ์พิเศษ: เช่น /, &, # ที่อาจทำให้ระบบอ่านผิด
  • ไม่ตั้ง SKU ซ้ำกัน: เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนเวลาจัดการสต็อก

ตัวอย่างรูปแบบการตั้ง SKU

  • เสื้อยืดสีดำ ไซส์ M → TSH-BK-M
  • รองเท้าแตะสีขาว ไซส์ 40 → SND-WH-40

การมีระบบตั้ง SKU ที่สม่ำเสมอ ช่วยให้ร้านค้าจัดการสินค้าได้เป็นระบบ และรองรับการขยายธุรกิจได้ง่ายขึ้นในอนาคต เพราะสินค้าทุกชิ้นถูกแบ่งแยกและจัดระเบียบไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่ต้น

  • ตัวอย่าง SKU ที่ดี

เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น นี่คือตัวอย่างการตั้ง SKU ของสินค้าหลายประเภทที่ร้านค้าออนไลน์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เลย

ตัวอย่าง SKUที่ดี และ ถูกต้อง
  • แฟชั่น:
    • เสื้อเชิ้ตผู้ชาย สีขาว ไซส์ L → SHIRT-WH-L
    • กางเกงยีนส์ผู้หญิง สีดำ ไซส์ S → JEAN-BK-S
  • อิเล็กทรอนิกส์:
    • สมาร์ตโฟน iPhone 13 สีดำ 128GB → IPH13-BK-128
    • หูฟังไร้สาย รุ่น AirPods Pro → APP-PRO-WH
  • เครื่องสำอาง:
    • ลิปสติกสีแดงเบอร์ 01 → LIP-RED-01
    • รองพื้นเบอร์ 02 ผิวขาว → FD-02-LG

ข้อแตกต่างระหว่าง SKU และ Barcode

แม้ SKU และ Barcode จะเกี่ยวข้องกับการระบุสินค้า แต่จริงๆ แล้วทั้งสองมีความแตกต่างกันชัดเจน

SKU ตัวช่วยบริหารหลังบ้าน จัดการสินค้าในร้านค้าออนไลน์ได้ง่าย

Barcode ใช้สำหรับการสแกนขายหน้าร้านหรือในห้างสรรพสินค้า แต่หากเป็นสินค้าที่เก็บอยู่ในคลังสินค้าออนไลน์อย่าง MyCloud Fulfillment นอกจากการแบ่งแยกสินค้าแต่ละชิ้นตาม SKU แล้ว เรายังใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Handheld ในการสแกนบาร์โค้ดของสินค้าในขั้นตอนการหยิบและแพ็ก เพื่อเพิ่มความถูกต้องและแม่นยำในการจัดการออเดอร์ให้มากที่สุด

สแกนบาร์โค้ด หยิบสินค้า

สรุป ทำไมร้านค้าออนไลน์ควรมีระบบจัดการ SKU

SKU ช่วยให้จัดการสต๊อกสินค้าได้ดี
  • ทำให้ร้านค้าจัดการสต็อกได้แม่นยำ
  • ลดปัญหาสินค้าหาย หยิบผิด ส่งผิด
  • รองรับการขายในหลายแพลตฟอร์มได้อย่างไร้รอยต่อ
  • ช่วยให้วิเคราะห์ยอดขายและวางแผนธุรกิจได้แม่นยำยิ่งขึ้น

ข้อควรระวัง:

  • อย่าตั้ง SKU ที่คลุมเครือหรือใช้ตัวอักษรยาวเกินไป
  • ควรกำหนดมาตรฐานกลางในทีม ว่า SKU ต้องมีรูปแบบอย่างไร เพื่อป้องกันความผิดพลาด

​การกำหนดรหัสสินค้า (SKU) อย่างเป็นระบบเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารจัดการสต็อกที่มีประสิทธิภาพในธุรกิจออนไลน์ ช่วยลดข้อผิดพลาดในการหยิบ แพ็ก และจัดส่งสินค้า โดยเฉพาะเมื่อขายผ่านหลายช่องทาง เช่น Shopee, Lazada, TikTok Shop หรือเว็บไซต์ของร้านค้าเอง การมี SKU ที่ชัดเจนช่วยให้ระบบหลังบ้านสามารถเชื่อมโยงข้อมูลสินค้าได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

ภาพพนักงาน MyCloud Fulfillment กำลังดำเนินการจัดการออเดอร์ขั้นตอนแรกซึ่งคือการหยิบสินค้า โดยมีอุปกรณ์ที่ช่วยในการหยิบสินค้าคือ handheld ที่มีระบบจัดการสินค้า WMS ของ MyCloud ที่ช่วยให้การหยิบสินค้าเร็วขึ้นพร้อมลดความผิดพลาด ซึ่งสามารถหยิบได้เร็วถึง 50 ออเดอร์ภายใน 5 นาที ต่อพนักงาน 1 คน และ handheld 1 เครื่อง

บริการคลังสินค้าออนไลน์อย่าง MyCloud Fulfillment มีระบบจัดการที่ครบวงจร ตั้งแต่การเก็บสินค้าอย่างเป็นระเบียบ แบ่งแยกตาม SKU ชัดเจน ไปจนถึงการหยิบและแพ็กสินค้าที่ใช้เครื่องสแกนบาร์โค้ด (Handheld) เพื่อความถูกต้องและแม่นยำในการจัดการออเดอร์ พร้อมทั้งให้บริการจัดส่งสินค้าทุกวันไม่มีวันหยุด ตลอด 365 วัน ช่วยให้คุณสามารถโฟกัสกับการขายและขยายธุรกิจได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการจัดการหลังบ้าน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการสต็อกสินค้า หรือ บริการคลังสินค้าออนไลน์ ติดต่อที่นี่ได้เลยค่ะ คลิกเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

คู่มือสำหรับพ่อค้าแม่ค้า ขายของออนไลน์ ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง 

หากพูดถึงการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ก็คงเป็นเรื่องที่ดูจะง่ายดายใช่ไหมล่ะ แต่จริง ๆ แล้วหลายคนอาจไม่ทราบว่าการขายของออนไลน์นั้นต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมายเช่นเดียวกับการเปิดร้านค้าแบบมีหน้าร้าน เพราะการจดทะเบียนนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจของคุณดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจอีกด้วย ในบทความนี้ MyCloud จะพาคุณไปดูว่า การจดทะเบียนขายของออนไลน์ ตั้งแต่การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไปจนถึงการจดทะเบียนรับรองคุณภาพสินค้า พร้อมเอกสารที่จำเป็นทั้งสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มีอะไรและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง     ขายของออนไลน์ ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง การขายของออนไลน์ในปัจจุบันนั้นมีขั้นตอนทางกฎหมายที่ผู้ประกอบการต้องดำเนินการเพื่อให้ธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งหลัก ๆ แล้ว ต้องจดทะเบียนทั้ง 3 อย่าง ดังนี้  1. จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD) สำหรับผู้ขายออนไลน์ที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ถือว่าเป็นวิธีที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณได้ เนื่องจากการขายสินค้าออนไลน์ก็เปรียบเสมือนการมีหน้าร้าน จึงต้องมีการจดทะเบียนเช่นเดียวกับร้านค้าทั่วไป แต่จะแตกต่างตรงที่เป็นการจดทะเบียนพาณิชย์แบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจของคุณดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการยืนยันตัวตนของผู้ประกอบการและสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าธุรกิจของคุณมีตัวตนที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น  2. จดภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด หากธุรกิจของคุณยังไม่ถึงเกณฑ์นี้แต่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต การขยายช่องทางการขายเพิ่มเติมถือเป็นทางเลือกที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตไปถึงยอดขายตามเงื่อนไขได้ ซึ่งปกติธุรกิจส่วนใหญ่ก็มักขายผ่าน Marketplace ต่าง ๆ เช่น Shopee, Lazada, TikTok Shop หรือ […]

Chat Commerce ขายผ่านแชทยังไงให้ลูกค้ายอมจ่ายง่ายๆ

ในยุคที่ลูกค้าต้องการความสะดวกและตอบโจทย์ความต้องการทันที Chat Commerce หรือการซื้อขายผ่านช่องทางแชทกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ธุรกิจออนไลน์ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นบน LINE, Facebook Messenger, WhatsApp หรือ Instagram Direct Message การขายผ่านแชทไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มยอดขาย แต่ยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างธุรกิจกับลูกค้าอีกด้วย ในบทความนี้เราจะพาคุณไปสำรวจเหตุผลที่ทำให้การขายผ่านทางแชทกลายเป็นเครื่องมือสำคัญ พร้อมเคล็ดลับในการดึงดูดลูกค้าให้ซื้อสินค้าผ่านแชท Chat Commerce คืออะไร? คือการขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ที่เน้นการพูดคุยตอบโต้ เช่น LINE Official Account, Facebook Messenger หรือ WhatsApp โดยการสื่อสารผ่านแชทช่วยให้ลูกค้าได้รับคำตอบและข้อมูลสินค้าแบบเรียลไทม์ ทำให้กระบวนการซื้อขายมีความสะดวกรวดเร็ว ทำไม Chat Commerce ถึงสำคัญต่อธุรกิจในปัจจุบัน? 1. เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและเป็นส่วนตัว ช่วยให้การติดต่อกับลูกค้าเป็นไปอย่างง่ายดายและเป็นธรรมชาติ การพูดคุยผ่านแชททำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวที่พร้อมตอบคำถามและให้คำปรึกษาในทุกข้อสงสัย ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและความพึงพอใจมากขึ้น โดยเฉพาะกับสินค้าหรือบริการที่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม เช่น แฟชั่น สกินแคร์ สุขภาพ หรือบริการที่มีตัวเลือกซับซ้อน ตัวอย่าง จากตัวอย่างนี้ ลูกค้าได้รับคำตอบทันที ทำให้การตัดสินใจซื้อเป็นไปอย่างราบรื่นและสร้างความประทับใจตั้งแต่แรกพบ 2. สร้างความไว้วางใจและปิดการขายได้เร็วขึ้นทาง Chat Commerce การพูดคุยแบบเรียลไทม์ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าธุรกิจมีตัวตนและพร้อมดูแลพวกเขา […]

อัตราการจัดส่งไม่สำเร็จ (Non Fulfillment Rate) คืออะไร? พร้อมเคล็ดลับการจัดการปัญหานี้!

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นอีกหนึ่งกุญแจของความสำเร็จในการทำธุรกิจนี้ คือการจัดการคำสั่งซื้อและการจัดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหนึ่งใน SLA หรือตัวชี้วัดสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจ คืออัตราการจัดส่งสินค้าไม่สำเร็จหรือ Non Fulfillment Rate บนแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์อย่าง Shopee ที่จะส่งผลโดยตรงต่อความพึงพอใจของลูกค้าและยอดขายของร้านค้า ดังนั้น วันนี้ MyCloud จะพาคุณทำความรู้จักว่า อัตราการจัดส่งสินค้าไม่สำเร็จ คืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง ในบทความนี้กัน  Non Fulfillment Rate คืออะไร   Non Fulfillment Rate (NFR) หรืออัตราการจัดส่งสินค้าไม่สำเร็จ คือค่าที่แสดงถึงจำนวนคำสั่งซื้อที่ไม่สามารถจัดส่งได้สำเร็จ เทียบกับจำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมดในช่วงเวลาย้อนหลัง 7 วัน โดยคำนวณจากเปอร์เซ็นต์ของคำสั่งซื้อที่ถูกยกเลิก  สามารถตรวจสอบอัตรา Non Fulfillment Rate (NFR) ได้จากที่ไหนบ้าง  สำหรับเจ้าของธุรกิจออนไลน์มือใหม่ที่เพิ่งลงสนามขายของบน Shopee ได้ไม่นาน ก็อาจจะมีความกังวลอยู่บ้างว่าแล้ว Non Fulfillment Rate (NFR) สามารถตรวจสอบได้จากที่ไหนบ้าง หากคุณสมัครและยืนยันตัวตนเป็น Shopee Seller อย่างถูกต้องแล้ว อัตราการจัดส่งค้าไม่สำเร็จจะถูกคำนวณอัตโนมัติและอัปเดตทุก […]

คู่มือสำหรับพ่อค้าแม่ค้า ขายของออนไลน์ ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง 

หากพูดถึงการเริ่มต้นธุรกิจออนไลน์ก็คงเป็นเรื่องที่ดูจะง่ายดายใช่ไหมล่ะ แต่จริง ๆ แล้วหลายคนอาจไม่ทราบว่าการขายของออนไลน์นั้นต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมายเช่นเดียวกับการเปิดร้านค้าแบบมีหน้าร้าน เพราะการจดทะเบียนนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจของคุณดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจอีกด้วย ในบทความนี้ MyCloud จะพาคุณไปดูว่า การจดทะเบียนขายของออนไลน์ ตั้งแต่การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไปจนถึงการจดทะเบียนรับรองคุณภาพสินค้า พร้อมเอกสารที่จำเป็นทั้งสำหรับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล มีอะไรและมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง     ขายของออนไลน์ ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง การขายของออนไลน์ในปัจจุบันนั้นมีขั้นตอนทางกฎหมายที่ผู้ประกอบการต้องดำเนินการเพื่อให้ธุรกิจเป็นไปอย่างถูกต้อง ซึ่งหลัก ๆ แล้ว ต้องจดทะเบียนทั้ง 3 อย่าง ดังนี้  1. จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD) สำหรับผู้ขายออนไลน์ที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) ถือว่าเป็นวิธีที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณได้ เนื่องจากการขายสินค้าออนไลน์ก็เปรียบเสมือนการมีหน้าร้าน จึงต้องมีการจดทะเบียนเช่นเดียวกับร้านค้าทั่วไป แต่จะแตกต่างตรงที่เป็นการจดทะเบียนพาณิชย์แบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้ธุรกิจของคุณดำเนินงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังเป็นการยืนยันตัวตนของผู้ประกอบการและสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าธุรกิจของคุณมีตัวตนที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น  2. จดภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่มียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กฎหมายกำหนด หากธุรกิจของคุณยังไม่ถึงเกณฑ์นี้แต่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต การขยายช่องทางการขายเพิ่มเติมถือเป็นทางเลือกที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตไปถึงยอดขายตามเงื่อนไขได้ ซึ่งปกติธุรกิจส่วนใหญ่ก็มักขายผ่าน Marketplace ต่าง ๆ เช่น Shopee, Lazada, TikTok Shop หรือ […]

Chat Commerce ขายผ่านแชทยังไงให้ลูกค้ายอมจ่ายง่ายๆ

ในยุคที่ลูกค้าต้องการความสะดวกและตอบโจทย์ความต้องการทันที Chat Commerce หรือการซื้อขายผ่านช่องทางแชทกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ธุรกิจออนไลน์ไม่ควรมองข้าม ไม่ว่าจะเป็นบน LINE, Facebook Messenger, WhatsApp หรือ Instagram Direct Message การขายผ่านแชทไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มยอดขาย แต่ยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างธุรกิจกับลูกค้าอีกด้วย ในบทความนี้เราจะพาคุณไปสำรวจเหตุผลที่ทำให้การขายผ่านทางแชทกลายเป็นเครื่องมือสำคัญ พร้อมเคล็ดลับในการดึงดูดลูกค้าให้ซื้อสินค้าผ่านแชท Chat Commerce คืออะไร? คือการขายสินค้าหรือบริการผ่านช่องทางการสื่อสารออนไลน์ที่เน้นการพูดคุยตอบโต้ เช่น LINE Official Account, Facebook Messenger หรือ WhatsApp โดยการสื่อสารผ่านแชทช่วยให้ลูกค้าได้รับคำตอบและข้อมูลสินค้าแบบเรียลไทม์ ทำให้กระบวนการซื้อขายมีความสะดวกรวดเร็ว ทำไม Chat Commerce ถึงสำคัญต่อธุรกิจในปัจจุบัน? 1. เข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและเป็นส่วนตัว ช่วยให้การติดต่อกับลูกค้าเป็นไปอย่างง่ายดายและเป็นธรรมชาติ การพูดคุยผ่านแชททำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวที่พร้อมตอบคำถามและให้คำปรึกษาในทุกข้อสงสัย ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและความพึงพอใจมากขึ้น โดยเฉพาะกับสินค้าหรือบริการที่ต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม เช่น แฟชั่น สกินแคร์ สุขภาพ หรือบริการที่มีตัวเลือกซับซ้อน ตัวอย่าง จากตัวอย่างนี้ ลูกค้าได้รับคำตอบทันที ทำให้การตัดสินใจซื้อเป็นไปอย่างราบรื่นและสร้างความประทับใจตั้งแต่แรกพบ 2. สร้างความไว้วางใจและปิดการขายได้เร็วขึ้นทาง Chat Commerce การพูดคุยแบบเรียลไทม์ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกว่าธุรกิจมีตัวตนและพร้อมดูแลพวกเขา […]

อัตราการจัดส่งไม่สำเร็จ (Non Fulfillment Rate) คืออะไร? พร้อมเคล็ดลับการจัดการปัญหานี้!

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าปัจจุบันการค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นอีกหนึ่งกุญแจของความสำเร็จในการทำธุรกิจนี้ คือการจัดการคำสั่งซื้อและการจัดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหนึ่งใน SLA หรือตัวชี้วัดสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจ คืออัตราการจัดส่งสินค้าไม่สำเร็จหรือ Non Fulfillment Rate บนแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์อย่าง Shopee ที่จะส่งผลโดยตรงต่อความพึงพอใจของลูกค้าและยอดขายของร้านค้า ดังนั้น วันนี้ MyCloud จะพาคุณทำความรู้จักว่า อัตราการจัดส่งสินค้าไม่สำเร็จ คืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง ในบทความนี้กัน  Non Fulfillment Rate คืออะไร   Non Fulfillment Rate (NFR) หรืออัตราการจัดส่งสินค้าไม่สำเร็จ คือค่าที่แสดงถึงจำนวนคำสั่งซื้อที่ไม่สามารถจัดส่งได้สำเร็จ เทียบกับจำนวนคำสั่งซื้อทั้งหมดในช่วงเวลาย้อนหลัง 7 วัน โดยคำนวณจากเปอร์เซ็นต์ของคำสั่งซื้อที่ถูกยกเลิก  สามารถตรวจสอบอัตรา Non Fulfillment Rate (NFR) ได้จากที่ไหนบ้าง  สำหรับเจ้าของธุรกิจออนไลน์มือใหม่ที่เพิ่งลงสนามขายของบน Shopee ได้ไม่นาน ก็อาจจะมีความกังวลอยู่บ้างว่าแล้ว Non Fulfillment Rate (NFR) สามารถตรวจสอบได้จากที่ไหนบ้าง หากคุณสมัครและยืนยันตัวตนเป็น Shopee Seller อย่างถูกต้องแล้ว อัตราการจัดส่งค้าไม่สำเร็จจะถูกคำนวณอัตโนมัติและอัปเดตทุก […]