Knowledge Center

เจาะลึก “Future of Commerce” จาก MyCloud Press Conference 2020

“การเปลี่ยนแปลงของธุรกิจออนไลน์จากวิกฤติโควิด 19 และ ทิศทางการขายในโลกอนาคต ” 

          ช่วงวิกฤต COVID-19 ที่ผ่านมามีหลาย ๆ ธุรกิจได้รับผลกระทบ ทำให้ต้องปรับตัว หรือเปลี่ยนแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ทำให้มีธุรกิจที่สู้ไม่ไหว ไปต่อไม่ได้ หรือต้องยกเลิกกิจการไปก็มี แต่ในทางกลับกันก็มีธุรกิจที่เติบโตขึ้นอย่างธุรกิจ E-Commerce ที่มียอดขายเพิ่มขึ้นเนื่องจาก Social Distancing ทำให้การซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เติบโตอย่างก้าวกระโดดนั่นเอง 

          ซึ่ง MyCloudFulfillment ผู้ให้บริการคลังสินค้าออนไลน์แบบครบวงจร ตั้งแต่การ เก็บ แพ็ค ส่งสินค้า ไปจนถึงการเชื่อมต่อช่องทางการขายอัตโนมัติ ที่ช่วยอำนวยความสะดวก และจัดการงานหลังบ้านการขายให้ธุรกิจ E-Commerce สามารถเติบโตขึ้นอย่างยั่งยืนก็ได้เติบโตควบคู่ไปด้วยในช่วงวิกฤติ และมียอดออเดอร์พุ่งสูงถึง 100,000 ออเดอร์ต่อเดือน ได้จัดงานแถลงข่าวเนื่องในโอกาสที่ MyCloud ได้รับการระดมทุนรอบ Series A มูลค่า 2 ล้านดอลลาร์ในวันที่ 8 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งเราก็ได้นำเอามุมมองของคุณเมฆ นิธิ สัจจทิพวรรณ Chief Executive Officer (CEO) ของเรา ที่เป็นหนึ่งในผู้ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจออนไลน์เเบบเจาะลึกมากที่สุด และได้เห็นแนวโน้มอนาคตของการขาย (Future of Commerce) มาแชร์ให้กับผู้ขายออนไลน์ หรือคนทำธุรกิจทุกท่านในวันนี้นั่นเองค่ะ

แม้ว่าในปัจจุบันตลาดช็อปปิ้งออนไลน์โตขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่ก็ไม่ใช่ทุกร้านออนไลน์ที่จะขายดีและอยู่รอด แต่ประเทศไทยมีโอกาสที่ E-Commerce จะเติบโตไปได้อีกไกล

          หากศึกษาข้อมูลการเติบโต และรายได้ธุรกิจ E-Commerce ทั่วโลกอ้างอิงจาก Digital Market Outlook ของ Statista จะเห็นได้ว่ามีอัตราการเติบโตขึ้นจากปี 2019 อยู่ที่ 25.6 % ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก โดยการเติบโตของตลาด E-Commerce ของเอเชียอยู่ที่ 29.1% จึงปฎิเสธไม่ได้เลยว่าทำไมธุรกิจ E-Commerce ในทวีปจึงมีความโดดเด่นและน่าจับตามองที่สุด ที่นี้เจาะลึกมาที่ประเทศไทยของเรา ที่แม้ว่าจะไม่ใช่ประเทศที่มีอัตราผู้ใช้งาน และรายได้ออนไลน์สูงที่สุด ซึ่งอินโดนีเซียครองอันดับ 1 เนื่องจากมีประชากรมากกว่า และมีเศรษฐกิจดิจิทัลที่ใหญ่กว่า แต่สำหรับค่าใช้จ่ายออนไลน์ต่อหัว (Average revanue per user) ไทยเราเทียบเท่าอินโดนีเซีย และมีอัตราการเติบโตสูงกว่าด้วยซ้ำ ทั้ง ๆ ที่ในประเทศไทยยังมีประชากรเพียงแค่ 60% เท่านั้นที่เข้าถึงการซื้อขายออนไลน์ หรือใช้งานอินเตอร์เน็ต นั่นหมายความว่า ประเทศไทยของเรามีอัตราการซื้อขาย สินค้าออนไลน์สูงมาก และในอนาคตยังมีโอกาสที่คนจะเข้าถึงการใช้งานได้มากขึ้น ดังนั้นโอการที่ E-Commerce ในไทยจะเติบโตไปได้อีกไกล

ช่องทางการขาย E-Commerce และสินค้าชนิดไหนที่มาแรงในช่วงวิกฤต หลังวิกฤตและในอนาคต

          สำหรับช่องทางการขาย E-Commerce Marketplace กินส่วนแบ่งการตลาดใหญ่ที่สุดถึง 43% เนื่องจากมีการทำการตลาด โปรโมท และโฆษณาอย่างมากในปีที่ผ่านมา โดย Marketplace รายใหญ่ที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่นิยมได้แก่ Lazada, Shopee, JD Central, Wemall เป็นต้น รองลงมาเป็นเว็บไซต์ส่วนตัว 24% อย่าง JiB, Konvy, EVEANDBOY และ Tesco Lotus นอกจากนี้เป็น Social Media 25% ที่มีการทำ Social Commerce บน YouTube, Facebook, Instagram, Twitter เป็นต้น และอีก 8% เป็นช่องทางใหม่ใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาอย่าง Live Streaming หรือ TikTok ซึ่งช่องทางที่เกิดขึ้นใหม่หรือเก่าล้วนแล้วแต่มีความโดดเด่น และความจำเป็นต่อธุรกิจ ดังนั้นธุรกิจไม่ควรพึ่งเพียงแค่ช่องทางใดช่องทางหนึ่งเท่านั้น

          เนื่องจากเราบริการคลังสินค้าออนไลน์ให้กับธุรกิจทุกประเภท ดังนั้นจึงได้สัมผัสและรู้ข้อมูล แนวโน้มสถิติยอดขาย ของสินค้าแต่ละประเภทว่าสินค้าชนิดไหนที่มาแรงในช่วงวิกฤต หลังวิกฤตและคาดการณ์อนาคตดังนี้

          เทรนด์ที่น่าสนใจแรกอยู่ที่อาหาร เครื่องดื่ม และอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน (Food & Beverage & Home care) ซึ่งเติบโตเป็นอันดับหนึ่งในช่วง COVID-19 ช่วงหลัง COVID-19 เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้งานใหม่ ๆ ที่มีอายุมากเริ่มคุ้นชินกับการซื้อของออนไลน์มากขึ้น และเล็งเห็นว่ามันก็ง่าย สะดวกและราคาก็ไม่ได้แพงอย่างที่คิด ดีกว่าต้องขับรถไปแบกของด้วยตนเอง ซึ่งในอนาคตก็มีแนวโน้มเติบโตในตลาดออนไลน์ต่อไปเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความแน่นอน ไม่ต้องทดลองใช้งาน และมีน้ำหนักมาก เมื่อซื้อออนไลน์ส่งถึงที่จึงสะดวกมากกว่า

          กลุ่มที่สองคือ สุขภาพและความงาม (Beauty & Personal Care)ในช่วง COVID-19 มียอดเพิ่มสูงขึ้น อาจเป็นเพราะคนหันมาสนใจในตัวเองมากขึ้นก็เป็นได้ จึงดูแลสุขภาพและความงามเพิ่มขึ้นนั่นเอง แต่หลังจาก COVID-19 ยอดกลับลดลง เนื่องจากเป็นสินค้าที่ต้องได้รับคำแนะนำ หรือต้องมีการทดลองใช้ แต่อย่างไรก็ตามแนวโน้มในอนาคตน่าจะเติบโตขึ้นได้ เนื่องจากมีช่องทางการขายที่เติบโตขึ้น มี Influencer มีการรีวิวสินค้าต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

          และกลุ่มสุดท้าย Fashion เครื่องแต่งกาย ที่ในช่วง COVID-19 ได้รับผลกระทบมากที่สุดเพราะคนอยู่แต่บ้านไม่ได้ออกไปไหน แล้วหลังจาก COVID-19 ก็มียอดสูงขึ้นมาแต่ยังไม่มากเนื่องจากธุรกิจแฟชั่นจะเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยตรง ดังนั้นอนาคตในการท่องเที่ยวที่ไม่แน่นอนจึงส่งผลในการขายสินค้าแฟชั่นให้ท้าทายมากยิ่งขึ้น

E-Commerce ในประเทศไทยไม่ได้ใหญ่ที่สุด แต่อยู่ในจุดที่หอมหวาน น่าสนใจที่สุด (Thailand is in the sweet spot)

          กล่าวโดยสรุปก็คือ ตลาด E-Commerce ในเอเชียใหญ่มาก ๆ มีการเติบโตสูงที่สุด และยังเติบโตอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งกำลังจ่ายของคนไทยมีมากเทียบเท่ากับอินโดนีเซียที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในเอเชีย เราจึงมีโอกาสเติบโตขึ้นอีกมากหากคนไทยเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากขึ้น นั่นเป็นเหตุผลที่ E-Commerce เจ้าใหญ่ ๆ มาลงทุนในไทยเยอะ ดังนั้นหากใครที่ยังไม่ได้เริ่มธุรกิจออนไลน์ นี่อาจเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเริ่มต้นธุรกิจ E-Commerce 

สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 02-138-9920
อีเมล: [email protected]
line: @mycloudgroup
MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก
บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

4 เทคนิคแก้ปัญหาแพ็คสินค้าไม่ทัน แก้ไขอย่างไรได้บ้าง 

ในยุคที่การค้าออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว หลายธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหาแพ็คสินค้าไม่ทัน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่เต็มไปด้วยแคมเปญทั้งลด แลก แจก แถมหรือสินค้าที่กำลังเป็นที่นิยม ฮอตฮิตจนเป็นกระแสกันไปทั่วบ้านทั่วเมือง ทำให้มีออเดอร์สั่งซื้อพุ่งขึ้นสูงเป็นอย่างมาก ซึ่งปัญหาตรงนี้มักจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความพึงพอใจของลูกค้าและภาพลักษณ์ของร้านค้า วันนี้เรามีวิธีรับมือและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์นี้มาฝากกัน เพื่อให้การจัดส่งสินค้าของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  แพ็คสินค้าไม่ทัน มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง  ปัญหาแพ็คสินค้าไม่ทันมักเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการขาดการวางแผนที่ดี การจัดการคลังสินค้าที่ไม่เป็นระบบ กำลังคนไม่เพียงพอ ระบบการจัดการออเดอร์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือสินค้าของคุณอาจกำลังเป็นที่พูดถึง และเป็นกระแสนิยมที่หลายคนให้ความสนใจ ส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อเข้ามาจำนวนมากจนแพ็คของไม่ทัน อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถรับมือกับออเดอร์จำนวนมากได้ทัน ก็อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการจัดส่ง สินค้าตกหล่นหรือแม้แต่การส่งผิดพลาด ซึ่งส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของร้านค้าในระยะยาว และคะแนนร้านค้าที่ส่งผลกับการเปิดการมองเห็นสินค้าของคุณอีกด้วย   แพ็คสินค้าไม่ทัน ควรทำอย่างไรดี  เมื่อเผชิญกับปัญหาการแพ็คสินค้าไม่ทัน สิ่งสำคัญคือการหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสม ไม่ใช่เพียงแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ต้องวางระบบที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำในอนาคต โดยมีวิธีแก้ไขดังนี้    1. เตรียมสต็อกสินค้าไว้ให้พร้อมอยู่เสมอ  การบริหารสต็อกที่ดีเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันปัญหาการแพ็คสินค้าไม่ทัน เริ่มจากการวางแผนล่วงหน้าโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ อย่างวันปีใหม่ วันวาเลนไทน์หรือช่วงโปรโมชั่นใหญ่ ๆ เช่น วันเลขเบิ้ล 11.11 12.12 เทศกาล Black Friday หรือ Pay day ทั้งนี้ ควรมีระบบติดตามสต็อกแบบ Real-time ที่จะช่วยให้คุณทราบถึงปริมาณสินค้าคงเหลือและยอดขายในแต่ละวันได้ […]

Late Shipment Rate คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อการขายของออนไลน์ 

“สินค้าจะมาถึงเมื่อไหร่คะ?” “ทำไมส่งช้าจัง” “ขอยกเลิกออเดอร์ดีกว่า” คำบ่นเหล่านี้คงเป็นฝันร้ายของผู้ขายออนไลน์หลายคน ยิ่งในยุคที่ลูกค้าต้องการความรวดเร็ว การจัดส่งล่าช้าเพียงไม่กี่ออเดอร์ก็อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของร้านค้าได้ Late Shipment Rate จึงเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่ผู้ขายออนไลน์ต้องจับตามอง เพราะไม่เพียงกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า แต่ยังส่งผลต่อยอดขายและการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว มาทำความรู้จักกับอัตราการจัดส่งสินค้าล่าช้าให้มากขึ้น ในบทความนี้กัน Late Shipment Rate คืออะไร  Late Shipment Rate หรือ LSR คือเกณฑ์กำหนดบน Shopee ที่แสดงถึงจำนวนออเดอร์ที่มีการจัดส่งล่าช้า เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนออเดอร์ทั้งหมดในช่วงเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปจะวัดผลในช่วง 7 วันย้อนหลัง ซึ่งการจัดส่งล่าช้าในที่นี้ หมายถึงการที่ผู้ขายไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด (Delivery Time Standard หรือ DTS) ซึ่งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ จะมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพการให้บริการและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับระบบ  อัตราการจัดส่งสินค้าล่าช้า มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง  สาเหตุของการ Late Shipment Rate มักเกิดจากหลายปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ วิธีการคำนวณอัตรา Late Shipment Rate  Late Shipment Rate […]

การหยิบสินค้ามีกี่แบบ? FIFO, LIFO, FEFO แต่ละแบบต่างกันอย่างไร

เคยสงสัยกันไหมครับ แค่การหยิบสินค้าไปแพ็คส่งลูกค้า ต้องมีรูปแบบด้วยหรอ? ไปหาคำตอบกันได้เลยครับ!! จริง ๆ แล้วทุกขั้นตอนของการบริการ fulfillment มีความสำคัญทั้งหมดเลยครับ แต่บางคนอาจจะให้ความสำคัญไปที่ขั้นตอนการเก็บ การเเพ็ค และส่งมากกว่า จนลืมไปว่าหากขั้นตอนการหยิบสินค้าก่อนแพ็คผิดผลาดก็อาจเกิดปัญหาในขั้นตอนถัด ๆ มาได้ครับ ซึ่งก่อนหน้านี้ใน ขั้นตอนการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้า ผมได้ยกตัวอย่างวิธีการหยิบสินค้า ที่คลังสินค้าต่าง ๆ มักใช้กันไปแล้วนะครับ blog นี้ผมจึงอยากให้ทุกคนรู้จักรูปแบบการหยิบสินค้ากันบ้างครับ  การหยิบสินค้าแบบ FIFO, LIFO, และ FEFO FIFO FIFO หรือ First-In First-Out เหมาะกับร้านค้าที่ขายสินค้าที่มีวันหมดอายุเช่น เภสัชภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงร้านค้าที่มีสินค้าหลายชนิด หรือสินค้าประเภทอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน เปลี่ยนราคาอยู่บ่อย ๆ ซึ่งมีความหมายตรงตัวคือการหยิบสินค้าที่เก็บเข้าคลังก่อนออกไปก่อน เพื่อลดปัญหาสินค้าเสื่อมสภาพจากการเก็บเป็นเวลานานครับ ประโยชน์ของการหยิบสินค้าแบบ FIFO FEFO FEFO หรือ First Expire date First Out หมายถึง สินค้าใดที่จะหมดอายุก่อน จ่ายออกไปก่อน […]

4 เทคนิคแก้ปัญหาแพ็คสินค้าไม่ทัน แก้ไขอย่างไรได้บ้าง 

ในยุคที่การค้าออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว หลายธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหาแพ็คสินค้าไม่ทัน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่เต็มไปด้วยแคมเปญทั้งลด แลก แจก แถมหรือสินค้าที่กำลังเป็นที่นิยม ฮอตฮิตจนเป็นกระแสกันไปทั่วบ้านทั่วเมือง ทำให้มีออเดอร์สั่งซื้อพุ่งขึ้นสูงเป็นอย่างมาก ซึ่งปัญหาตรงนี้มักจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความพึงพอใจของลูกค้าและภาพลักษณ์ของร้านค้า วันนี้เรามีวิธีรับมือและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์นี้มาฝากกัน เพื่อให้การจัดส่งสินค้าของคุณเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  แพ็คสินค้าไม่ทัน มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง  ปัญหาแพ็คสินค้าไม่ทันมักเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการขาดการวางแผนที่ดี การจัดการคลังสินค้าที่ไม่เป็นระบบ กำลังคนไม่เพียงพอ ระบบการจัดการออเดอร์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ หรือสินค้าของคุณอาจกำลังเป็นที่พูดถึง และเป็นกระแสนิยมที่หลายคนให้ความสนใจ ส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อเข้ามาจำนวนมากจนแพ็คของไม่ทัน อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถรับมือกับออเดอร์จำนวนมากได้ทัน ก็อาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการจัดส่ง สินค้าตกหล่นหรือแม้แต่การส่งผิดพลาด ซึ่งส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของร้านค้าในระยะยาว และคะแนนร้านค้าที่ส่งผลกับการเปิดการมองเห็นสินค้าของคุณอีกด้วย   แพ็คสินค้าไม่ทัน ควรทำอย่างไรดี  เมื่อเผชิญกับปัญหาการแพ็คสินค้าไม่ทัน สิ่งสำคัญคือการหาวิธีแก้ไขที่เหมาะสม ไม่ใช่เพียงแค่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แต่ต้องวางระบบที่ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำในอนาคต โดยมีวิธีแก้ไขดังนี้    1. เตรียมสต็อกสินค้าไว้ให้พร้อมอยู่เสมอ  การบริหารสต็อกที่ดีเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันปัญหาการแพ็คสินค้าไม่ทัน เริ่มจากการวางแผนล่วงหน้าโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ อย่างวันปีใหม่ วันวาเลนไทน์หรือช่วงโปรโมชั่นใหญ่ ๆ เช่น วันเลขเบิ้ล 11.11 12.12 เทศกาล Black Friday หรือ Pay day ทั้งนี้ ควรมีระบบติดตามสต็อกแบบ Real-time ที่จะช่วยให้คุณทราบถึงปริมาณสินค้าคงเหลือและยอดขายในแต่ละวันได้ […]

Late Shipment Rate คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อการขายของออนไลน์ 

“สินค้าจะมาถึงเมื่อไหร่คะ?” “ทำไมส่งช้าจัง” “ขอยกเลิกออเดอร์ดีกว่า” คำบ่นเหล่านี้คงเป็นฝันร้ายของผู้ขายออนไลน์หลายคน ยิ่งในยุคที่ลูกค้าต้องการความรวดเร็ว การจัดส่งล่าช้าเพียงไม่กี่ออเดอร์ก็อาจส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของร้านค้าได้ Late Shipment Rate จึงเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่ผู้ขายออนไลน์ต้องจับตามอง เพราะไม่เพียงกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า แต่ยังส่งผลต่อยอดขายและการเติบโตของธุรกิจในระยะยาว มาทำความรู้จักกับอัตราการจัดส่งสินค้าล่าช้าให้มากขึ้น ในบทความนี้กัน Late Shipment Rate คืออะไร  Late Shipment Rate หรือ LSR คือเกณฑ์กำหนดบน Shopee ที่แสดงถึงจำนวนออเดอร์ที่มีการจัดส่งล่าช้า เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนออเดอร์ทั้งหมดในช่วงเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปจะวัดผลในช่วง 7 วันย้อนหลัง ซึ่งการจัดส่งล่าช้าในที่นี้ หมายถึงการที่ผู้ขายไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด (Delivery Time Standard หรือ DTS) ซึ่งแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ จะมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานเพื่อควบคุมคุณภาพการให้บริการและสร้างความน่าเชื่อถือให้กับระบบ  อัตราการจัดส่งสินค้าล่าช้า มีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง  สาเหตุของการ Late Shipment Rate มักเกิดจากหลายปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ วิธีการคำนวณอัตรา Late Shipment Rate  Late Shipment Rate […]

การหยิบสินค้ามีกี่แบบ? FIFO, LIFO, FEFO แต่ละแบบต่างกันอย่างไร

เคยสงสัยกันไหมครับ แค่การหยิบสินค้าไปแพ็คส่งลูกค้า ต้องมีรูปแบบด้วยหรอ? ไปหาคำตอบกันได้เลยครับ!! จริง ๆ แล้วทุกขั้นตอนของการบริการ fulfillment มีความสำคัญทั้งหมดเลยครับ แต่บางคนอาจจะให้ความสำคัญไปที่ขั้นตอนการเก็บ การเเพ็ค และส่งมากกว่า จนลืมไปว่าหากขั้นตอนการหยิบสินค้าก่อนแพ็คผิดผลาดก็อาจเกิดปัญหาในขั้นตอนถัด ๆ มาได้ครับ ซึ่งก่อนหน้านี้ใน ขั้นตอนการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้า ผมได้ยกตัวอย่างวิธีการหยิบสินค้า ที่คลังสินค้าต่าง ๆ มักใช้กันไปแล้วนะครับ blog นี้ผมจึงอยากให้ทุกคนรู้จักรูปแบบการหยิบสินค้ากันบ้างครับ  การหยิบสินค้าแบบ FIFO, LIFO, และ FEFO FIFO FIFO หรือ First-In First-Out เหมาะกับร้านค้าที่ขายสินค้าที่มีวันหมดอายุเช่น เภสัชภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงร้านค้าที่มีสินค้าหลายชนิด หรือสินค้าประเภทอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน เปลี่ยนราคาอยู่บ่อย ๆ ซึ่งมีความหมายตรงตัวคือการหยิบสินค้าที่เก็บเข้าคลังก่อนออกไปก่อน เพื่อลดปัญหาสินค้าเสื่อมสภาพจากการเก็บเป็นเวลานานครับ ประโยชน์ของการหยิบสินค้าแบบ FIFO FEFO FEFO หรือ First Expire date First Out หมายถึง สินค้าใดที่จะหมดอายุก่อน จ่ายออกไปก่อน […]