สงสัยกันไหมคะว่า Red Ocean และ Blue Ocean Strategy นั้นคืออะไร? แม้ว่าจะเคยได้ยินกันบ่อย ๆ แต่ก็ดูเป็นเรื่องไกลตัวใช่ไหมล่ะคะ สักทีวันนี้ MyCloud จะพาผู้อ่านทุกคนไปรู้จักกับ กลยุทธ์ Red Ocean และ Blue Ocean รวมถึงมองภาพรวมทั้งสองกลยุทธ์บนตลาดออนไลน์ของไทย อย่าง Marketplace ชื่อดังอย่าง Lazada และ Shopee รวมถึงช่องทางการขายออนไลน์อื่น ๆ อีกด้วย
Red Ocean Strategy (กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง) คืออะไร
Red Ocean Strategy คือคำนิยามของกลยุทธ์ทางการตลาดที่เข้มข้น เปรียบเสมือนกับสีแดง เนื่องมาจากการแข่งขันทางการตลาดสูง และมีคู่แข่งที่มีธุรกิจลักษณะคล้ายกันจำนวนมาก ไม่โดดเด่น ทำให้ต้องแข่งขันกันที่ด้านอื่น ๆ เพื่อดึงดูดผู้บริโภค โดยมักจะแข่งขันกันจนเป็นสงครามราคา หรือการทำโปรโมชันลดราคา เพื่อเอาชนะคู่แข่ง จาก Kim & Mauborgne ที่เป็นคนเดียวกับผู้ริเริ่มแนวคิด Blue Ocean Strategy โดยเป้าหมายหลักของกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ Red Ocean คือการเอาชนะคู่แข่งทางการตลาดคนอื่น ๆ และใช้ประโยชน์จากความต้องการของผู้บริโภค (Demand) ที่มีมากอยู่แล้วในตลาดนั้น ๆ
แพลตฟอร์มหรือตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ที่มีกลยุทธ์แบบ Red Ocean จะเป็นพื้นที่ตลาดที่มีอยู่แล้ว จึงมักจะมีกฎระเบียบ แบบแผน หรือข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมีผู้เล่นหลัก ๆ หรือที่เราเรียกอีกชื่อว่า “เจ้าตลาด” อยู่แล้ว
Blue Ocean Strategy (กลยุทธ์น่านน้ำสีน้ำเงิน) คืออะไร
กลยุทธ์ทางการตลาดแบบ Blue Ocean Strategy คือพื้นที่การแข่งขันของแต่ละแบรนด์ผ่านการพัฒนาธุรกิจของตัวเอง เพราะฉะนั้น การแข่งขันในตลาดนี้จึงไม่ใช่การแข่งขันที่เข้มข้นอีกต่อไป แต่เป็นการท้าทายคนทำธุรกิจด้วยการสร้างความต้องการของลูกค้าขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการที่คิดว่าลูกค้าต้องการ หรือต้องใช้อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจตลาด เรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้า กำหนดราคาที่รอบคอบ นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนกว่า เนื่องจากสินค้าและบริการไม่ใช่ของที่ลอกเลียนแบบ หรือสร้างขึ้นมาเพื่อเอาชนะคู่แข่ง แต่เป็นสิ่งที่คิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าธุรกิจโดยเฉพาะ ดังนั้นการแสวงหาตลาด หรือความต้องการใหม่ ๆ จึงเป็นหลักการของ Blue Ocean นั่นเอง
ธุรกิจไหนบ้างที่ใช้กลยุทธ์ Red Ocean และ Blue Ocean บ้าง
ทีนี้มาดูกันดีกว่าว่าแล้วมีธุรกิจไหนบ้างที่ใช้กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง (Red Ocean Strategy) และกลยุทธ์น่านน้ำสีน้ำเงิน (Blue Ocean Strategy) อย่าง Netflix ที่เริ่มต้นจากการเป็นผู้ให้เช่าวิดีโอ โดยเฉพาะในตอนนั้นที่มีคู่แข่งที่อยู่มานานอย่าง Blockbuster แน่นอนว่าก็ยากต่อการแข่งขัน แต่ทางเน็ตฟลิกซ์ก็ได้เปลี่ยนตัวเองจากผู้ให้เช่าหนัง กลายมาเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิงที่มีระบบนำคอนเทนต์ และสร้างความแตกต่างด้วยการผลิตคอนเทนต์ของตัวเอง หรือจะเป็นแบรนด์มือถือชื่อดัง อย่าง Apple จากเดิมที่เริ่มต้นด้วยการผลิตและพัฒนาสินค้า อย่าง คอมพิวเตอร์แบบทั้งตั้งโต๊ะและพกพา แต่ปี 1997 สตีฟ จ็อบส์ก็ได้กลับเข้ามาพลิกโฉมแบรนด์ด้วยการออกสินค้าใหม่ ๆ เช่น iPhone และ iPad ที่กลายมาเป็นที่รักของคนเกือบทั่วโลก
นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจแบรนด์ไทยที่กระโจนตัวเข้ามาอยู่ในน่านน้ำสีแดงนี้ด้วย เนื่องด้วยความต้องการทางการตลาดที่สูง และมีขนาด Market ที่ค่อนข้างไซซ์ใหญ่ แน่นอนว่าการแข่งขันก็ต้องสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ ในงาน Thailand Marketing Day 2025 โดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย (Marketing Association of Thailand: MAT) ที่ผ่านมา ได้ยกกรณีศึกษาจาก 3 แบรนด์ไทยที่เรียกได้ว่าเป็นม้ามืดมาแรงในตอนนี้ ได้แก่ Karun แบรนด์ชาไทยสุดพรีเมียม ยืดเปล่า (Yeudpao) ที่อยากให้คนไทยมีเสื้อดี ๆ ใส่ และธุรกิจสุดท้ายอย่าง Her Hyness ผลิตภัณฑ์ความงามที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุด ซึ่งทั้ง 3 แบรนด์เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของธุรกิจไทยในการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่งและสามารถแข่งขันในตลาดที่ดุเดือดได้อย่างน่าจับตามองเลยทีเดียว
ทำไมต้อง แดง และ น้ำเงิน?
ความเชื่อมโยงของสีคือแนวคิดหลักเบื้องหลังกลยุทธ์น่านน้ำสีน้ำเงิน (Blue Ocean Strategy) และกลยุทธ์น่านน้ำสีแดง (Red Ocean Strategy) เหล่านี้ เนื่องจากสีแต่ละสีมีความหมายในตัวเอง โดยสีน้ำเงินจะหมายถึง ความสงบและผ่อนคลาย เป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคงและความเฉลียวฉลาด จึงถูกนำมาเปรียบกับน่านน้ำที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์และโอกาสใหม่ ๆ มากมาย ในทางกลับกัน สีแดงนั่นแสดงถึงอารมณ์ที่รุนแรง จึงเป็นตัวแทนของตลาดหรือการตลาดที่มีลักษณะการแข่งขันที่เข้มข้น รุนแรงและมีความตึงเครียด สีทั้งสองสีจึงเป็นตัวแทนลักษณะเด่นของการตลาดที่แตกต่างกันออกไป
แพลตฟอร์มออนไลน์ของไทยเป็นอย่างไร?
จากคำนิยามด้านบนพอมองภาพออกกันไหมคะ Red Ocean นั้นคือแพลตฟอร์มใดบ้างในไทย แน่นอนค่ะว่าต้องเปรียบได้กับแพลตฟอร์มที่มีฐานลูกค้าหรือลูกค้าที่เข้ามาบนแพลตฟอร์มมีความต้องการซื้อ (Demand) สูงอยู่แล้ว อย่าง E-marketplace ไม่ว่าจะเป็น Lazada, Shopee หรือแม้แต่ TikTok Shop ที่แซงเข้ามาเป็นม้ามืดอยู่ในตลาดแดงเดือดนี้ด้วยกัน ส่วนน่านน้ำสีน้ำเงินที่เป็นการมองหาตลาดใหม่ ๆ นั้นต้องเริ่มมาจากความคิดที่แตกต่าง หรือจุดเด่นของสินค้าและบริการของคุณ ยกตัวอย่างเช่น TikTok Shop ที่แม้จะต้องเผชิญกับการแข่งขันอันหนักหน่วงในตลาด แต่ก็สามารถพลิกเกมด้วยการกลับไปใช้จุดแข็งของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น คอนเทนต์วิดีโอสั้น Live ขายของหรือการสร้าง Engagement ระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค ซึ่งเป็นจุดแข็งที่แพลตฟอร์มอื่นไม่สามารถเลียนแบบได้ง่าย ๆ สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ในยุคที่แพลตฟอร์มออนไลน์แข่งขันกันอย่างรุนแรง การจะอยู่รอดไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่การมีฐานลูกค้าที่ใหญ่หรือโปรโมชันที่น่าดึงดูดเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยการเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค สร้างจุดขายที่แตกต่าง เพื่อให้สามารถสร้างตลาดใหม่ที่มีศักยภาพในระยะยาว
นอกจากการปรับตัวของแพลตฟอร์มแล้ว แบรนด์เองก็สามารถสร้างพื้นที่ของตัวเอง เพื่อหลีกหนีจากการแข่งขันอันดุเดือดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจได้เช่นกัน MyCloud เรามีโซลูชันที่ช่วยส่งเสริมการขายของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการขายผ่าน Sale Pages สร้างเว็บไซต์ของตัวเอง โดยสามารถตกแต่งและออกแบบหน้าเว็บไซต์ หรือจะกำหนดโปรโมชันเพื่อเพิ่มยอดขายได้เองง่าย ๆ หรือจะเป็นการขายแบบ Omni Channel ที่เชื่อมต่อทุกช่องทางการขายของแบรนด์เอาไว้ ไม่ยึดติดกับการขายที่ช่องทางใดช่องทางหนึ่ง เป็นการสร้างพื้นที่ของแบรนด์ขึ้นมา และเป็นการเจาะเข้าไปที่กลุ่มลูกค้าหน้าใหม่ได้เช่นกัน เพราะนอกจากจะมีความโดดเด่น จดจำง่าย ยังสามารถกำหนดหรือออกแบบการติดต่อกับลูกค้า การซื้อ-ขายและการบริการลูกค้าได้ตามต้องการอีกด้วย ทั้งนี้ ระบบ OMS (Order Management System) ของ MyCloud ยังช่วยให้การจัดการทุกออเดอร์เป็นเรื่องง่าย ไม่ว่าจะมาจากช่องทางใด ระบบจะรวบรวมคำสั่งซื้อจากทุกแพลตฟอร์มมาไว้ในที่เดียว ช่วยให้คุณติดตามสถานะการสั่งซื้อแบบเรียลไทม์ ทุก ๆ 3 นาที การันตีการจัดส่งทัน 99.5% ครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการหยิบ แพ็กและจัดส่งสินค้า
ข้อดีข้อเสียของตลาดแบบ Red Ocean (Red Ocean Strategy Advantages & Disadvantages)
ข้อดีของตลาดที่มีการตลาดแบบ Red Ocean Strategy ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นตลาดที่ได้รับการยอมรับแล้ว ทำให้มีลูกค้า หรือผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มมาก ทำให้สามารถเริ่มต้นขายได้ง่าย รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการสำรวจตลาดใหม่ ๆ หรือการเริ่มลงทุนที่มีความเสี่ยง
มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย และข้อเสียข้อแรกที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ เจ้าตลาดในแต่ละประเภทสินค้า หรือร้านดัง ร้านใหญ่บนแพลตฟอร์ม ที่มีคะแนนรีวิวมาก และได้เป็นร้านค้าแนะนำ เป็นต้น ซึ่งหากเป็นร้านค้าของคุณเองก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าคุณขายสินค้าแบบเดียวกัน แน่นอนว่าลูกค้าต้องเลือกซื้อสินค้าจากร้านที่น่าเชื่อถือกว่าอยู่แล้ว ดังนั้นหลาย ๆ ร้านบน Marketplace ก็มักจะสู้กันด้วยสงครามราคานั่นเอง
ข้อดีข้อเสียของตลาดแบบ Blue Ocean (Blue Ocean Strategy Advantages & Disadvantages)
ข้อดีของตลาดที่มีการตลาดแบบ Blue Ocean Strategy คือความยั่งยืนและผลกำไรของแบรนด์ที่มากกว่า นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค หรือองค์กรจริง ๆ เนื่องจากนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นจะช่วยตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหาได้จริง ส่วนข้อเสียนั้นก็คือการเริ่มต้น เนื่องจากทุกอย่างใหม่หมด ไม่มีฐานลูกค้า จึงต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการเริ่ม และสร้างฐานลูกค้าขึ้นมาเอง
สรุปบทความ
ทั้งนี้ กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง (Red Ocean) และสีน้ำเงิน (Blue Ocean) ต่างก็มีข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นเคล็ดลับเลือกพื้นที่ขาย หรือตลาดใดที่จะเหมาะกับคุณคือการรู้จักลูกค้าเป้าหมายของคุณเป็นอย่างดี รวมถึงเข้าใจความต้องการของลูกค้าเหล่านั้นด้วย เช่น ถ้าหากสินค้าและบริการของคุณเป็นความต้องการของตลาดอยู่แล้ว แต่เพิ่มเติมสินค้า ด้วยการพัฒนาคุณภาพให้ตอบโจทย์มากขึ้น หรือการเพิ่มคุณค่าด้วยบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การแพ็คสินค้าและการจัดส่งที่รวดเร็ว น่าประทับใจ คุณก็สามารถเข้าสู่น่านน้ำสีแดงได้และใช้ประโยชน์ตรงนี้ในการเรียนรู้จากคู่แข่งได้อีกด้วย แต่ถ้าหากสินค้าและบริการของคุณตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ เป็นสิ่งที่คิดว่าช่วยแก้ปัญหาหรือตอบสนองผู้บริโภคได้จริง ๆ ก็แน่นอนว่าน่านน้ำสีฟ้าอันกว้างใหญ่คือคำตอบของคุณนั่นเอง
สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 02-138-9920
อีเมล: [email protected]
line: @mycloudgroup
MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก
บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร