SLA สรุป 3 ตัวชี้วัด Marketplace ที่คนขายออนไลน์จะต้องรู้

ถ้าให้พูดถึงการซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันนี้ก็คงเป็นช่องทาง Marketplace ที่ทุกคนรู้จักกันดีอย่างช่องทางการขาย Lazada, Shopee, TikTok Shop ซึ่งแน่นอนว่าการที่ได้รับความสนใจสิ่งที่เพิ่มมากขึ้นตามมาด้วยก็คือการแข่งขันของร้านค้าออนไลน์ใน Marketplace เพราะประเภทสินค้าที่เหมือนกันหรือมีความคล้ายกันก็จะทำให้ผู้ซื้อเกิดการเปรียบเทียบก่อนซื้อ และเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆร้านค้าออนไลน์ควรต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆเพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้และทำให้แบรนด์เติบโตได้ในระยะยาว สำหรับบทความนี้เราจะมาพูดถึงปัจจัยที่เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ร้านค้ามีเรทติ้งคะแนนร้านค้าที่ดีและเป็นส่วนช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อีกด้วยนั้นก็คือ SLA (Service Level Agreement) แน่นอนว่าการมีเรทติ้งร้านค้าที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากความคาดหวังของลูกค้ามีสูงขึ้นเรื่อยๆ การรักษามาตรฐาน SLA ที่ดีจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ทั้งในเรื่องของความรวดเร็วในการจัดส่ง คุณภาพของสินค้าที่ตรงตามที่ระบุ และการให้บริการลูกค้าอย่างมืออาชีพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จและความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว SLA คืออะไร? SLA (Service Level Agreement) หรือข้อตกลงในการให้บริการระหว่างร้านค้าและแพลตฟอร์มการขาย ซึ่งก็จจะเป็นในส่วนข้อตกลงในการให้บริการเพื่อวัดคุณภาพการจัดส่งของร้านค้า การที่ร้านค้าปฏิบัติตามข้อตกลงSLA ของแพลตฟอร์มจะช่วยให้ร้านค้า ไม่โดนคะแนนบทลงโทษ สามารถเข้าร่วมแคมเปญใหญ่ๆ เพิ่มโอกาสในการขาย และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า 3 ตัวชี้วัด SLA แต่ละ Marketplace เรียกว่าอะไร ทำไมถึงสำคัญ? อัตราการจัดส่งเร็ว,อัตราการจัดส่งล่าช้า,อัตราการจัดส่งไม่สำเร็จ 3 ตัวชี้วัดนี้ร้านค้าควรที่จะเลือกโฟกัสเป็นอันดับต้นๆ เพราะหากถ้าทำได้ดีแล้ว ตัวชี้วัดอื่นๆก็จะมีคะแนนที่ดีตามมาด้วย แต่หากทำไม่ถึงเกณฑ์ตามที่แพลตฟอร์มกำหนดก็อาจจะมีบทลงโทษซึ่งส่งผลกระทบตั้งแต่การมองเห็นสินค้า,ถูกตัดสิทธิ์เข้าร่วมแคมเปญการขายต่างๆ,ถูกจำกัดคำสั่งซื้อรายวัน หรืออาจจะส่งผลกระทบไปถึงขั้นร้านค้าถูกระงับชั่วคราวและถูกปิดถาวรได้เลย ใครที่ขายออนไลน์ช่องทาง […]

Temu ศึกครั้งใหญ่ของ SMEs ไทย“จะรับมือยังไง ไม่ให้เจ๊ง!”

Temu (เทมู) แพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์จากจีน ที่กำลังโด่งดังอยู่ตอนนี้ ซึ่งมีบริษัทแม่อย่าง Pinduoduo (พินตั๋วตั๋ว) อีคอมเมิร์ชเจ้าดังที่ประสบความสำเร็จในตลาดออนไลน์จีนมาแล้วก่อนหน้านี้ และมีผู้ก่อตั้งคนเดียวกัน ก็คือ Colin Huang หรือหวงเจิง ทั้ง 2 แฟลตฟอร์มนี้เป็นบริษัทค้าปลีก ในเครือ PDD Holding โดยจะเน้นตลาดคนละกลุ่มเป้าหมาย โดยที่ Pinduoduo จะเน้นกลุ่มผู้ซื้อในประเทศจีน ส่วน เทมู จะเน้นกลุ่มผู้ซื้อในต่างประเทศ Temu เข้ามาในไทยอย่างเป็นทางการเมื่อ วันนี้ 29 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา เป็นที่ฮือฮาใน วงการอีคอมเมิร์ซไทย เป็นอย่างมาก เพราะด้วย “ราคาสินค้า”ที่ถูกมาก จนนักช้อปออนไลน์ไม่พลาดที่แห่กันกดซื้อสินค้าจากแพลตฟอร์มดังกล่าว และมียอดดาวน์โหลดแอพพลิเคชันทั่วโลก ถึง 165 ล้านครั้งเลยทีเดียว และด้วยเหตุผลนี้ ก็สร้างความกังวลใจกับธุรกิจ SMEs รายย่อยในไทย หรือ พวกพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ ว่าจะยังขายของได้เหมือนเดิมไหม หรือ จะถูกแย่งลูกค้าที่เคยซื้อไปหรือเปล่า นั่นเอง ทำไม […]