Knowledge Center

ทำความรู้จัก Facebook Shop ฟีเจอร์ใหม่ ถูกใจธุรกิจ E-Commerce 100%

ทำความรู้จัก Facebook Shop ฟีเจอร์ใหม่ ถูกใจร้านค้าออนไลน์และธุรกิจ E-Commerce 100%

เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กรายใหญ่ได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน Facebook แพลต์ฟอร์มออนไลน์ขนาดใหญ่ได้เล็งเห็นความสำคัญ ของการขายออนไลน์ที่จะเป็นทางรอดของธุรกิจต่าง ๆ ได้จึงออกแคมเปญต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก (SME) ที่ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถานการณ์แบบนี้ รวมถึงผู้ประกอบการรายใหญ่ ๆ ที่เริ่มหันมาใช้แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้นด้วยค่ะ หนึ่งในนั้นคือฟีเจอร์ Facebook Shop ที่เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยอำนวยความสะดวกให้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายและจะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้าน E-Commerce ครั้งใหญ่ของ Facebook อีกด้วยค่ะ

Facebook Shop คืออะไร?

ฟีเจอร์การซื้อขายสินค้าที่สามารถใช้งานได้ฟรีผ่าน Facebook โดยผู้ใช้งานสามารถ เลือกซื้อ-ขายสินค้า และชำระเงินได้ครบจบภายในแอพได้เลย! ทำให้ไม่ว่าจะเป็นผู้ขายรายเล็ก หรือรายใหญ่สามารถขายสินค้าและเชื่อมต่อกับลูกค้าออนไลน์ได้ตลอดทุกที่ ทุกเวลา โดยสามารถพบเจอ Facebook Shop ได้ที่หน้าเพจ Facebook ตามโฆษณาต่าง ๆ ใน Instagram และ Facebook ได้เลย โดย Mark Zuckerberg บิดาแห่ง Facebook มีแนวคิดว่าการสนับสนุนธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการขายแบบออฟไลน์ และหันมาใช้แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ให้สามารถใช้งานฟีเจอร์เหล่านี้ได้ฟรีนั้น ไม่เพียงแต่ อำนวยความสะดวกให้ผู้ขายขายได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ในระยะยาว เมื่อพวกเขาขายได้การซื้อ “โฆษณา” ก็จะตามมา เรียกได้ว่า Win-Win ทั้งสองฝ่าย สามารถพึ่งพาอาศัยกันได้ต่อไปนั่นเองค่ะ

ความแตกต่างของ Facebook Shop กับ Facebook Marketplace และการโพสต์ขายของทั่วไป

1. ปัญหาหลักที่ผู้ใช้ Facebook เจอเมื่อโพสต์ขายสินค้าคือ “โพสต์ถูกดันลงไป” เมื่อโพสต์สินค้าใหม่ ๆ ทำให้บางทีก็เลื่อนหาไม่เจอ หรือไม่น่าสนใจ Facebook Shop จึงมาในรูปแบบของ Catalogue ที่จะอยู่ในตำแน่งบนสุดของหน้าเพจและโชว์สินค้าในแบบการสไลด์เสมอและมีปุ่มให้สามารถกดซื้อ หรือ ส่งข้อความหาผู้ขายได้เลย ทำให้ร้านค้ามีโอกาสขายได้มากขึ้นกว่าเดิม

2. ด้วยความที่ Facebook เป็นแพลตฟอร์มที่เก็บมูลที่เป็นประโยชน์ต่อร้านค้าไว้มาก ทำให้สามารถดูพฤติกรรมของลูกค้าที่ผ่านมาเพื่อทำนายแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไปได้ง่าย และแน่นอนว่านี่เป็นอีกจุดเด่นของ Facebook Shop ค่ะ เพราะผู้ขายสามารถเรียกดูข้อมุล Insight ของลูกค้าที่กดเข้ามาดูสินค้าของเราได้ เพื่อวิเคราะห์ว่าสินค้าแบบไหนที่ผู้คนมีแนวโน้มว่าจะซื้อมาก

3. สามารถสร้างร้านค้าออนไลน์ได้ง่าย และสามารถเชื่อมต่อการขายได้ทั้งใน Facebook และ Instagram เรียกได้ว่าโพสต์ขายสินค้าแค่ครั้งเดียว ลูกค้าสามารถเข้าถึงโพสต์ได้ในทุกแพลตฟอร์ม อีกทั้งยังสามารถจัดการหน้าร้านของตนเอง โดยการกำหนด Mood and Tone จาก ชุดสีหรือ Template ที่ทาง Facebook ออกมาให้สามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับสินค้าได้ง่าย ๆ โดยผู้ใช้ที่มีเพจร้านค้าอยู่แล้วสามารถเพิ่มฟีเจอร์ Facebook Shop นี้ได้ที่เมนูบาร์หน้าเพจได้เลย

ประโยชน์ของ Facebook Shop ในมุมของผู้ซื้อ

ไม่เพียงแต่เอาใจผู้ขายเท่านั้นนะคะ เพราะจากสถิติการซื้อของบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Facebook ก็พอจะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า ผู้ซื้อมีพฤติกรรมชื่นชอบและเคยชินกับการซื้อสินค้าบนแพลต์ฟอร์มออนไลน์แบบนี้ไปแล้ว ดังนั้นการซื้อของง่าย ๆ โดยตรงจากเพจ Facebook ก็ดี หรือใน Instagram ก็ดีสามารถตอบโจทย์พฤติกรรม New Normal ของผู้ซื้อได้อย่างมาก โดยการเข้าถึงสินค้าก็สามารถทำได้จากหน้า Feed Facebook ของตนเองได้เลย ไม่ต้องเข้าไปในเว็บไซต์อื่น ๆ อีก

อีก 2 ฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ Facebook Shop ที่ถึงแม้จะอยู่ในช่วงทดลองในประเทศอเมริกา แต่ก็ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี และไทยเราก็อาจจะได้ใช้กันเร็ว ๆ นี้แน่นอนค่ะ เนื่องจากช่วงนี้ในไทยเรานิยมไลฟ์ขายสินค้ากันเป็นจำนวนมาก และได้ผลตอบรับดีอีกด้วย ฟีเจอร์ Live Shopping จึงเหมาะมาก ๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้พ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ในการ Live ขายของ เพราะในอนาคตอันใกล้นี้ จะสามารถติดแท็กสินค้าของตัวเองขณะไลฟ์ ให้ผู้ชมการถ่ายทอดสดสามารถกดสั่งซื้อ และจ่ายเงินได้ทันที และ Loyalty Programs สำหรับผู้ซื้อโดยเฉพาะ เพื่อสะสมคะแนนจากการซื้อสินค้าต่าง ๆ จากร้านค้าบน Facebook คล้ายๆ กับ Reward Card จาก LINE ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นประโยชน์กับธุรกิจ SME เป็นอย่างมาก

เห็นไหมคะว่าร้านค้าออนไลน์ง่ายต่อการสร้างและจัดการกว่าที่คิด ยิ่งมีฟีเจอร์อำนวยความสะดวกดี ๆ อย่าง Facebook Shop ที่เข้ามาเป็นตัวเลือกให้กับผู้ขายในยุคที่ E-Commerce เฟื่องฟูแบบนี้ เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยนะคะว่า Facebook มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจอย่างมาก รู้พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต ว่าผู้คนชอบอะไรและไม่ชอบอะไรเพราะ Facebook ที่เป็น Platform ที่ไม่ว่าใครก็ต้องรู้จักและใช้งานนั่นเองค่ะ ดังนั้นหากผู้ขายสินค้าออนไลน์ที่กำลังมองหา Platform การขายออนไลน์ทั้ง Facebook หรือ Instagram ก็เป็นอีกที่ที่เริ่มต้นธุรกิจขายออนไลน์ได้ง่ายค่ะอย่าลืมนะคะ สมัยนี้ใครที่ตามโลกทัน และปรับตัวเร็วมักได้เปรียบค่ะ เพราะหลังจากวิกฤต COVID-19 ที่ผ่านมา ต่อไปจะเป็นโอกาสครั้งใหญ่ของธุรกิจ E-Commerce เลยล่ะค่ะ

สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 02-138-9920
อีเมล: [email protected]
line: @mycloudgroup
MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก
บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

ร้านค้าที่มีออเดอร์เยอะ ๆ เขามีระบบจัดการหลังบ้านอะไรมาช่วย ?

ขายของดี ออเดอร์เยอะ แต่จัดการไม่ไหว ทำไงดี ? เคยสงสัยกันไหมครับว่าร้านดัง ๆ ออเดอร์เยอะ ๆ เขาจัดการกันยังไง ให้ส่งของถึงลูกค้าทุกคนโดยไม่ผิดพลาดและไม่ตกหล่น แน่นอนครับว่าหากใช้แรงงานคนในการทำงาน ย่อมมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ครับ อาจเพราะหลงลืม หรือเพราะการติดต่อสื่อสารที่คลาดเคลื่อนต่าง ๆ วันนี้ผมมีเทคนิคที่องค์กรส่วนใหญ่ใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาจัดการออเดอร์ไม่ไหว มาบอกเพื่อน ๆ นักธุรกิจครับ Order Management คืออะไร Order Management คือ การบริหารจัดการการสั่งซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งครอบคลุมทุกขั้นตอนในการสั่งซื้อ ตั้งแต่ลูกค้ากดสั่งสินค้า จนไปถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการส่งของให้ถึงมือลูกค้า ซึ่งมีความซับซ้อนมาก เพราะในแต่ละขั้นตอนก็มีรายละเอียดและปัญหาแตกต่างกัน กระบวนการทำงานของแต่ละองค์กร อาจจะแตกต่างกัน โดยกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่           1. Placement           2. Fulfillment         […]

ร้านค้าที่มีออเดอร์เยอะ ๆ เขามีระบบจัดการหลังบ้านอะไรมาช่วย ?

ขายของดี ออเดอร์เยอะ แต่จัดการไม่ไหว ทำไงดี ? เคยสงสัยกันไหมครับว่าร้านดัง ๆ ออเดอร์เยอะ ๆ เขาจัดการกันยังไง ให้ส่งของถึงลูกค้าทุกคนโดยไม่ผิดพลาดและไม่ตกหล่น แน่นอนครับว่าหากใช้แรงงานคนในการทำงาน ย่อมมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ครับ อาจเพราะหลงลืม หรือเพราะการติดต่อสื่อสารที่คลาดเคลื่อนต่าง ๆ วันนี้ผมมีเทคนิคที่องค์กรส่วนใหญ่ใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาจัดการออเดอร์ไม่ไหว มาบอกเพื่อน ๆ นักธุรกิจครับ Order Management คืออะไร Order Management คือ การบริหารจัดการการสั่งซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งครอบคลุมทุกขั้นตอนในการสั่งซื้อ ตั้งแต่ลูกค้ากดสั่งสินค้า จนไปถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการส่งของให้ถึงมือลูกค้า ซึ่งมีความซับซ้อนมาก เพราะในแต่ละขั้นตอนก็มีรายละเอียดและปัญหาแตกต่างกัน กระบวนการทำงานของแต่ละองค์กร อาจจะแตกต่างกัน โดยกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่           1. Placement           2. Fulfillment         […]