Knowledge Center

โหมดพักร้อน Lazada เปิดใช้ยังไง?

ในยุคที่ธุรกิจออนไลน์ไม่มีวันหยุด การ “พักร้อน” สำหรับเจ้าของร้านค้าใน Lazada อาจฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริง ๆ แล้ว Lazada มีฟีเจอร์ “โหมดพักร้อน” ที่ช่วยให้ร้านค้าสามารถหยุดรับออเดอร์ชั่วคราวได้อย่างมีระบบ โดยไม่กระทบต่อความน่าเชื่อถือหรือคะแนนร้าน

บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ โหมดพักร้อน Lazada พร้อมแนะนำขั้นตอนการเปิดใช้งาน รวมถึงข้อดีข้อเสีย เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจใช้ฟีเจอร์นี้ได้อย่างมั่นใจ

โหมดพักร้อน Lazada คืออะไร?

โหมดพักร้อน Lazada (Vacation Mode) คือฟีเจอร์ที่ให้เจ้าของร้านค้าหยุดรับออเดอร์ได้ชั่วคราว โดยไม่ต้องปิดร้านหรือยกเลิกสินค้า ระบบจะซ่อนสินค้าทั้งหมดจากหน้าร้าน ทำให้ลูกค้าไม่สามารถกดสั่งซื้อสินค้าได้ในช่วงเวลานั้น ๆ เหมาะสำหรับช่วงเวลาที่เจ้าของร้านไม่สะดวกจัดส่ง เช่น ไปต่างประเทศ ปิดคลังสินค้า หรือมีเหตุสุดวิสัย

ฟีเจอร์โหมดพักร้อน Lazada

วิธีเปิดใช้งานฟีเจอร์โหมดพักร้อน Lazada

การเปิดใช้งานโหมดพักร้อนทำได้ง่าย ๆ ผ่าน Seller Center โดยมีขั้นตอนดังนี้ (สำหรับการตั้งค่าบน PC)

  1. เข้าสู่ระบบ Lazada Seller Center
  2. ไปที่เมนู แถบเมนูช่วยเหลือ > การตั้งค่า > โหมดวันหยุด
วิธีเปิดใช้ฟีเจอร์โหมดพักร้อน Lazada

2.เลือกสถานะเป็น “ON” เปิดใช้งาน > ตั้งค่าวันหยุดใหม่

วิธีเปิดใช้ฟีเจอร์โหมดพักร้อน Lazada

3.กำหนดวันที่ต้องการเริ่มต้นและสิ้นสุดการพักร้อน และกดบันทึก (สำเร็จ) เมื่อถึงเวลาที่กำหนด ระบบจะเปิดหน้าร้านอัตโนมัติโดยไม่ต้องมากดเอง

วิธีเปิดใช้ฟีเจอร์โหมดพักร้อน Lazada

ทำไมถึงต้องใช้โหมดพักร้อน Lazada

  • ป้องกันปัญหา PNR (พัสดุไม่พร้อมจัดส่ง): หากคุณไม่สามารถจัดส่งสินค้าได้ตามกำหนด การเปิดโหมดพักร้อนจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกค้าสั่งสินค้า และลดความเสี่ยงโดนปรับคะแนนจาก Lazada
  • ดูแลภาพลักษณ์ร้านค้า: ดีกว่าปล่อยให้ลูกค้าสั่งของแล้วต้องยกเลิก ช่วยรักษาคะแนนความพึงพอใจและรีวิวดี ๆ
  • จัดการระบบหลังบ้าน: เหมาะกับร้านที่กำลังรีแพ็คสต็อก หรือจัดระเบียบคลังสินค้าใหม่


ข้อดี ฟีเจอร์โหมดพักร้อน Lazada

1. ควบคุมสถานะร้านได้เองอย่างยืดหยุ่น
ฟีเจอร์นี้เหมาะกับร้านค้าที่ต้องการ “หยุดชั่วคราว” แบบไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นการพักร้อนจริง ๆ หรือใช้เวลาจัดการหลังบ้าน เช่น ตรวจสต็อก ย้ายคลังสินค้า หรือปรับเปลี่ยนระบบภายใน โหมดนี้ช่วยให้เจ้าของร้านควบคุมได้เองโดยไม่ต้องพึ่งทีมงานหรือแจ้ง Lazada โดยตรง

ข้อดี ฟีเจอร์โหมดพักร้อน Lazada

2. ป้องกันรีวิวแย่จากการจัดส่งล่าช้า
การเปิดโหมดพักร้อนจะซ่อนสินค้าทั้งหมดจากลูกค้า ทำให้ไม่มีใครสามารถสั่งซื้อได้ในช่วงเวลานั้น ซึ่งช่วยลดโอกาสเกิดปัญหาสินค้าส่งล่าช้า การตอบแชตไม่ทัน หรือบริการหลังการขายไม่ดีที่อาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจ และเขียนรีวิวเชิงลบ

3. รักษามาตรฐานร้านในระยะยาว
โหมดพักร้อนช่วยให้ร้านยังรักษา “ความสะอาด” ของระบบ เช่น ไม่มีออเดอร์ที่ส่งไม่ทัน, ไม่มีการยกเลิกออเดอร์โดยร้านค้าเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อคะแนน Seller Rating โดยตรง การพักอย่างมีระบบย่อมดีกว่าการปล่อยให้ระบบจัดการออเดอร์ที่เราไม่พร้อมรับ


ข้อเสีย ฟีเจอร์โหมดพักร้อน Lazada

1. รายได้หยุดชั่วคราวในช่วงที่เปิดโหมด
แน่นอนว่าการเปิดโหมดพักร้อนหมายถึงร้านจะไม่สามารถรับออเดอร์ใหม่ได้ ซึ่งก็เท่ากับว่ารายได้จะหยุดทันทีในช่วงเวลาดังกล่าว หากคุณไม่มีแหล่งรายได้จากช่องทางอื่น เช่น Marketplace อื่น หรือช่องทาง Social Commerce รายได้อาจสะดุดได้จริง สำหรับร้านค้าไหนที่เปิดให้โหมดพักร้อน Lazada แต่ยังอยากขายช่องทาง Social Commerce อย่างเช่น Facebook, Instagram หรือทาง Line OA ก็ยังมีช่องทางการขายช่องทางหนึ่งนั่นก็คือ MyCloud Sale Page เป็นเว็บไซต์การขายขนาดย่อมๆหรือบางคนอาจจะเรียกว่า Landing Page เลยก็ได้

ข้อเสีย ฟีเจอร์โหมดพักร้อน Lazada

โดยขั้นตอนการขายผ่านช่องทางนี้ง่ายมากๆ ร้านค้าเองสามารถสร้างหน้าการขาย Sale Page ได้ด้วยตัวเองผ่านทางระบบ OMS ของ MyCloud จากนั้นเลือกสินค้าที่ต้องการขาย จัดโปรโมชั่นพิเศษ หรือ สามารถระบุจำนวนสต๊อกที่ต้องการขายเฉพาะช่วงนั้นๆได้ แล้วนำลิงก์ Sale Page นำไปโปรโมตขายที่ช่องทาง Social Media ต่างๆ เมื่อเกิดออเดอร์ และลูกค้าชำระเงิน ระบบจะทำการดึงออเดอร์เพื่อแพ็ค ส่ง ให้ทันที โดยที่ร้านค้าไม่ต้องคอยมาเสียเวลานั่งเช็ค หรือคีย์ออเดอร์ในระบบอีกครั้ง Sale Page ก็เป็นอีกช่องทางการขายช่องทางหนึ่งที่เวลาร้านค้าต้องการปิดร้านค้าชั่วคราวทาง Marketplace แล้วไม่อยากที่จะเสียรายได้ในการขายค่ะ

2. ลูกค้าประจำอาจเข้าใจผิดว่าร้านปิดถาวร
เมื่อสินค้าทั้งหมดถูกซ่อนจากหน้าร้าน ลูกค้าประจำที่เข้ามาอาจเข้าใจผิดว่าร้านเลิกขายหรือมีปัญหากับระบบ ซึ่งอาจทำให้พวกเขาหายไปโดยไม่กลับมาอีก ยิ่งถ้าคุณไม่ได้แจ้งล่วงหน้าผ่านช่องทางอื่น เช่น Facebook Page หรือ LINE OA ลูกค้าอาจรู้สึกว่าสื่อสารไม่ชัดเจน ขาดความน่าเชื่อถือ และเลือกไปซื้อสินค้าจากร้านคู่แข่งแทน การเปิดโหมดพักร้อนโดยไม่สื่อสารจึงอาจทำให้สูญเสียลูกค้าประจำที่สร้างรายได้ต่อเนื่องให้กับร้านได้อย่างน่าเสียดาย

เสียลูกค้าประจำ

3. ถ้าเปิดโหมดบ่อย อาจกระทบต่อความน่าเชื่อถือ
แม้ว่าโหมดพักร้อนจะเป็นฟีเจอร์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ร้านค้ามีความยืดหยุ่นในการจัดการ แต่หากเปิดใช้งานบ่อยเกินไป เช่น ทุกเดือน หรือเปิดทิ้งไว้นานเกิน 7 วัน อาจทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าร้านไม่มีความเสถียร ขาดความพร้อมในการขาย หรือไม่มีทีมงานที่ดูแลอย่างมืออาชีพ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อความน่าเชื่อถือในสายตาลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสินค้าแบบเร่งด่วน หากพวกเขาเข้ามาเจอร้านที่ไม่สามารถซื้อได้เป็นระยะ ๆ หรือไม่มีสินค้าพร้อมขาย ก็มีโอกาสสูงที่จะเปลี่ยนใจไปซื้อจากร้านอื่นที่พร้อมให้บริการทันที และหากเจอร้านใหม่ที่ให้ประสบการณ์ที่ดีกว่า ก็อาจไม่กลับมาที่ร้านเดิมอีกเลย

Tips : ก่อนเปิดใช้งาน โหมดพักร้อน Lazada

แนะนำให้แจ้งลูกค้าล่วงหน้าผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น Facebook Page, Chat Broadcast ของแพลตฟอร์มลาซาด้า, LINE OA บรอดแคส หรือแม้แต่ในโพสต์สั้น ๆ ว่า “ร้านจะหยุดรับออเดอร์ชั่วคราว ระหว่างวันที่ XX – XX” เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจ และยังรู้สึกผูกพันกับร้านแม้ไม่ได้สั่งของในช่วงนั้น หากใช้โหมดนี้ให้ถูกจังหวะและสื่อสารดี ๆ ก็สามารถเปลี่ยนจาก “ช่วงพัก” ให้เป็นโอกาสสร้างภาพลักษณ์มืออาชีพได้เช่นกันค่ะ!


สรุป

ฟีเจอร์ โหมดพักร้อน Lazada ถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้เจ้าของร้านออนไลน์สามารถหยุดรับออเดอร์ชั่วคราวได้อย่างเป็นระบบ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องคะแนนร้าน หรือปัญหาการจัดส่งที่อาจเกิดจากความไม่พร้อมของทีมงานหรือคลังสินค้า เป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับช่วงเวลาที่เจ้าของร้านต้องการพัก จัดการระบบหลังบ้าน หรือมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถดำเนินการขายได้ตามปกติ

แต่อย่างไรก็ตาม ฟีเจอร์นี้ก็มีข้อจำกัด โดยเฉพาะในแง่ของ “โอกาสทางรายได้” ที่อาจหยุดชะงักในทันทีเมื่อลูกค้าไม่สามารถสั่งซื้อสินค้าได้ รวมถึงความเสี่ยงที่ลูกค้าประจำอาจเข้าใจผิดว่าร้านปิดตัว หรือรู้สึกว่าแบรนด์ไม่เสถียร โดยเฉพาะหากเปิดโหมดบ่อยหรือไม่ได้สื่อสารล่วงหน้าอย่างชัดเจน

การดึงออเดอร์ให้คลังสินค้าจัดการ

ดังนั้น หากคุณเป็นร้านค้าที่ไม่อยากเสียรายได้ในช่วงเวลาที่ต้องเปิดโหมดพักร้อน ทางออกหนึ่งที่คุ้มค่าและยืดหยุ่นกว่าคือการใช้บริการ MyCloud Fulfillment ซึ่งเป็นคลังสินค้าที่สามารถดูแลเรื่องการจัดเก็บ แพ็ก และส่งสินค้าแทนคุณได้ตลอด 24 ชั่วโมง

นอกจากนี้ หากคุณยังต้องการขายสินค้าผ่านช่องทาง Social Commerce อย่าง Facebook หรือ LINE OA ในช่วงที่ร้านบน Lazada ปิดอยู่ คุณสามารถใช้ฟีเจอร์ MyCloud Sale Page เพื่อสร้างหน้าเว็บไซต์ขายของแบบง่าย ๆ ได้ภายในไม่กี่นาที โดยเชื่อมต่อกับระบบหลังบ้านของ MyCloud โดยตรง เมื่อลูกค้ากดสั่งซื้อ ระบบจะดึงออเดอร์เข้ามาให้โดยอัตโนมัติ และทางทีมคลังจะจัดการแพ็กและส่งของให้ทันที โดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรเลย

  • ไม่ต้องหยุดขาย
  • ไม่เสียโอกาสรับออเดอร์
  • ลูกค้าได้รับสินค้าต่อเนื่อง
  • ระบบหลังบ้านจัดการให้ครบแบบอัตโนมัติ

เพราะในยุคที่การแข่งขันสูง ความต่อเนื่องของการขายคือหัวใจของความสำเร็จ ถ้าคุณอยาก “หยุดพัก” แต่ไม่อยาก “ให้ยอดขายหยุด” ลองให้ MyCloud Fulfillment ช่วยดูแลงานหลังบ้านให้คุณค่ะ ติดต่อสอบถามกับเราได้ที่นี่เลยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

SLA คืออะไร กับ 3 ตัวชี้วัด Marketplace ที่คนขายออนไลน์จะต้องรู้

ถ้าให้พูดถึงการซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันนี้ก็คงเป็นช่องทาง Marketplace ที่ทุกคนรู้จักกันดีอย่างช่องทางการขาย Lazada, Shopee, TikTok Shop ซึ่งแน่นอนว่าการที่ได้รับความสนใจสิ่งที่เพิ่มมากขึ้นตามมาด้วยก็คือการแข่งขันของร้านค้าออนไลน์ใน Marketplace เพราะประเภทสินค้าที่เหมือนกันหรือมีความคล้ายกันก็จะทำให้ผู้ซื้อเกิดการเปรียบเทียบก่อนซื้อ และเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ร้านค้าออนไลน์ควรต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้และทำให้แบรนด์เติบโตได้ในระยะยาว  SLA คือข้อตกลงระดับการให้บริการที่ผู้ขายต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น บทความนี้เราจะมาพูดถึงปัจจัยที่เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ร้านค้ามีเรตติ้งคะแนนร้านค้าที่ดีและเป็นส่วนช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อีกด้วยนั้นก็คือ SLA (Service Level Agreement) แน่นอนว่าการมีเรตติ้งร้านค้าที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากความคาดหวังของลูกค้ามีสูงขึ้นเรื่อย ๆ การรักษามาตรฐาน SLA ที่ดีจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ทั้งในเรื่องของความรวดเร็วในการจัดการออเดอร์ไปจนถึงจัดส่ง คุณภาพของสินค้าที่ตรงตามที่ระบุ และการให้บริการลูกค้าอย่างมืออาชีพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จและความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว  SLA คืออะไร?  Service Level Agreement หรือ SLA คือข้อตกลงในการให้บริการระหว่างร้านค้าและแพลตฟอร์มการขาย ซึ่งก็จะเป็นในส่วนข้อตกลงในการให้บริการเพื่อวัดคุณภาพการจัดส่งของร้านค้า การที่ร้านค้าปฏิบัติตามข้อตกลง SLA ของแพลตฟอร์มจะช่วยให้ร้านค้า ไม่โดนคะแนนบทลงโทษ สามารถเข้าร่วมแคมเปญใหญ่ ๆ เพิ่มโอกาสในการขาย และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า SLA ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง  การทำธุรกิจออนไลน์บน Marketplace […]

SLA คืออะไร กับ 3 ตัวชี้วัด Marketplace ที่คนขายออนไลน์จะต้องรู้

ถ้าให้พูดถึงการซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันนี้ก็คงเป็นช่องทาง Marketplace ที่ทุกคนรู้จักกันดีอย่างช่องทางการขาย Lazada, Shopee, TikTok Shop ซึ่งแน่นอนว่าการที่ได้รับความสนใจสิ่งที่เพิ่มมากขึ้นตามมาด้วยก็คือการแข่งขันของร้านค้าออนไลน์ใน Marketplace เพราะประเภทสินค้าที่เหมือนกันหรือมีความคล้ายกันก็จะทำให้ผู้ซื้อเกิดการเปรียบเทียบก่อนซื้อ และเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ ร้านค้าออนไลน์ควรต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้และทำให้แบรนด์เติบโตได้ในระยะยาว  SLA คือข้อตกลงระดับการให้บริการที่ผู้ขายต้องปฏิบัติตาม ดังนั้น บทความนี้เราจะมาพูดถึงปัจจัยที่เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ร้านค้ามีเรตติ้งคะแนนร้านค้าที่ดีและเป็นส่วนช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อีกด้วยนั้นก็คือ SLA (Service Level Agreement) แน่นอนว่าการมีเรตติ้งร้านค้าที่ดีนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากความคาดหวังของลูกค้ามีสูงขึ้นเรื่อย ๆ การรักษามาตรฐาน SLA ที่ดีจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า ทั้งในเรื่องของความรวดเร็วในการจัดการออเดอร์ไปจนถึงจัดส่ง คุณภาพของสินค้าที่ตรงตามที่ระบุ และการให้บริการลูกค้าอย่างมืออาชีพ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลโดยตรงต่อความสำเร็จและความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว  SLA คืออะไร?  Service Level Agreement หรือ SLA คือข้อตกลงในการให้บริการระหว่างร้านค้าและแพลตฟอร์มการขาย ซึ่งก็จะเป็นในส่วนข้อตกลงในการให้บริการเพื่อวัดคุณภาพการจัดส่งของร้านค้า การที่ร้านค้าปฏิบัติตามข้อตกลง SLA ของแพลตฟอร์มจะช่วยให้ร้านค้า ไม่โดนคะแนนบทลงโทษ สามารถเข้าร่วมแคมเปญใหญ่ ๆ เพิ่มโอกาสในการขาย และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า SLA ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง  การทำธุรกิจออนไลน์บน Marketplace […]