ในยุคที่การขายออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว คำถามสำคัญที่พ่อค้าแม่ค้าหลายคนมักจะถามตัวเองคือ “ควรขายผ่าน Marketplace หรือ Social Commerce เพื่อให้ได้กำไรมากที่สุด?” ก่อนที่จะรู้คำตอบนั้นก็ควรจะรู้ก่อนว่าแต่ละช่องทางนั้นมีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกันอย่างไร แล้วช่องทางไหนที่เหมาะกับธุรกิจของคุณมากที่สุด? บทความนี้จะช่วยเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน พร้อมคำแนะนำที่ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น!
Marketplace คืออะไร? ข้อดีและข้อเสีย
Marketplace คือแพลตฟอร์มที่รวบรวมผู้ขายและผู้ซื้อมาไว้ในที่เดียว เช่น Lazada, Shopee, และ TikTok Shop ซึ่งกลายเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ขายออนไลน์เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมากในเวลาอันสั้น
ข้อดีของ Marketplace
1.เข้าถึงฐานลูกค้าขนาดใหญ่ เพราะมีจำนวนผู้ใช้งานที่เยอะมากและหลากหลาย ทั้งในแง่ของเพศ อายุ และความสนใจ ทำให้โอกาสที่สินค้าของคุณจะถูกพบเห็นและซื้อมีสูง อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ช่วยโปรโมตสินค้า เช่น การแสดงสินค้าในหน้าแนะนำ (Recommended), การจัดอันดับสินค้ายอดนิยม, หรือฟังก์ชัน Search ที่ช่วยให้ลูกค้าเจอสินค้าคุณง่ายขึ้น และมีผู้ใช้งานทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง คุณจึงสามารถขายสินค้าและทำการตลาดได้ต่อเนื่องโดยไม่จำเป็นต้องรอช่วงเวลาหรือกิจกรรมพิเศษ
2.ระบบจัดการที่สะดวก ระบบจัดการที่สะดวก มีเครื่องมือที่ช่วยในเรื่องของการชำระเงิน การจัดส่ง และโปรโมชั่น
–การชำระเงิน (Payment) มีระบบชำระเงินอัตโนมัติที่รองรับการจ่ายเงินหลากหลายช่องทาง เช่น บัตรเครดิต/เดบิต, โอนผ่านธนาคาร, และ e-Wallet ระบบจะช่วยเก็บเงินจากลูกค้าและโอนเงินเข้าบัญชีของคุณโดยอัตโนมัติ ลดขั้นตอนการติดตามหรือจัดการการชำระเงินเอง
–การจัดส่ง (Shipping) ทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ด้านการจัดส่ง เช่น Kerry, Flash Express หรือ J&T ที่เชื่อมต่อระบบโดยตรง เมื่อมีคำสั่งซื้อ ระบบจะช่วยสร้างใบจัดส่ง (Shipping Label) พร้อมรายละเอียดลูกค้า โดยผู้ขายเพียงแค่พิมพ์และส่งสินค้าให้พาร์ทเนอร์จัดส่งผู้ซื้อยังสามารถติดตามสถานะสินค้าได้ง่ายผ่าน มาร์เก็ตเพลส
–โปรโมชั่น (Promotion) เครื่องมือช่วยสร้างแคมเปญส่งเสริมการขาย เช่น ส่วนลด, คูปอง, การจัด Flash Sale ช่วยให้ผู้ขายดึงดูดลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องจัดการระบบโปรโมชั่นเอง
3.ความน่าเชื่อถือของแพลตฟอร์ม มีความน่าเชื่อถือในสายตาของลูกค้าเนื่องจากแพลตฟอร์มมีการวางระบบที่ปลอดภัยและโปร่งใส ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าทั้งในด้านการซื้อสินค้าและการบริการหลังการขาย โดยสามารถแยกเป็นข้อได้ดังนี้
–ความปลอดภัยในการชำระเงิน ใช้ระบบชำระเงินที่ปลอดภัยเช่น การเข้ารหัสข้อมูล(Encryption)และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล (PCI DSS)ลูกค้าสามารถจ่ายเงินผ่านช่องทางที่หลากหลายโดยไม่ต้องกังวลเรื่องข้อมูลรั่วไหลหรือการถูกโกง
–นโยบายรับประกันสินค้า มักมีนโยบายคุ้มครองผู้ซื้อ เช่น การคืนเงินหรือเปลี่ยนสินค้าในกรณีที่สินค้าชำรุดหรือไม่ได้รับสินค้าลูกค้ารู้สึกมั่นใจว่าหากเกิดปัญหา แพลตฟอร์มจะช่วยแก้ไขหรือติดตามเรื่องให้
–ความโปร่งใสในการรีวิวสินค้า ลูกค้าแสดงความคิดเห็นหรือให้คะแนนสินค้าที่เคยซื้อซึ่งช่วยให้ลูกค้าคนอื่นตัดสินใจได้ง่ายขึ้นผู้ขายไม่สามารถแก้ไขหรือลบรีวิวได้ ทำให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ
–ระบบตรวจสอบผู้ขาย (Seller Verification)มีการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพของผู้ขาย เช่น การลงทะเบียนธุรกิจ, การยืนยันตัวตน, และการติดตามพฤติกรรมของผู้ขายลูกค้ารู้สึกมั่นใจว่าสินค้าที่ซื้อจะมาจากผู้ขายที่ผ่านการตรวจสอบ
-ชื่อเสียงและการบริการของแพลตฟอร์ม ด้านการให้บริการและการจัดการข้อร้องเรียนทำให้ลูกค้ารู้สึกสบายใจในการใช้บริการตัวอย่างเช่น Shopee และ Lazada ในประเทศไทยได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าหลายล้านคน
ข้อเสียของ Marketplace
1.ค่าธรรมเนียมและค่าคอมมิชชัน อาจต้องเสียค่า GP (Gross Profit) สูงถึง 10-30% ต่อออเดอร์โดยจะเก็บจากยอดขายสินค้า โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า เช่น สินค้าทั่วไปจะมีค่า GP ต่ำกว่า แต่สินค้าที่มีการแข่งขันสูง เช่น แฟชั่นหรืออิเล็กทรอนิกส์ อาจมีค่า GP สูงกว่า ค่าธรรมเนียมนี้ครอบคลุมบริการต่างๆ เช่น การโปรโมต การจัดส่ง และระบบชำระเงิน ทำให้ผู้ขายต้องวางแผนราคาสินค้าให้เหมาะสมเพื่อรักษากำไร.
2.การแข่งขันที่สูง เนื่องจากมีผู้ขายจำนวนมากในหมวดสินค้าเดียวกัน ทำให้ต้องลดราคาสินค้าเพื่อดึงดูดลูกค้า ส่งผลให้กำไรลดลง และยากที่จะสร้างความแตกต่างหรือเพิ่มมูลค่าแบรนด์ เพราะลูกค้ามักตัดสินใจซื้อจากราคาที่คุ้มค่าที่สุด
3.การควบคุมลูกค้า ขายไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้าได้โดยตรง เนื่องจากลูกค้าที่ซื้อสินค้าผ่านช่องทางนี้ถือว่าเป็นของแพลตฟอร์มไม่ใช่ของคุณ โดยผลกระทบที่สำคัญได้แก่
-ขาดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า คุณไม่สามารถสื่อสารโดยตรงกับลูกค้า เช่น ส่งโปรโมชันหรือข้อเสนอพิเศษ ทำให้ยากต่อการสร้างฐานลูกค้าประจำ
-ข้อมูลลูกค้าเป็นของแพลตฟอร์ม ช่องทางการขายทางมาร์เก็ตเพลส จะเก็บข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อ เบอร์โทร และพฤติกรรมการซื้อ ทำให้คุณพลาดโอกาสในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาธุรกิจ
-การพึ่งพา Marketplace สูง หากมีการเปลี่ยนโยบายหรือปิดบัญชีร้านค้า คุณอาจสูญเสียโอกาสในการขายและฐานลูกค้าทั้งหมด
สรุปข้อเสีย การขายในมาร์เก็ตเพลสทำให้คุณไม่สามารถควบคุมหรือสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้อย่างเต็มที่ เพราะลูกค้าเป็นของแพลตฟอร์มส่งผลต่อความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาว
Social Commerce คืออะไร? ข้อดีและข้อเสีย
Social Commerce เป็นการขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, และ LINE ซึ่งเป็นการสื่อสารโดยตรงระหว่างผู้ขายและลูกค้า
ข้อดีของการขายผ่าน Social Commerce
1.ไม่มีค่าคอมมิชชัน การขายผ่าน Social Commerce อย่าง Facebook, Instagram, TikTok หรือ LINE ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์มจากยอดขาย ต่างจากมาร์เก็ตเพลสที่มักหักค่าธรรมเนียม 10-15% ทำให้คุณลดการเสียค่าธรรมเนียมในแต่ละออเดอร์
2.สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้าได้ง่าย ผู้ขายสามารถพูดคุยกับลูกค้าได้โดยตรงผ่านแชท เช่น LINE, Messenger หรือคอมเมนต์ในโพสต์ ลูกค้าสามารถสอบถามหรือขอคำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าได้แบบเรียลไทม์ ผู้ขายจึงสามารถสร้างความไว้วางใจ ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล ลูกค้าจะรู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์ส่งผลให้เกิดความภักดีและกลับมาซื้อซ้ำบ่อยขึ้น.
3.สร้างเอกลักษณ์ของแบรนด์ สไตล์การโพสต์และการตอบโต้ช่วยทำให้แบรนด์ของคุณโดดเด่น Social Commerce ช่วยให้คุณสร้างเอกลักษณ์แบรนด์ผ่านเนื้อหา เช่น การโพสต์ที่มีเอกลักษณ์ การใช้ภาษาเฉพาะตัว หรือการตอบคอมเมนต์ที่เป็นมิตรและใกล้ชิด สิ่งเหล่านี้ทำให้แบรนด์ของคุณน่าจดจำและแตกต่างจากคู่แข่ง ลูกค้าจำแบรนด์ได้ง่าย สร้างความประทับใจ และเพิ่มโอกาสในการขายซ้ำ.
ข้อเสียของ Social Commerce
1.ใช้เวลามากในการตอบแชท การพูดคุยกับลูกค้าเป็นรายบุคคล เช่น ตอบคำถามเกี่ยวกับสินค้า, แจ้งราคาหรือโปรโมชั่น และยืนยันการสั่งซื้อ หากมีออเดอร์หรือข้อความเข้ามาจำนวนมาก อาจทำให้ตอบแชทล่าช้า ส่งผลให้ลูกค้ารอคอยนานและเปลี่ยนใจไปซื้อที่อื่น
2.การจัดการสต็อกไม่อัตโนมัติ ต้องใช้เวลามากขึ้นในการจัดการข้อมูลเอง ไม่มีระบบจัดการสต็อกอัตโนมัติเหมือนทางมาร์เก็ตเพลส ทำให้ผู้ขายต้องอัปเดตข้อมูลสต็อกด้วยตนเอง เช่น จำนวนสินค้าคงเหลือหรือการจองสินค้า หากขายในหลายช่องทาง อาจเกิดปัญหาสต็อกคลาดเคลื่อน สินค้าหมดโดยไม่ทราบ หรือส่งผิดพลาด
3.การเข้าถึงที่จำกัด: ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ติดตามและการลงทุนในโฆษณา มีข้อจำกัดในเรื่องการเข้าถึง หากจำนวนผู้ติดตามน้อย โอกาสในการมองเห็นโพสต์จะต่ำ ยิ่งไปกว่านั้น การเพิ่มการเข้าถึงส่วนใหญ่มักต้องอาศัยการลงทุนในโฆษณา เช่น Facebook Ads หรือการโปรโมตโพสต์ ซึ่งอาจเป็นต้นทุนเพิ่มเติมสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก.
สรุปควรเลือกขายที่ช่องทางไหน ?
- เลือกขายทาง Marketplace หากคุณต้องการ ขยายฐานลูกค้าแบบรวดเร็ว,ใช้ระบบจัดการออเดอร์ที่มีประสิทธิภาพ และ ไม่ต้องการดูแลระบบหลังบ้านเองมากนักเพราะลูกค้าสามารถกดซื้อสินค้าได้ด้วยตัวเอง
- เลือก Social Commerce หากคุณต้องการ เก็บกำไรเต็มจำนวน,มีความสัมพันธ์ที่ดีและใกล้ชิดกับลูกค้า,ควบคุมการสื่อสารและประสบการณ์ของลูกค้าได้อย่างเต็มที่
แต่หากคุณต้องการเพิ่มกำไรและประหยัดเวลาการใช้ทั้งสองช่องทางร่วมกันอาจเป็นคำตอบที่ดีที่สุด และการที่จะขายทั้ง 2 ช่องทางได้แบบไม่ติดปัญหาก็ต้องมีเรื่องของระบบเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการสต๊อกสินค้าและเรื่องการจัดส่งที่รวดเร็วเพราะความต้องการของลูกค้าทั้ง 2 ช่องทางก็คงอยากได้รับสินค้าที่รวดเร็วเช่นกัน
ไม่ว่าคุณจะเลือกขายผ่าน Marketplace หรือ Social Commerce หรือทั้งสองช่องทาง MyCloud Fulfillment พร้อมเป็นผู้ช่วยด้านการจัดการหลังบ้าน ตั้งแต่การจัดการสต็อก การแพ็กสินค้า ไปจนถึงการจัดส่ง ด้วยระบบ Omni-Channel Management ที่ช่วยให้คุณรวมสต็อกและออเดอร์จากทุกช่องทางไว้ในที่เดียว
-ขายสินค้าได้หลายช่องทางโดยไม่ต้องกังวลเรื่องสต็อก
-ประหยัดเวลาในกระบวนการหลังบ้าน เพื่อให้คุณโฟกัสกับการขายและเพิ่มกำไร
-เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกผ่าน Dashboard ที่ช่วยวิเคราะห์และวางแผนการขายได้แม่นยำ
เพียงแค่คุณนำสินค้ามาฝากไว้ที่คลังสินค้าของเรา MyCloud เราจะทำการเชื่อมต่อช่องทางการขายให้คุณได้ทุกช่องทาง เช่น Lazada, Shopee, TikTok, Line Shopping และหากเป็นการขายผ่านทาง Social Commerce เช่น Facebook Chat, Line OA, Instagram เรามีฟีเจอร์ Chat Commerce ที่ช่วยซัพพอร์ตการขายผ่านทางแชทให้เป็นไปได้อย่างสะดวกเพียงแค่ส่งลิงก์สรุปยอดออเดอร์สินค้าให้ลูกค้าชำระเงิน ระบบจะทำการดึงข้อมูลออเดอร์นั้นๆส่งมายังระบบคลังสินค้า MyCloud จากนั้นเราจะทำการแพ็กส่งให้ทันที ร้านค้าเองไม่ต้องเสียเวลามาคีย์ออเดอร์ลงระบบย้อนหลังและวิธีนี้จะทำให้ออเดอร์ไม่หลุดอีกด้วย
สรุป Marketplace และ Social Commerce ขายช่องทางไหนกำไรดีกว่า? หากเป็นในสถานการณ์ตอนนี้เราแนะนำว่าควรขายควบคู่กันทั้ง 2 ช่องทางเพราะจะทำให้คุณกระจายช่องทางของรายได้และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าหลายๆกลุ่มได้กว้างขึ้น แต่ถ้าใครอยากที่เน้นการขายช่องทางของตัวเองอย่าลืมติดตามบทความดีๆจาก MyCloud Fulfillment เอาไว้นะคะ