Knowledge Center

Omni Channel คืออะไร ช่วยเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจในยุค Disruption ?

ความพึงพอใจและประสบการณ์ที่ดีของลูกค้าถือเป็นเป้าหมายสำคัญของธุรกิจ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องงัดเอากลยุทธ์ต่าง ๆ มาเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้า และหัวใจสำคัญที่อยู่ในทุกขั้นตอนของการขาย ตั้งแต่เริ่มต้นทำความรู้จักลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ารับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ ไปจนถึงการบริการหลังการขายนั่นก็คือ การติดต่อสื่อสาร ซึ่งในปัจจุบันผู้บริโภคคาดหวังการให้บริการแบบเรียลไทม์ ผ่านช่องทางที่หลากหลาย 

ดังนั้นการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าทั้งออนไลน์ และการขายหน้าร้าน หรือที่เรียกว่าออฟไลน์นั้น จึงมีความสำคัญไม่แพ้กัน นี่จึงทำให้เกิดการตลาดแบบผสมผสานที่เรียกว่า Omni Channel Marketing ที่เป็นการผสมผสานทั้งสองช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้า เพื่อให้เกิดการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นการบันทึกข้อมูลลูกค้าไว้ที่ระบบกลางเพื่อเพิ่มโอกาสทางการขายต่อไป 

แล้ว Omni Channel คืออะไร?

Omni มาจากรากศัพท์ลาตินว่า Omnibus ซึ่งหมายถึง For All หรือ ทั้งหมด ในแง่ของ E-commerce คำว่า “Omni Channel” คือช่องทางการสื่อสารและบริการลูกค้าที่หลากหลายและเชื่อมโยงกันให้เป็นหนึ่งเดียวทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าทั้งหมดเอาไว้ เพื่อทำให้การเข้าถึงข้อมูลลูกค้าเป็นไปได้ง่าย รวดเร็วและไร้รอยต่อ เรียกได้ว่าเป็นการรวมการตลาดจากทุกช่องทาง ช่วยดึงลูกค้าจากร้านค้าไปปิดการขายในช่องทางออนไลน์ หรือลูกค้าจากหน้าร้านให้ไปทำการซื้อ-ขายกันในช่องทางออนไลน์ได้เช่นกัน  ถือเป็นการหยิบยื่นประสบการณ์การซื้อสินค้าของลูกค้าได้เป็นอย่างดี เพิ่มความสะดวกให้สามารถเข้าถึงการซื้อขายได้อย่างครอบคลุม โดยในปัจจุบันช่องทางการสื่อสารออนไลน์ที่เป็นที่นิยม ได้แก่ Email Direct Marketing, Website, Social Media , E-Commerce และช่องทาง Marketplace ต่าง ๆ ส่วนช่องทางออฟไลน์ก็คือร้านค้าที่เห็นกันได้ทั่วไปนั่นเอง

ข้อดีของ Omni Channel

การนำระบบ Omni Channel เข้ามาช่วยบริหารและจัดการสินค้า มีข้อดีมากมายที่จะช่วยให้ทั้งธุรกิจของคุณดำเนินไปอย่างสะดวก และช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าได้มากขึ้น โดยที่ไม่จำเป็นต้องห่วงเรื่องงานหลังบ้านเลย 

Omni Channel ช่วยร้านค้าอย่างไร?

Omni Channel เป็นประโยชน์อย่างมากต่อธุรกิจในปัจจุบัน ดังนี้

  • เพิ่มโอกาสและช่องทางในการขายได้มากขึ้น โดยจะช่วยเพื่อดึงดูดลูกค้า (Engage) ได้มากขึ้น โดยสามารถทำได้ผ่าน Social Commerce ต่าง ๆ ได้แก่ TikTok Shop, LINE OA, Instagram เป็นต้น ยิ่งมีช่องทางในการขายสินค้ามากเท่าไหร่ โอกาสในการขายก็มีมากขึ้นเท่านั้น 
  • มีระบบการจัดการสินค้าเป็น Center อยู่ที่เดียว ไม่จำเป็นต้องสลับแพลตฟอร์ม เพื่อเข้าไปดูหลังบ้านทีละแพลตฟอร์ม เพราะสามารถเชื่อมต่อทุกที่รวมไว้ใน Marketplace เดียวกันได้
  • สามารถเช็คสต็อกสินค้าที่คงเหลือได้ ลำดับคำสั่งซื้อที่เข้ามา ช่วยให้ร้านค้าสามารถบริหารและจัดการได้ดียิ่งขึ้น 
  • สามารถเข้าถึงรีวิวจากลูกค้าที่ซื้อก่อนหน้าได้ โดยจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แก่ร้านค้า ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าถึงลูกค้าได้กว้างขึ้น และเป็นการกระตุ้นพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าได้อีกด้วย 
  • ร้านค้าสามารถเก็บข้อมูลผ่านการสั่งซื้อของลูกค้า เพื่อนำไปวิเคราะห์และพัฒนาต่อยอดธุรกิจได้ในอนาคต 

Omni Channel ดีต่อผู้บริโภคอย่างไร?

สำหรับทางด้านผู้บริโภคเองก็มีข้อดีมากมาย เช่น

  • สามารถเลือกติดต่อผ่านช่องทางที่ตนเองสะดวก อย่างบางคนอาจจะลังเลเมื่ออยู่หน้าร้าน ยังตัดสินใจไม่ได้ หรือต้องการหาข้อมูลของสินค้านั้น ๆ ก็สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ และสามารถสั่งซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย
  • ลูกค้าสามารถชำระเงินผ่านช่องทางการชำระเงินที่มีให้เลือกหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น บัตรเครดิต/เดบิต Internet Banking เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือ Application ต่าง ๆ ซึ่งง่าย สะดวกบายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น 
  • มีช่องทางการรับสินค้าที่มีให้เลือกหลายช่องทาง เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด เช่น จะไปรับสินค้าที่สาขาหน้าร้าน หรือส่งถึงหน้าบ้านก็ทำได้เช่นกัน
  • ในกรณีที่สินค้ามีปัญหา ลูกค้าสามารถติดต่อกับทางร้านค้าได้อย่างสะดวก ไม่จำเป็นต้องคอยบอกข้อมูลการซื้อซ้ำ ๆ เนื่องจากร้านค้าจะบันทึกข้อมูลและจัดเก็บไว้แล้ว
  • ลูกค้าจะได้รับประสบการณ์การช้อปปิ้งที่มีความเป็นส่วนตัวและพิเศษมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจสามารถเข้าถึงและวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าแต่ละรายได้อย่างละเอียด ทำให้สามารถนำเสนอสิทธิประโยชน์ที่ตรงใจลูกค้าได้มากขึ้น เช่น โปรโมชันเดือนเกิด สะสมแต้มหรือคูปองส่วนลด เป็นต้น 

ข้อเสียของการทำ Omni Channel 

เนื่องจาก Omni Channel คือระบบที่เชื่อมต่อทุกช่องทางการขายเข้าด้วยกันก็จริง แต่หากคุณไม่สามารถรับมือและบริหารจัดการได้ อาจจะทำให้ภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของร้านค้าลดลงได้ นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการลงทุนในด้านระบบเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถตามทันการพัฒนาแพลตฟอร์มที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างสูง

แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะ MyCloud ได้พัฒนาโซลูชันที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องกังวลเรื่องการลงทุน เพราะเราได้พัฒนาและออกแบบระบบที่เหมาะสำหรับร้านค้าออนไลน์ทุกร้าน Omnichannel Management ของเรา รองรับการเชื่อมต่อทุกช่องทางการขาย ได้ทั้ง E-Commerce, Social Commerce, Website หรือแม้แต่ช่องทางออฟไลน์ต่าง ๆ ไว้ในที่เดียวกัน พร้อมฟีเจอร์รับออเดอร์ ตัดสต็อกสินค้าและอัปเดตสต็อกแบบเรียลไทม์ทุก ๆ 3 นาที เพื่อให้การขายของคุณเป็นไปได้อย่างราบรื่น และรวดเร็ว 

ขั้นตอนการทำการตลาดแบบ Omni Channel 

การทำการตลาดแบบ Omni Channel ไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณเข้าใจและทำตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ มาดูกันว่าขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้การทำการตลาดแบบ Omni Channel ประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง  

1. เลือกช่องทางที่เหมาะสม 

การเลือกช่องทางที่เหมาะสมถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการทำการตลาดแบบ Omni Channel เนื่องจากแต่ละช่องทางมีลักษณะเฉพาะและกลุ่มผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน การเลือกช่องทางควรเริ่มจากการวิเคราะห์พฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่านิยมใช้แพลตฟอร์มใดในการติดต่อสื่อสารและทำธุรกรรมมากที่สุด เช่น หากกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใช้งาน Facebook เป็นหลัก การให้ความสำคัญกับการทำการตลาดผ่าน Facebook และการเชื่อมโยงกับช่องทางอื่น ๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น

นอกจากนี้ การพิจารณางบประมาณและทรัพยากรที่มีอยู่ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากแต่ละช่องทางต้องการการลงทุนทั้งในแง่ของเงินทุน เวลาและบุคลากรที่แตกต่างกัน การวางแผนทรัพยากรอย่างเหมาะสมจะช่วยให้สามารถบริหารจัดการทุกช่องทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง 

2. เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลของลูกค้า   

การเริ่มต้นทำการตลาดแบบ Omni Channel คือต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ผ่านการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานจากทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นหน้าร้าน เว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจว่าลูกค้าแต่ละกลุ่มมีความต้องการอะไร ชอบใช้ช่องทางไหนในการติดต่อหรือซื้อสินค้า และมีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออย่างไรบ้าง ทำให้สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาธุรกิจไปในทางที่ดีขึ้นได้ในอนาคต   

3. วางแผน Customer Journey ให้เหมาะสม 

เมื่อเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการออกแบบ Customer Journey ที่เหมาะสม โดยต้องคำนึงถึง Touchpoints ทั้งหมดที่ลูกค้าจะมีโอกาสพบเจอแบรนด์ของคุณ ตั้งแต่การรู้จักแบรนด์ครั้งแรก การค้นหาข้อมูล การตัดสินใจซื้อ ไปจนถึงการบริการหลังการขายทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ อย่างไรก็ตามการวางแผนที่ดีจะช่วยให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ราบรื่นและสอดคล้องกันในทุกช่องทางอีกด้วย   

4. เชื่อมต่อทุกช่องทางเข้าด้วยกัน 

การเชื่อมโยงทุกช่องทางเข้าด้วยกันเป็นหัวใจสำคัญของการทำ Omni Channel คือต้องอาศัยการบูรณาการระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นระบบจัดการสต็อกสินค้า ระบบการชำระเงินและระบบบริการลูกค้า การเชื่อมต่อที่ดีจะทำให้ข้อมูลถูกอัปเดตแบบ Real-time ในทุกช่องทาง ช่วยให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่องและไม่สะดุด  

5. ปรับปรุงสินค้าและบริการอยู่เสมอ 

การพัฒนาและปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำ Omni Channel Marketing ด้วยการติดตามและวิเคราะห์ผลตอบรับจากลูกค้าในทุกช่องทาง ทั้งจากการรีวิว ข้อเสนอแนะ และพฤติกรรมการใช้งาน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของแบรนด์ นำไปสู่การพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น  

ตัวอย่างของการทำการตลาดแบบ Omni Channel

ยกตัวอย่างเช่น มีลูกค้าที่ต้องการซื้อนาฬิกา แต่ไม่มั่นใจในเรื่องของวัสดุที่ทำ และยังไม่แน่ใจว่าจะเข้ากับตัวเองไหม จึงอยากไปดูของจริงก่อน ลูกค้าจึงติดต่อร้านผ่านทางเฟสบุ๊คเพจ เพื่อถามว่านาฬิการุ่นนี้มีขายที่สาขาใกล้บ้านไหม จากนั้นทางแอดมินเพจจึงทำการเช็คสต็อกสินค้า โดยการสอบถามไปยังสาขานั้น ๆ ว่ามีนาฬิกาตามที่ลูกค้าต้องการหรือไม่ โดยได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นของลูกค้าไป เช่น ชื่อลูกค้า และนาฬิการุ่นที่ลูกค้าต้องการไปลอง

เมื่อลูกค้าไปถึงสาขานั้นเพียงแค่บอกชื่อกับพนักงาน ก็จะมีพนักงานที่รับเรื่องไว้เข้ามาดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับนาฬิกาแบบที่ลูกค้าต้องการ แต่ว่าลูกค้าก็ยังไม่ได้ตัดสินใจซื้อเดี๋ยวนั้น เพราะอยากหาข้อมูลเพิ่มเติมและรุ่นอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง ทางร้านจึงแนะนำโปรโมชั่นให้ลูกค้าเพิ่มเพื่อนใน Line Official Account เพื่อที่จะได้รับคูปองส่วนลดและติดตามข่าวสารของร้านค้า และสามารถใช้คูปองได้กับทุกสาขาและทุกช่องทางการสั่งซื้อ จากนั้นเมื่อลูกค้าตัดสินใจได้แล้วว่าจะซื้อ จึงติดต่อและชำระเงินผ่านช่องทาง Line ในที่สุด

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ลูกค้าคนนี้ได้ใช้ช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ในการดูรายละเอียดข้อมูลของสินค้า และสอบถามพูดคุยกับทางร้าน จนถึงไปลองดูของจริงกับทางหน้าร้าน ซึ่งทางร้านก็มีการประสานงานกันของแต่ละสาขา และเชื่อมโยงของข้อมูลลูกค้าจากออนไลน์ไปยังออฟไลน์หรือหน้าร้าน ทำให้การบริการไม่มีสะดุด สามารถสร้างความพอใจให้กับลูกค้าจนตัดสินใจซื้อได้ ซึ่งการที่เรามีช่องทางที่ลูกค้าสามารถเข้ามาดูข้อมูลได้หลากหลายด้วยการทำการตลาดแบบ Omni Channel นั้นเป็นเรื่องที่ดีต่อภาพลักษณ์ของร้านค้าอีกด้วย

แล้วการ Retarget เกิดขึ้นตอนไหน? ยังไง? ในการซื้อขายจริง เมื่อลูกค้าเพิ่มเพื่อนในไลน์แล้ว ก็ใช่ว่าจะตัดสินใจซื้อทุกคน ผู้ขายก็สามารถนำข้อมูลของลูกค้าไป Retarget เพื่อเป็นการย้ำความสนใจโดยส่ง Ads หรือ โปรโมชั่นต่าง ๆ ไปยังลูกค้าหรือผู้ที่มีความสนใจ ซึ่งเราเรียกกันว่า กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งกลยุทธ์นี้อาจจะทำให้กลุ่มเป้าหมายกลายมาเป็นลูกค้าของเราในภายหลัง โดยเมื่อผู้ขายได้ลูกค้ามาแล้ว สิ่งที่ควรทำหลังจากนั้นคือติดตามผลว่าลูกค้าชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไรในการบริการ เพื่อนำไปปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแก้ไขในจุดที่บกพร่องของร้านค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างความพึงพอใจของลูกค้าที่อาจจะทำให้เกิดการ ซื้อซ้ำ (Replete Order) และนำไปสู่การแนะนำบอกต่อได้อีกด้วย

สรุปบทความ 

Omni Channel คือแนวทางการทำการตลาดที่สร้างโอกาสทางการค้าใหม่ ๆ ของผู้ประกอบการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ช่วยให้ธุรกิจออนไลน์ และออฟไลน์อยู่รอดในยุค Digital Disruption นี้ได้

MyCloud เชื่อเสมอว่า ใคร ๆ ก็สามารถขายของ และจัดการร้านค้าได้ง่าย ๆ หากคุณมีความฝันที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ก็ขอให้เชื่อมั่นและลงมือทำ เพราะเราพร้อมช่วยเหลือ และแก้ปัญหาหลังบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บ แพ็คสินค้าหรือการจัดส่งสินค้าที่ยุ่งยาก เราหาดีลที่คุ้มค่าและเหมาะสมที่สุดให้คุณ ไม่ว่าธุรกิจคุณจะขนาดเล็กหรือใหญ่ เราเป็นเสมือนหุ้นส่วนที่จะร่วมเดินทางเพื่อสานฝันอันยิ่งใหญ่ของคุณให้เป็นจริงได้ 

สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ https://www.mycloudfulfillment.com/quotation 

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร: 092-472-7742, 02-138-9920

อีเมล: [email protected] 

line: @mycloudgroup

MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต็อก

บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

ถาม-ตอบ แจ๊ค หม่า จากหัวใจเจ้าของ SME

“ถาม-ตอบ แจ๊ค หม่า” จากล่าสุดที่ผมได้เล่าเรื่อง คัมภีร์เต๋า “The TAO of Alibaba” ไปแล้ว วันนี้ผมจะเอาเรื่องที่ลึกขึ้น ที่ “แจ๊ค หม่า”แชร์ มาเล่าให้ฟังกันครับ ใครกำลังทำธุรกิจขนาดกลางแล้วมีปัญหาในการต่อสู้บริษัทใหญ่อยู่ อยากให้ลองอ่านดูครับ 😀 ในคลาสเรียนนั้น พวกผมได้ถามคำถามกับ พี่แจ๊ค ไปประมาน 3 – 4 ข้อ ที่เป็นคำถามที่คิดมาจากหัวใจเจ้าของ SME จริงๆ และพอได้ฟังพี่เค้าตอบ ผมก็คิดว่ามันคงจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่เป็นเจ้าของธุรกิจเหมือนกัน จึงเอามาเล่าตามนี้ครับ (แอบเอาคลิปที่อัดมาให้ด้วยครับ 55) [1] คำถาม : ในวันที่ Alibaba เริ่มต้น วันนั้นมียักษ์ใหญ่อย่าง eBay เข้ามาบุกตลาดจีน อยากรู้ว่าคุณรับมือกับคู่แข่งต่างชาติใหญ่ๆ แล้ว เอาชนะจนกลายเป็นยักษ์เสียเองได้ยังไงครับ? พี่แจ๊ค: วันนั้นเอาจริงๆ แล้ว ผมก็กลัวเหมือนกันนะ เค้ามีทรัพยากรพร้อม เทคโลยีที่ดีกว่า พนักงานที่เก่งกว่าเรา แต่ผมมั่นใจว่ามีอยู่อย่างเดียว ที่ผมเหนือกว่า […]

Marketplace หรือ Social Commerce ขายที่ไหนกำไรดีกว่า?

ในยุคที่การขายออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว คำถามสำคัญที่พ่อค้าแม่ค้าหลายคนมักจะถามตัวเองคือ “ควรขายผ่าน Marketplace หรือ Social Commerce เพื่อให้ได้กำไรมากที่สุด?” ก่อนที่จะรู้คำตอบนั้นก็ควรจะรู้ก่อนว่าแต่ละช่องทางนั้นมีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกันอย่างไร แล้วช่องทางไหนที่เหมาะกับธุรกิจของคุณมากที่สุด? บทความนี้จะช่วยเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน พร้อมคำแนะนำที่ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น! Marketplace คืออะไร? ข้อดีและข้อเสีย Marketplace คือแพลตฟอร์มที่รวบรวมผู้ขายและผู้ซื้อมาไว้ในที่เดียว เช่น Lazada, Shopee, และ TikTok Shop ซึ่งกลายเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ขายออนไลน์เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมากในเวลาอันสั้น ข้อดีของ Marketplace 1.เข้าถึงฐานลูกค้าขนาดใหญ่ เพราะมีจำนวนผู้ใช้งานที่เยอะมากและหลากหลายทั้งในแง่ของเพศ อายุ และความสนใจ ทำให้โอกาสที่สินค้าของคุณจะถูกพบเห็นและซื้อมีสูง อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ช่วยโปรโมตสินค้า เช่น การแสดงสินค้าในหน้าแนะนำ (Recommended), การจัดอันดับสินค้ายอดนิยม, หรือฟังก์ชัน Search ที่ช่วยให้ลูกค้าเจอสินค้าคุณง่ายขึ้น และมีผู้ใช้งานทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง คุณจึงสามารถขายสินค้าและทำการตลาดได้ต่อเนื่องโดยไม่จำเป็นต้องรอช่วงเวลาหรือกิจกรรมพิเศษ 2.ระบบจัดการที่สะดวก ระบบจัดการที่สะดวก มีเครื่องมือที่ช่วยในเรื่องของการชำระเงิน การจัดส่ง และโปรโมชั่น –การชำระเงิน (Payment) มีระบบชำระเงินอัตโนมัติที่รองรับการจ่ายเงินหลากหลายช่องทาง เช่น บัตรเครดิต/เดบิต, โอนผ่านธนาคาร, และ […]

ถาม-ตอบ แจ๊ค หม่า จากหัวใจเจ้าของ SME

“ถาม-ตอบ แจ๊ค หม่า” จากล่าสุดที่ผมได้เล่าเรื่อง คัมภีร์เต๋า “The TAO of Alibaba” ไปแล้ว วันนี้ผมจะเอาเรื่องที่ลึกขึ้น ที่ “แจ๊ค หม่า”แชร์ มาเล่าให้ฟังกันครับ ใครกำลังทำธุรกิจขนาดกลางแล้วมีปัญหาในการต่อสู้บริษัทใหญ่อยู่ อยากให้ลองอ่านดูครับ 😀 ในคลาสเรียนนั้น พวกผมได้ถามคำถามกับ พี่แจ๊ค ไปประมาน 3 – 4 ข้อ ที่เป็นคำถามที่คิดมาจากหัวใจเจ้าของ SME จริงๆ และพอได้ฟังพี่เค้าตอบ ผมก็คิดว่ามันคงจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ที่เป็นเจ้าของธุรกิจเหมือนกัน จึงเอามาเล่าตามนี้ครับ (แอบเอาคลิปที่อัดมาให้ด้วยครับ 55) [1] คำถาม : ในวันที่ Alibaba เริ่มต้น วันนั้นมียักษ์ใหญ่อย่าง eBay เข้ามาบุกตลาดจีน อยากรู้ว่าคุณรับมือกับคู่แข่งต่างชาติใหญ่ๆ แล้ว เอาชนะจนกลายเป็นยักษ์เสียเองได้ยังไงครับ? พี่แจ๊ค: วันนั้นเอาจริงๆ แล้ว ผมก็กลัวเหมือนกันนะ เค้ามีทรัพยากรพร้อม เทคโลยีที่ดีกว่า พนักงานที่เก่งกว่าเรา แต่ผมมั่นใจว่ามีอยู่อย่างเดียว ที่ผมเหนือกว่า […]

Marketplace หรือ Social Commerce ขายที่ไหนกำไรดีกว่า?

ในยุคที่การขายออนไลน์เติบโตอย่างรวดเร็ว คำถามสำคัญที่พ่อค้าแม่ค้าหลายคนมักจะถามตัวเองคือ “ควรขายผ่าน Marketplace หรือ Social Commerce เพื่อให้ได้กำไรมากที่สุด?” ก่อนที่จะรู้คำตอบนั้นก็ควรจะรู้ก่อนว่าแต่ละช่องทางนั้นมีข้อดีและข้อเสียที่ต่างกันอย่างไร แล้วช่องทางไหนที่เหมาะกับธุรกิจของคุณมากที่สุด? บทความนี้จะช่วยเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดเจน พร้อมคำแนะนำที่ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ง่ายขึ้น! Marketplace คืออะไร? ข้อดีและข้อเสีย Marketplace คือแพลตฟอร์มที่รวบรวมผู้ขายและผู้ซื้อมาไว้ในที่เดียว เช่น Lazada, Shopee, และ TikTok Shop ซึ่งกลายเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ขายออนไลน์เพราะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้จำนวนมากในเวลาอันสั้น ข้อดีของ Marketplace 1.เข้าถึงฐานลูกค้าขนาดใหญ่ เพราะมีจำนวนผู้ใช้งานที่เยอะมากและหลากหลายทั้งในแง่ของเพศ อายุ และความสนใจ ทำให้โอกาสที่สินค้าของคุณจะถูกพบเห็นและซื้อมีสูง อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ช่วยโปรโมตสินค้า เช่น การแสดงสินค้าในหน้าแนะนำ (Recommended), การจัดอันดับสินค้ายอดนิยม, หรือฟังก์ชัน Search ที่ช่วยให้ลูกค้าเจอสินค้าคุณง่ายขึ้น และมีผู้ใช้งานทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง คุณจึงสามารถขายสินค้าและทำการตลาดได้ต่อเนื่องโดยไม่จำเป็นต้องรอช่วงเวลาหรือกิจกรรมพิเศษ 2.ระบบจัดการที่สะดวก ระบบจัดการที่สะดวก มีเครื่องมือที่ช่วยในเรื่องของการชำระเงิน การจัดส่ง และโปรโมชั่น –การชำระเงิน (Payment) มีระบบชำระเงินอัตโนมัติที่รองรับการจ่ายเงินหลากหลายช่องทาง เช่น บัตรเครดิต/เดบิต, โอนผ่านธนาคาร, และ […]