Knowledge Center

ร้านค้าที่มีออเดอร์เยอะ ๆ เขามีระบบจัดการหลังบ้านอะไรมาช่วย ?

ขายของดี ออเดอร์เยอะ แต่จัดการไม่ไหว ทำไงดี ?

เคยสงสัยกันไหมครับว่าร้านดัง ๆ ออเดอร์เยอะ ๆ เขาจัดการกันยังไง ให้ส่งของถึงลูกค้าทุกคนโดยไม่ผิดพลาดและไม่ตกหล่น แน่นอนครับว่าหากใช้แรงงานคนในการทำงาน ย่อมมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ครับ อาจเพราะหลงลืม หรือเพราะการติดต่อสื่อสารที่คลาดเคลื่อนต่าง ๆ วันนี้ผมมีเทคนิคที่องค์กรส่วนใหญ่ใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาจัดการออเดอร์ไม่ไหว มาบอกเพื่อน ๆ นักธุรกิจครับ

Order Management คืออะไร

Order Management คือ การบริหารจัดการการสั่งซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งครอบคลุมทุกขั้นตอนในการสั่งซื้อ ตั้งแต่ลูกค้ากดสั่งสินค้า จนไปถึงขั้นตอนสุดท้ายคือการส่งของให้ถึงมือลูกค้า ซึ่งมีความซับซ้อนมาก เพราะในแต่ละขั้นตอนก็มีรายละเอียดและปัญหาแตกต่างกัน กระบวนการทำงานของแต่ละองค์กร อาจจะแตกต่างกัน โดยกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่

          1. Placement

          2. Fulfillment

          3. Inventory Management

เมื่อทำธุรกิจ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะพบกับปัญหาหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในการรับคำสั่งซื้อที่ตกหล่น ข้อมูลหรือสต๊อกสินค้าที่ผิดพลาดในคลังสินค้า หรือ การส่งสินค้าผิดให้ลูกค้า เรื่องเหล่านี้เหมือนจะไม่ใช่เรื่องร้ายแรงอะไร แต่สิ่งเหล่านี้ก็สามารถสร้างความไม่พอใจให้กับลูกค้าและอาจจะทำให้บริษัทเสียชื่อเสียงได้ เพื่อลดปัญหาต่าง ๆ ของการจัดการการสั่งซื้อสินค้า จึงเกิดระบบเพื่อช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น และผิดพลาดน้อยลง อย่างระบบ Order Management System ที่หลายท่านอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว

Order Management System คืออะไร? 

ระบบจัดการคำสั่งซื้อ (Order Management System: OMS) คือ ระบบซอฟต์แวร์ที่ช่วยบริหารจัดการเกี่ยวกับการขายและรายการสั่งซื้อสินค้า ให้สามารถติดตามรายการสั่งซื้อต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในระบบเดียว ซึ่งการทำงานของระบบจะเริ่มต้นเมื่อมีการกรอกคำสั่งซื้อประเภทต่าง ๆ ระบบจะจัดกลุ่มคำสั่งซื้อตามลูกค้า ลำดับความสำคัญ แจกจ่ายสต๊อกสินค้าตามคลังสินค้า และสร้างวันกำหนดส่งตามสัญญา 

โดยปัจจุบันระบบ OMS สามารถเชื่อมต่อกับระบบ API ทำให้สามารถรับออเดอร์จากลูกค้าได้จากหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการรับออเดอร์เอง หรือส่งข้อมูลมาจาก API Marketplace ต่าง ๆ อาทิเช่น Lazada Shopee หรือช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ที่ผู้ขายลงขายไว้ รวมถึงมีช่องทางการชำระเงินมากมาย ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ซื้อมากยิ่งขึ้น ในปัจจุบันนี้สำหรับธุรกิจที่ไม่มีระบบหรือหน้าเว็บเป็นของตัวเอง ก็สามารถหาเว็บไซต์ออนไลน์ที่ให้บริการ ระบบ OMS สำเร็จรูป เพื่อมาช่วยในด้านการจัดการออเดอร์เหล่านี้ได้ หรือหากคุณต้องการมีผู้ช่วยในการเก็บสต๊อกสินค้า จัดออเดอร์สินค้า รวมไปถึงการให้บริการแพ็ค และการจัดส่งสินค้าก็สามารถมองหาบริการ Fulfillment ดี ๆ เพื่อมาช่วยตอบโจทย์ธุรกิจของคุณได้ เพราะนั่นเป็นจุดประสงค์หลักของผู้ให้บริการ Fulfillment ในปัจจุบัน

ข้อดีของ Order Management System (OMS)

เมื่อมีระบบจัดการคำสั่งซื้อที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องของการจัดการคำสั่งซื้อและขั้นตอนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขาย ย่อมเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าและคำสั่งซื้อทั้งหมดไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน ทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างทั่วถึง ครบถ้วน และแม่นยำ ซึ่งส่งผลดีต่อการปรับปรุงการจัดการสินค้าคงคลัง การขายสินค้า และการตลาดเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อระบบจัดการเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น จัดการฐานข้อมูล ปรับปรุงโครงสร้างเว็บไซต์ เป็นต้น และการที่ระบบมีการบันทึกข้อมูลคำสั่งซื้อ สามารถเรียกดูประวัติคำสั่งซื้อของลูกค้าได้นั้นช่วยให้ผู้ประกอบการมองเห็นและเข้าใจลูกค้าได้ลึกมากยิ่งขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะใช้ข้อมูลเหล่านี้วิเคราะห์พฤติกรรมหรือความสนใจของลูกค้า เพื่อให้สามารถตอบสนองให้ตรงต่อความต้องการของลูกค้า สิ่งเหล่านี้ช่วยผู้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้ดีขึ้น และยังสร้างความมั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับประสบการณ์การซื้อที่ดีจากผู้ให้บริการ นี่จะเป็นการสร้างความประทับใจและนำไปสู่การสร้าง Brand loyalty ได้อีกด้วย การใช้ระบบจัดการคำสั่งซื้อ จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าการจัดการรายการซื้อขายของธุรกิจของคุณ จะดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น

นอกจากการจัดการออเดอร์จะมีระบบ OMS เป็นสำคัญแล้ว ยังมีการเชื่อมโยงกับระบบ TMS อีกด้วย 

Transportation Management System (TMS) ระบบการจัดการการขนส่ง

คือระบบจัดการการขนส่ง ที่จะช่วยบริหารและจัดการการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้ โดยจะครอบคลุมตั้งแต่การรับออเดอร์ จัดตารางการขนส่ง ส่งรายละเอียดให้กับคนขับ ไม่เพียงเท่านั้นทั้งบริษัทและลูกค้ายังสามารถติดตามสถานะการขนส่งได้แบบเรียลไทม์ ตั้งแต่การจัดส่งต้นทางไปยังปลายทาง และยังสามารถเชื่อมต่อกับ GPS ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย โดยจะรวมไปถึงการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้า และทุกทางในการขนส่งไม่ว่าจะเป็นทางรถบรรทุก เครื่องบิน หรือเรือก็ตาม ทั้งยังสามารถใช้งานร่วมกับระบบต่าง ๆ ได้ เช่น ระบบบาร์โค้ด (Barcode system) หรือ ระบบ RFID เป็นต้น 

ข้อดีของ Transportation Management System (TMS)

TMS นอกจากจะลดความซับซ้อนในการทำงานในเรื่องของการจัดการการขนส่งแล้ว ยังช่วยในเรื่องการประหยัดเวลา และลดค่าใช้จ่าย เพราะ TMS จะช่วยลดขั้นตอนการทำงานได้ เพราะทางระบบจะเก็บข้อมูลที่เป็น Big Data ที่สามารถเรียกดูได้ตลอดเวลา เช่น ข้อมูลลูกค้า สินค้า เส้นทางการขนส่ง ข้อมูลพนักงาน หรือข้อมูลของรถขนส่ง ทำให้ลดต้นทุนและเวลาในเรื่องเหล่านี้ไปได้ อีกทั้งทางบริษัทไม่ต้องมาจัดการในเรื่อง รถ บุคคลากร และเอกสารต่าง ๆ ด้วยตนเอง นอกจากนี้การทำงานของระบบ TMS จะจัดสรรตารางการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อทำงานผ่านระบบแล้วจะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ยาก เพราะจะมีการบันทึกข้อมูลทุกขั้นตอน ซึ่งถ้าหากเกิดความผิดพลาดก็จะมีหลักฐานในการตรวจสอบเสมอ

จะเห็นได้ว่าระบบ TMS นั้นมีข้อดีในเรื่องการประหยัดเวลา ต้นทุน และเกิดข้อผิดพลาดได้น้อยกว่าระบบเอกสาร (Manual) ซึ่งในการทำธุรกิจนั้นการเลือกระบบการขนส่งให้เหมาะสมกับขนาดของธุรกิจก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน

การทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ให้เราช่วยตอบโจทย์ธุรกิจคุณ ด้วยบริการอำนวยความสะดวกหลังบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดการออเดอร์ที่ยุ่งยาก MycloudFulfillment จัดการด้วยระบบการจัดการออเดอร์ของ MyCloud ที่เชื่อมต่อกับ API Marketplace หรือ เว็บไซต์ของคุณ สามารถรวบรวมทุกออเดอร์ทุกช่องทางไว้ในระบบเราที่เดียว ไม่ว่าจะเป็น Lazada Shopee หรือ JD.com และอีกมากมาย เราอัพเดทสต๊อกตรงกันทุก ๆ MarketPlace แบบ Real-Time อีกทั้งยังเชื่อมต่อกับ Seller Center และกด Ready to ship ให้อัตโนมัติ มั่นใจได้เลยว่าคุณจะไม่พลาดออเดอร์สำคัญ ๆ และยังเพิ่มโอกาสในการขายอีกด้วย นอกจากนี้เรามีบริการ เก็บ แพ็ค ส่ง ที่พร้อมช่วยธุรกิจของคุณให้ดำเนินไปอย่างไม่มีสะดุด!

สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 02-138-9920
อีเมล: [email protected]
line: @mycloudgroup
MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก
บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

3 วิธีสุดล้ำทำอย่างไร ให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ และบอกต่อ

 3 วิธีสุดล้ำทำอย่างไร ให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ และบอกต่อ               ร้านค้ายุคใหม่ ใส่ใจมากกว่าแค่เรื่องการขาย เพราะเน้นสร้างความสัมพันธ์และประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า เพื่อให้เกิดความประทับใจจนนำไปสู่การซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง และรักษาฐานลูกค้าเก่าที่มีให้เป็นลูกค้าประจำของเราต่อไป เพราะลูกค้าเก่าอาจมีการบอกต่อหรือแนะนำเพื่อน ๆ ของเขาให้มาเป็นลูกค้าของเราในอนาคตได้           แน่นอนว่าถ้าสินค้าดีมีคุณภาพ ใคร ๆ ก็อยากซื้อซ้ำ แต่อย่าลืมนะครับว่า ยุคนี้สมัยนี้ การแข่งขันสูงมาก ใครไม่พัฒนา หรือไปช้าไม่ทันเพื่อน รับรองครับว่ามีเจ้าอื่นมาซื้อใจลูกค้าของคุณไปต่อหน้าต่อตาเเน่นอน วันนี้ผมมีสามสิ่งหลัก ๆ ที่ ควรทำเพื่อให้ลุกค้าเดิมกลับมาซื้อของของเราซ้ำ และไปบอกต่อให้คนอื่น ๆ กลายมาเป็นลูกค้าใหม่ของเราคือ 1. Personalization 2. บริการหลังการขาย และ 3. Campaign บอกต่อ เพราะการสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายสามารถเพิ่มโอกาสในการปิดการขาย และสร้างกลุ่มลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์ได้ผลมากที่สุด ดังนั้น นี่อาจจะเป็นการตลาดที่คุณกำลังมองหาอยู่ครับ         การตลาดแบบ […]

โลจิสติกส์กุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจออนไลน์ (Logistics & Online Business)

โลจิสติกส์สำหรับธุรกิจออนไลน์           โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานมีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจออนไลน์เป็นอย่างมากในยุคที่เทคโนโลยี disrupt ให้พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ธุรกิจต่าง ๆ ต้องมีการปรับตัวอย่างมาก และต้องมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจอยู่เสมอ มีการใช้เทคโนโลยี และการจัดการโลจิสติกส์ ห่วงโซ่อุปทานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรให้สามารถเเข่งขัน หรืออยู่เหนือคู่แข่งทางธุรกิจ เพื่อเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในอดีตและปัจจุบัน           อุตสาหกรรมโลจิสติกส์เติบโตและเปลี่ยนแปลงไปพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ในยุคที่มี Technology มา disrupt ทำให้ธุรกิจออฟไลน์ เปลี่ยนมาลงทุนและแข่งขันบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น กลายเป็น ธุรกิจ E-Commerce ดังนั้นอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์จึงมีการพัฒนาตามไปด้วยอยู่เสมอ เมื่อตลาด E-Commerce เติบโตขึ้น ธุรกิจโลจิสติกส์ต่างแข่งขันกันพัฒนา ด้วยการเพิ่มบริการที่เข้าไปช่วยธุรกิจได้มากขึ้น ทั้งการนำข้อมูลด้านโลจิสติกส์และ supply chain เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาบริการ อาทิ การวางแผนเส้นทางการเดินรถ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้านขนส่ง กระจายสินค้า การใช้ GPS การปรับราคาบริการเพื่อลดต้นทุนให้ธุรกิจได้มากที่สุด หรือจุดเด่นด้านการขนส่ง จึงเน้นความเร็วเป็นหลักอีกด้วย […]

3 วิธีสุดล้ำทำอย่างไร ให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ และบอกต่อ

 3 วิธีสุดล้ำทำอย่างไร ให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำ และบอกต่อ               ร้านค้ายุคใหม่ ใส่ใจมากกว่าแค่เรื่องการขาย เพราะเน้นสร้างความสัมพันธ์และประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้า เพื่อให้เกิดความประทับใจจนนำไปสู่การซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง และรักษาฐานลูกค้าเก่าที่มีให้เป็นลูกค้าประจำของเราต่อไป เพราะลูกค้าเก่าอาจมีการบอกต่อหรือแนะนำเพื่อน ๆ ของเขาให้มาเป็นลูกค้าของเราในอนาคตได้           แน่นอนว่าถ้าสินค้าดีมีคุณภาพ ใคร ๆ ก็อยากซื้อซ้ำ แต่อย่าลืมนะครับว่า ยุคนี้สมัยนี้ การแข่งขันสูงมาก ใครไม่พัฒนา หรือไปช้าไม่ทันเพื่อน รับรองครับว่ามีเจ้าอื่นมาซื้อใจลูกค้าของคุณไปต่อหน้าต่อตาเเน่นอน วันนี้ผมมีสามสิ่งหลัก ๆ ที่ ควรทำเพื่อให้ลุกค้าเดิมกลับมาซื้อของของเราซ้ำ และไปบอกต่อให้คนอื่น ๆ กลายมาเป็นลูกค้าใหม่ของเราคือ 1. Personalization 2. บริการหลังการขาย และ 3. Campaign บอกต่อ เพราะการสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายสามารถเพิ่มโอกาสในการปิดการขาย และสร้างกลุ่มลูกค้าที่ภักดีต่อแบรนด์ได้ผลมากที่สุด ดังนั้น นี่อาจจะเป็นการตลาดที่คุณกำลังมองหาอยู่ครับ         การตลาดแบบ […]

โลจิสติกส์กุญแจสู่ความสำเร็จของธุรกิจออนไลน์ (Logistics & Online Business)

โลจิสติกส์สำหรับธุรกิจออนไลน์           โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานมีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจออนไลน์เป็นอย่างมากในยุคที่เทคโนโลยี disrupt ให้พฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ธุรกิจต่าง ๆ ต้องมีการปรับตัวอย่างมาก และต้องมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจอยู่เสมอ มีการใช้เทคโนโลยี และการจัดการโลจิสติกส์ ห่วงโซ่อุปทานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรให้สามารถเเข่งขัน หรืออยู่เหนือคู่แข่งทางธุรกิจ เพื่อเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในอดีตและปัจจุบัน           อุตสาหกรรมโลจิสติกส์เติบโตและเปลี่ยนแปลงไปพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ในยุคที่มี Technology มา disrupt ทำให้ธุรกิจออฟไลน์ เปลี่ยนมาลงทุนและแข่งขันบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น กลายเป็น ธุรกิจ E-Commerce ดังนั้นอุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์จึงมีการพัฒนาตามไปด้วยอยู่เสมอ เมื่อตลาด E-Commerce เติบโตขึ้น ธุรกิจโลจิสติกส์ต่างแข่งขันกันพัฒนา ด้วยการเพิ่มบริการที่เข้าไปช่วยธุรกิจได้มากขึ้น ทั้งการนำข้อมูลด้านโลจิสติกส์และ supply chain เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาบริการ อาทิ การวางแผนเส้นทางการเดินรถ การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยด้านขนส่ง กระจายสินค้า การใช้ GPS การปรับราคาบริการเพื่อลดต้นทุนให้ธุรกิจได้มากที่สุด หรือจุดเด่นด้านการขนส่ง จึงเน้นความเร็วเป็นหลักอีกด้วย […]