Knowledge Center

Red Ocean & Blue Ocean ในตลาดออนไลน์ของไทย

Red Ocean และ Blue Ocean Strategy คืออะไร?

          สงสัยกันไหมคะว่า Red Ocean และ Blue Ocean Strategy นั้นคืออะไร? แม้ว่าจะเคยได้ยินกันบ่อย ๆ แต่ก็ดูเป็นเรื่องไกลตัวใช่ไหมล่ะคะ สักทีวันนี้ MyCloud จะพาผู้อ่านทุกคนไปรู้จักกับ กลยุทธ์ Red Ocean และ Blue Ocean รวมถึงมองภาพรวมทั้งสองกลยุทธ์บนตลาดออนไลน์ของไทย อย่าง Marketplace ชื่อดังอย่าง Lazada และ Shopee รวมถึงช่องทางการขายออนไลน์อื่น ๆ อีกด้วย

Red Ocean Strategy (กลยุทธ์น่านน้ำสีแดง)

          คำนิยามของกลยุทธ์ทางการตลาดที่เข้มข้น เปรียบเสมือนกับสีแดง เนื่องมาจากการแข่งขันทางการตลาดสูง และมีคู่แข่งที่มีธุรกิจลักษณะคล้ายกันจำนวนมาก ไม่โดดเด่น ทำให้ต้องแข่งขันกันที่ด้านอื่น ๆ เพื่อดึงดูดผู้บริโภค โดยมักจะแข่งขันกันจนเป็นสงครามราคา หรือการทำโปรโมชันลดราคา เพื่อเอาชนะคู่แข่ง จาก Kim & Mauborgne ที่เป็นคนเดียวกับผู้ริเริ่มแนวคิด Blue Ocean Strategy โดยเป้าหมายหลักของกลยุทธ์ทางการตลาดแบบ Red Ocean คือการเอาชนะคู่แข่งทางการตลาดคนอื่น ๆ และใช้ประโยชน์จากความต้องการของผู้บริโภค (Demand) ที่มีมากอยู่แล้วในตลาดนั้น ๆ ”

          แพลตฟอร์มหรือตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ที่มีกลยุทธ์แบบ Red Ocean จะเป็นพื้นที่ตลาดที่มีอยู่แล้ว จึงมักจะมีกฎระเบียบ แบบแผน หรือข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมีผู้เล่นหลัก ๆ หรือที่เราเรียกอีกชื่อว่า “เจ้าตลาด” อยู่แล้ว

Blue Ocean Strategy (กลยุทธ์น่านน้ำสีน้ำเงิน)

          กลยุทธ์ทางการตลาดแบบ Blue Ocean Strategy นั้นไม่ใช่การแข่งขันที่เข้มข้นอีกต่อไป แต่เป็นการท้าทายคนทำธุรกิจด้วยการสร้างความต้องการของลูกค้าขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการที่คิดว่าลูกค้าต้องการ หรือต้องใช้อย่างแน่นอน ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจตลาด เรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้า กำหนดราคาที่รอบคอบ นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าจะสามารถดำเนินะุรกิจได้อย่างยั่งยืนกว่า เนื่องจากสินค้าและบริการไม่ใช่ของที่ลอกเลียนแบบ หรือสร้างขึ้นมาเพื่อเอาชนะคู่แข่ง แต่เป็นสิ่งที่คิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าธุรกิจโดยเฉพาะ ดังนั้นการแสวงหาตลาด หรือความต้องการใหม่ ๆ จึงเป็นหลักการของ Blue Ocean นั่นเอง

ทำไมต้อง แดง และ น้ำเงิน?

          ความเชื่อมโยงของสีคือแนวคิดหลักเบื้องหลังกลยุทธ์น่านน้ำสีน้ำเงินและสีแดงเหล่านี้ เนื่องจากสีแต่ละสีมีความหมายในตัวเอง โดยสีน้ำเงินจะหมายถึง ความสงบและผ่อนคลาย เป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคง และความเฉลียวฉลาด จึงถูกนำมาเปรียบกับน่านน้ำที่เต็มไปด้วยผลประโยชน์และโอกาสใหม่ ๆ มากมาย ในทางกลับกัน สีแดงนั่นแสดงถึงอารมณ์ที่รุนแรง จึงเป็นตัวแทนของตลาดหรือการตลาดที่มีลักษณะการแข่งขันที่เข้มข้น รุนแรงและมีความตึงเครียด สีทั้งสองสีจึงเป็นตัวแทนลักษณะเด่นของการตลาดที่แตกต่างกันออกไป

แพลตฟอร์มออนไลน์ของไทยเป็นอย่างไร?

          จากคำนิยามด้านบนพอมองภาพออกกันไหมคะ Red Ocean นั้นคือแพลตฟอร์มใดบ้างในไทย แน่นอนค่ะว่าต้องเปรียบได้กับ แพลตฟอร์มที่มีฐานลูกค้า หรือลูกค้าที่เข้ามาบนแพลตฟอรืมมีความต้องการซื้อ (Demand) สูงอยู่แล้ว อย่าง e-marketplace ไม่ว่าจะเป็น Lazada, Shopee, JD Central หรือ Zilingo เป็นต้น ส่วนน่านน้ำสีน้ำเงินที่เป็นการมองหาตลาดใหม่ ๆ นั้นต้องเริ่มมาจากความคิดที่แตกต่าง หรือจุดเด่นของสินค้าและบริการของคุณยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมพยายามนำเสนอคุณค่าใหม่ๆ ให้ลูกค้าซึ่ง เหมาะกับการขายบนแพลตฟอร์มของตนเองเช่น การมีเว็บไซต์ของแบรนด์ หรือการขายแบบ omni channel ที่เชื่อมต่อทุกช่องทางการขายของแบรนด์เอาไว้ ไม่ยึดติดกับการขายที่ช่องทางใดช่องทางหนึ่ง เป็นการสร้างพื้นที่ของแบรนด์ขึ้นมา เพราะนอกจากจะมีความโดดเด่น จดจำง่าย ยังสามารถกำหนด หรือออกแบบการติดต่อกับลูกค้า การซื้อ-ขาย และการบริการลูกค้าได้ตามต้องการอีกด้วย

ข้อดีข้อเสียของตลาดแบบ Red Ocean (Red Ocean Strategy Advantages & Disadvantages)

          ข้อดีของตลาดที่มีการตลาดแบบ Red Ocean Strategy ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นตลาดที่ได้รับการยอมรับแล้ว ทำให้มีลูกค้า หรือผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มมาก ทำให้สามารถเริ่มต้นขายได้ง่าย รวมถึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการสำรวจตลาดใหม่ ๆ หรือการเริ่มลงทุนที่มีความเสี่ยง

          มีข้อดีก็ต้องมีข้อเสีย และข้อเสียข้อแรกที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ เจ้าตลาดในแต่ละประเภทสินค้า หรือร้านดัง ร้านใหญ่บนแพลตฟอร์ม ที่มีคะแนนรีวิวมาก และได้เป็นร้านค้าแนะนำ เป็นต้น ซึ่งหากเป็นร้านค้าของคุณเองก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าคุณขายสินค้าแบบเดียวกัน แน่นอนว่าลูกค้าต้องเลือกซื้อสินค้าจากร้านที่น่าเชื่อถือกว่าอยู่แล้ว ดังนั้นหลาย ๆ ร้านบน marketplace ก็มักจะสู้กันด้วยสงครามราคานั่นเอง

ข้อดีข้อเสียของตลาดแบบ Blue Ocean (Blue Ocean Strategy Advantages & Disadvantages)

         ข้อดีของตลาดที่มีการตลาดแบบ Blue Ocean Strategy คือความยั่งยืนและผลกำไรของแบรนด์ที่มากกว่า นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค หรือองค์กรจริง ๆ เนื่องจากนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นจะช่วยตอบโจทย์ หรือแก้ปัญหาได้จริง ส่วนข้อเสียนั้นก็คือการเริ่มต้น เนื่องจากทุกอย่างใหม่หมด ไม่มีฐานลูกค้า จึงต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากในการเริ่ม และสร้างฐานลูกค้าขึ้นมาเอง

          ทั้งกลยุทธ์น่านน้ำสีแดงและสีน้ำเงินต่างก็มีข้อดีและข้อเสีย ดังนั้นเคล็ดลับเลือกพื้นที่ขาย หรือตลาดใดที่จะเหมาะกับคุณคือการรู้จักลูกค้าเป้าหมายของคุณเป็นอย่างดี รวมถึงเข้าใจความต้องการของลูกค้าเหล่านั้นด้วย เช่น ถ้าหากสินค้าและบริการของคุณเป็นความต้องการของตลาดอยู่แล้ว แต่เพิ่มเติมสินค้า ด้วยการพัฒนาคุณภาพให้ตอบโจทย์มากขึ้น หรือการเพิ่มคุณค่าด้วยบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การแพ็คสินค้าและการจัดส่งที่รวดเร็ว น่าประทับใจ คุณก็สามารถเข้าสู่น่านน้ำสีแดงได้และใช้ประโยชน์ตรงนี้ในการเรียนรู้จากคู่แข่งได้อีกด้วย แต่ถ้าหากสินค้าและบริการของคุณตอบโจทย์ความต้องการของผู้โภคยุคใหม่ เป็นสิ่งที่คิดว่าช่วยแก้ปัญหาหรือตอบสนองผู้บริโภคได้จริง ๆ ก็แน่นนอนว่าน่านน้ำสีฟ้าอันกว้างใหญ่คือคำตอบของคุณนั่นเอง 

สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 02-138-9920
อีเมล: [email protected]
line: @mycloudgroup
MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก
บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

การหยิบสินค้ามีกี่แบบ? FIFO, LIFO, FEFO แต่ละแบบต่างกันอย่างไร

เคยสงสัยกันไหมครับ แค่การหยิบสินค้าไปแพ็คส่งลูกค้า ต้องมีรูปแบบด้วยหรอ? ไปหาคำตอบกันได้เลยครับ!! จริง ๆ แล้วทุกขั้นตอนของการบริการ fulfillment มีความสำคัญทั้งหมดเลยครับ แต่บางคนอาจจะให้ความสำคัญไปที่ขั้นตอนการเก็บ การเเพ็ค และส่งมากกว่า จนลืมไปว่าหากขั้นตอนการหยิบสินค้าก่อนแพ็คผิดผลาดก็อาจเกิดปัญหาในขั้นตอนถัด ๆ มาได้ครับ ซึ่งก่อนหน้านี้ใน ขั้นตอนการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้า ผมได้ยกตัวอย่างวิธีการหยิบสินค้า ที่คลังสินค้าต่าง ๆ มักใช้กันไปแล้วนะครับ blog นี้ผมจึงอยากให้ทุกคนรู้จักรูปแบบการหยิบสินค้ากันบ้างครับ  การหยิบสินค้าแบบ FIFO, LIFO, และ FEFO FIFO FIFO หรือ First-In First-Out เหมาะกับร้านค้าที่ขายสินค้าที่มีวันหมดอายุเช่น เภสัชภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงร้านค้าที่มีสินค้าหลายชนิด หรือสินค้าประเภทอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน เปลี่ยนราคาอยู่บ่อย ๆ ซึ่งมีความหมายตรงตัวคือการหยิบสินค้าที่เก็บเข้าคลังก่อนออกไปก่อน เพื่อลดปัญหาสินค้าเสื่อมสภาพจากการเก็บเป็นเวลานานครับ ประโยชน์ของการหยิบสินค้าแบบ FIFO FEFO FEFO หรือ First Expire date First Out หมายถึง สินค้าใดที่จะหมดอายุก่อน จ่ายออกไปก่อน […]

การหยิบสินค้ามีกี่แบบ? FIFO, LIFO, FEFO แต่ละแบบต่างกันอย่างไร

เคยสงสัยกันไหมครับ แค่การหยิบสินค้าไปแพ็คส่งลูกค้า ต้องมีรูปแบบด้วยหรอ? ไปหาคำตอบกันได้เลยครับ!! จริง ๆ แล้วทุกขั้นตอนของการบริการ fulfillment มีความสำคัญทั้งหมดเลยครับ แต่บางคนอาจจะให้ความสำคัญไปที่ขั้นตอนการเก็บ การเเพ็ค และส่งมากกว่า จนลืมไปว่าหากขั้นตอนการหยิบสินค้าก่อนแพ็คผิดผลาดก็อาจเกิดปัญหาในขั้นตอนถัด ๆ มาได้ครับ ซึ่งก่อนหน้านี้ใน ขั้นตอนการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้า ผมได้ยกตัวอย่างวิธีการหยิบสินค้า ที่คลังสินค้าต่าง ๆ มักใช้กันไปแล้วนะครับ blog นี้ผมจึงอยากให้ทุกคนรู้จักรูปแบบการหยิบสินค้ากันบ้างครับ  การหยิบสินค้าแบบ FIFO, LIFO, และ FEFO FIFO FIFO หรือ First-In First-Out เหมาะกับร้านค้าที่ขายสินค้าที่มีวันหมดอายุเช่น เภสัชภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงร้านค้าที่มีสินค้าหลายชนิด หรือสินค้าประเภทอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน เปลี่ยนราคาอยู่บ่อย ๆ ซึ่งมีความหมายตรงตัวคือการหยิบสินค้าที่เก็บเข้าคลังก่อนออกไปก่อน เพื่อลดปัญหาสินค้าเสื่อมสภาพจากการเก็บเป็นเวลานานครับ ประโยชน์ของการหยิบสินค้าแบบ FIFO FEFO FEFO หรือ First Expire date First Out หมายถึง สินค้าใดที่จะหมดอายุก่อน จ่ายออกไปก่อน […]