Knowledge Center

Shopee ปรับระบบขนส่ง (Standard Delivery) ผู้ซื้อ-ผู้ขายเลือกไม่ได้เลยหรอ?

หลังปีใหม่มานี้ผู้ขายบน Shopee ยอดตกลงมาก ๆ เกิดจากโควิดรอบสอง หรือ การปรับเปลี่ยนวิธีจัดส่งสินค้าของ shopee กันแน่นะ? ร้านค้าหลาย ๆ ร้านบน Shopee เริ่มตั้งคำถามกันแล้วค่ะสำหรับยอดขายที่ตกลงกันแบบถ้วนหน้าจริง ๆ เท่าที่ทำการสำรวจมาผู้ขายบน Shopee ส่วนใหญ่ช่วงนี้บ่นยอดตกกันเป็นประจำ หรือไม่ก็มีลูกค้าทักมาถามเรื่องขนส่งแล้วก็ยกเลิกออเดอร์ทันที วันนี้ MyCloud พาไปวิเคราะห์กันแบบเจาะลึกดีกว่าค่ะ ว่าที่ยอดตกจริง ๆ แล้วเป็นเพราะอะไรกันแน่นะ

           สำหรับยอดขายที่ตกลงอาจเป็นเพราะเศรษฐกิจช่วงนี้ก็เป็นไปได้ค่ะ เพราะทั้งการขายแบบออฟไลน์ หรือหน้าร้านเองก็ยอดน้อยลงมาก ๆ รวมถึงการขายออนไลน์เองที่ดูเหมือนจะขายได้ดีกว่า แต่ก็ยังมียอดขายไม่น่าประทับใจสักเท่าไหร่ เราจึงทำการค้นหา และพบว่าสาเหตุอื่น ๆ 3 สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้ยอดขายบน Shopee ตกมีดังนี้ค่ะ

1. ค่าขนส่งที่แพงขึ้น (เลือกขนส่งเองไม่ได้)

          Shopee ได้เปลี่ยนระบบขนส่งเป็นแบบStandard Delivery มาตั้งแต่เดือน ธันวาคมที่ผ่านมา และทยอยเปลี่ยนให้กับทุกร้านค้าเท่ากันหมด ซึ่งผลเสียที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ค่าส่งแพงขึ้น โดยที่เลือกขนส่งไม่ได้อีกด้วย ร้านค้าที่โดนเปลี่ยนแล้วยอดตกเอง ก็รู้สึกไม่พอใจ และรู้สึกเสียเปรียบ แต่ Shopee ยืนยันว่าจะเปลี่ยนให้ทุกร้านค่ะ ทางด้านลูกค้าเองก็ไม่พอใจจนถึงกับเป็นประเด็นดราม่าในทวิตเตอร์ จนกลายเป็นเทรนด์ #Shopeeอย่าสาระแน ทวงเอาขนส่งแบบเดิมกลับมา งานนี้ Shopee ศึกษาดีๆนะคะว่าผลเสีย มากกว่าผลดี แล้วผู้ใช้จะย้ายแพลตฟอร์มกันหรือเปล่า

2. โค้ดส่งฟรีที่น้อยลง

          สังเกตกันไหมคะ โค้ดส่งฟรี ก็ไม่ฟรีจริง ๆ แถมยังน้อยลงอีก เพราะบน Shopee ลูกค้าใช้โค้ดส่งฟรีได้น้อยลง แถมตอนนี้กับบางร้านก็ใช้ไม่ได้ด้วย ในฐานะผู้ซื้อ แม้ว่าจะไม่ได้ทำให้ซื้อของน้อยลง แต่ซื้อ ” ช้า ” ขึ้นแน่นอนค่ะ แทนที่ลูกค้าจะตัดสินใจปุป ซื้อเลยก็กลายเป็นดองไว้ในตะกร้าก่อน ทำให้โอกาสในการขายของร้านค้าลดลงนั่นเองค่ะ

3. Covid-19

          ทั้งส่งผลดี และผลเสียต่อ E-Commerce จริง ๆ สำหรับไวรัสตัวร้ายที่ไม่มีใครอยาดให้เกิดนี้ เนื่องจากผู้คนมีเวลาออนไลน์มากขึ้น และหันมาซื้อสินค้า รวมถึง delivery ทางออนไลน์มากขึ้น แต่เมื่อตเองตกงาน หรือ work from home ทำให้รายได้ไม่เป็นแบบเดิม จึงเกิดเป็นภาวะรัดเข็มขัด ผู้คนจับจ่ายน้อยลง หรือคิดมากขึ้นเมื่อจะซื้ออะไรแต่ละที จริงไหมละคะ? นอกจากนี้ในฐานะผู้ขายเอง โดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวกับอาหาร และเครื่องดื่ม ยอดน้อยลงจนน่าใจหาย ดังนั้นปฎิเสธไม่ได้เลยค่ะ ว่า อีกสาเหตุหนึ่งก็มาจากเจ้า Covid-19 นี้แหล่ะค่ะ

ทีมงาน Shopee ชี้แจงว่าอย่างไร? สำหรับการปรับรูปแบบขนส่งใหม่นี้

          Shopee ทราบถึงฟีดแบคและกระแสวิพากย์วิจารณ์ที่เกิดขึ้นนะคะ และได้ออกมาชี้แจงถึงสาเหตุที่ต้องปรับรูปแบบขนส่งนี้ เพื่อให้เป็นมาตราฐานมากขึ้น โดยขนส่งจะถูกกำหนดให้โดย Shopee เองอัตโนมัติ

คำถามที่ตามมาคือ อะไรคือ “เหมาะสม” สำหรับ Shopee?

          Shopee เผยว่าใช้เกณฑ์พิจารณาจากพื้นที่ ที่ให้บริการของบริษัทขนส่งที่เหมาะสมกับที่อยู่ในการจัดส่งของร้านค้า รวมถึงลักษณะของสินค้าที่ร้านค้าขาย ซึ่งรูปแบบการขนส่งแบบมาตรฐานที่ Shopee กำหนด จะถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

1. Standard Delivery – Normal (การขนส่งแบบมาตรฐาน)

2. Standard Delivery – Bulky (การขนส่งสำหรับสินค้าขนาดใหญ่)

3. Standard – Thailand Post EMS (การขนส่งแบบ EMS โดยไปรษณีย์ไทย)

4. Economy – Thailand Post Registered Mail (การขนส่งแบบลงทะเบียน โดยไปรษณีย์ไทย)

5. Other Logistic ซึ่งเป็นการขนส่งแบบอื่นๆ เช่น Seller own fleet หรือ Same Day Delivery เป็นต้น

           สำหรับผู้ขายที่ต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับการจัดส่งดังกล่าว สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ http://internal.edu.shopee.io/internal-edu/article/1179 จาก Shopee หรือติดต่อ Call Center ได้ที่ 02-017-8399 และ Email : [email protected] ได้เลยค่ะ 

ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อสินค้ามากขึ้น เนื่องจากไม่อยากได้ขนส่งที่กำหนด

          เมื่อต้องออกค่าจัดส่งเอง ก็อยากเลือกขนส่งด้วยตัวเองจริงไหม ด้านผู้ซื้อเองจึงไม่พอใจกับการขนส่งที่ Shopee จัดให้ และยกเลิกออเดอร์ในที่สุด ส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้าบน Shopee โอดครวญกันใหญ่ นั่นก็เป็นเพราะขนส่งในแต่ละพื้นที่บริการไม่เหมือนกันค่ะ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เอง สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพและทัศนคติของผู้ซื้อที่มีต่อขนส่งเจ้าต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ใช่เพียงแค่ผู้ซื้อเทแพลตฟอร์มนี้เท่านั้นนะคะ ในอนาคตหากไม่มีการปรับปรุง ผู้ขายเองก็คงจะมองหาช่องทางอื่น ๆ ในการขายเช่นกัน ดังนั้น Shopee และ ขนส่งต่าง ๆ ต้องปรับปรุงจุดนี้ด่วน ๆ เลยค่ะ 

ผู้ขายทำอย่างไรดี?

          ผู้ขายเองต่างก็หาทางออกกันยกใหญ่ค่ะ ในกลุ่มผู้ขายบางคนก็แนะนำว่าให้ทำการ เปิดขนส่งร้านค้าให้เหลือเจ้าเดียว เพื่อที่ว่าเมื่อมีการสุ่มขนส่ง (หรือที่ Shopee เรียกว่าการขนส่งที่เหมาะสม) จะได้ไม่เจอขนส่งอื่น บางร้านค้าก็ทำแล้วได้ผล แต่บางร้านก็ไม่ได้นะคะ น่าจะต้องรอให้ทาง Shopee ออกมาแก้ปัญหาหรือชี้แจงมากกว่านี้ เพื่อเราจะได้เห็นแนวทาง และปรับตัวกันต่อไป อย่างไรก็ตามจำกันได้ไหมคะ ข้อดีข้อเสียของการขายสินค้า ในช่องทางต่าง ๆ ที่ MyCloud เคยได้ให้ข้อมูลไป ว่าหากเรายึดติดกับช่องทางใดช่องทางหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อช่องทางเหล่านั้นมีปัญหา หรือปรับเปลี่ยนก็จะส่งผลกระทบกับการขายของเราโดยตรง ดังนั้นหากขายใน marketplace ต่อไปในอนาคตอาจจะ control ตัวเลือกได้น้อยลงเรื่อย ๆ เพราะเราต้องอาศัยอยู่บนแพลตฟอร์มของเขาอยู่ดี ดังนั้น MyCloud แนะนำให้หาช่องทางการขายเพิ่มเติมที่เป็นของเราเอง และไม่ยึดติดกับช่องทางใดช่องทางหนึ่ง เพราะนอกจากจะส่งผลดีทางด้าน เปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้าถึงเรา และเราเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นแล้ว ยังทำให้เรายังสามารถขายสินค้าบนช่องทางออนไลน์ได้ต่อไปอย่างยั่งยืน แม้เกิดปัญหาบนแพลตฟอร์มอื่น ๆ นั่นเอง

ขอขอบคุณภาพจาก: Pantip.cpm / Freepik.com

สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 02-138-9920
อีเมล: [email protected]
line: @mycloudgroup
MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก
บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

การทำธุรกิจแบบ B2C B2B และ B2B2C ต่างกันยังไง?

การทำธุรกิจแบบ B2C B2B และ B2B2C ปัจจุบันนี้ธุรกิจส่วนใหญ่นั้นมักจะเจาะกลุ่มตลาดออนไลน์ และให้ความสำคัญกับธุรกิจ E-commerce มากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบในการทำธุรกิจ จากเดิมที่มักจะเห็นธุรกิจแบบ B2C จนชินตา เปลี่ยนมาเป็น ธุรกิจแบบ B2B และ B2B2C เรามาทำความรู้จักธุรกิจทั้งสามแบบ ว่าคืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ? กันดีกว่าครับ        B2C คืออะไร B2C หรือ Business-to-Customer คือธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการระหว่างเจ้าของธุรกิจ(B) และผู้บริโภครายบุคคล(C) เป็นประเภทธุรกิจ E-commerce ที่มีความสัมพันธ์ระยะสั้นระหว่างเจ้าของธุรกิจและผู้ซื้อโดยตรง ซึ่งปัจจุบันธุรกิจประเภทนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เนื่องจากมีการเข้าถึงระบบออนไลน์ และเว็บไซต์ได้ง่าย ตัวอย่างธุรกิจ B2C ได้แก่ประเภทสินค้า เช่น อาหาร, เสื้อผ้า และ ประเภทบริการ เช่น สายการบิน, โรงแรม เป็นต้น B2B คืออะไร B2B หรือ Business-to-Business คือการทำการค้าระหว่างธุรกิจทำกับธุรกิจด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุดิบ การผลิตสินค้า […]

การทำธุรกิจแบบ B2C B2B และ B2B2C ต่างกันยังไง?

การทำธุรกิจแบบ B2C B2B และ B2B2C ปัจจุบันนี้ธุรกิจส่วนใหญ่นั้นมักจะเจาะกลุ่มตลาดออนไลน์ และให้ความสำคัญกับธุรกิจ E-commerce มากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบในการทำธุรกิจ จากเดิมที่มักจะเห็นธุรกิจแบบ B2C จนชินตา เปลี่ยนมาเป็น ธุรกิจแบบ B2B และ B2B2C เรามาทำความรู้จักธุรกิจทั้งสามแบบ ว่าคืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ? กันดีกว่าครับ        B2C คืออะไร B2C หรือ Business-to-Customer คือธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการระหว่างเจ้าของธุรกิจ(B) และผู้บริโภครายบุคคล(C) เป็นประเภทธุรกิจ E-commerce ที่มีความสัมพันธ์ระยะสั้นระหว่างเจ้าของธุรกิจและผู้ซื้อโดยตรง ซึ่งปัจจุบันธุรกิจประเภทนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เนื่องจากมีการเข้าถึงระบบออนไลน์ และเว็บไซต์ได้ง่าย ตัวอย่างธุรกิจ B2C ได้แก่ประเภทสินค้า เช่น อาหาร, เสื้อผ้า และ ประเภทบริการ เช่น สายการบิน, โรงแรม เป็นต้น B2B คืออะไร B2B หรือ Business-to-Business คือการทำการค้าระหว่างธุรกิจทำกับธุรกิจด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุดิบ การผลิตสินค้า […]