Knowledge Center

ไขข้อสงสัย KPI กับ OKRs ต่างกันอย่างไร ?

          ไขข้อสงสัย KPI กับ OKRs ต่างกันอย่างไร ?  

    OKRs ที่หลาย ๆ บริษัทกำลังให้ความสนใจ เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดจริงหรือไม่? แล้วเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลที่บริษัทต่าง ๆ ใช้กันอย่าง KPI หรือเปล่า? จากนั้นก็เริ่มตั้งคำถามกันล่ะครับว่าสรุปตัวไหนได้ผลดีกว่ากัน? หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ยิ่งคิ้วขมวดไปกันใหญ่ เพราะยังไม่ค่อยสนิทกับทั้ง 2 อย่างเลย งั้นวันนี้ ผมจะพาไปรู้จักกับ KPI และ OKRs ฉบับเข้าใจง่าย ว่ามันคืออะไร และมีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงมันจะช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้นได้อย่างไรกันครับ

       KPI คืออะไร?

          KPI ย่อมาจาก Key Performance Indicator เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จหรือความก้าวหน้า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินการขององค์กร หรือแม้แต่ประเมินการทำงานของตัวบุคคลว่ามีศักยภาพเพียงใด โดยเทียบผลการทำงานกับมาตรฐานหรือเป้าหมายที่ได้ตกลงกันไว้ ซึ่งถือว่าเป็นตัวชี้วัดที่น่าเชื่อถือมากครับ เพราะผลที่ออกมาจะอยู่ในรูปของตัวเลขหรือเป็นรูปธรรมที่เห็นได้ชัดและสามารถอ้างอิงได้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเจ้า KPI ตัวนี้เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจ เพราะหากประสิทธิภาพในการทำงานมีมาก หรือมีเท่ากับเกณฑ์เป้าหมายที่กำหนดไว้ก็แสดงว่าการทำงานนั้นประสบความสำเร็จบรรลุผลครับ

       OKRs คืออะไร?

          OKRs ย่อมาจาก Objectives and Key Results เป็นวิธีการตั้งเป้าหมายไปสู่ความสำเร็จขององค์กร โดยมีวัตถุประสงค์หลัก (Objectives) ที่จะมีความสอดคล้องกันในทุก ๆ ระดับในองค์กร ตั้งแต่ระดับผู้บริหารไปจนถึงระดับพนักงาน โดยที่ผู้บริหารระดับสูงจะตั้ง OKRs ระดับองค์กรขึ้นมาก่อน จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้บุคลากรในระดับต่าง ๆ รวมถึงพนักงาน ตั้ง OKRs ทั้งของตนเองและหน่วยงานตนเอง ที่สอดคล้องกับ OKRs ของทั้งองค์กร เป็นระบบที่แสดงให้เห็นถึง Teamwork เพราะทุกฝ่ายประสานงานกัน เพื่อไปบรรลุเป้าหมาย และมีผลลัพธ์หลัก (Key Results) คือการกำหนดตัววัดผลที่เป็นวิธีการที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ โดยจะต้องปฏิบัติไปในทางเดียว เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว

       OKR ต่างจาก KPI อย่างไร?

คำถามสำคัญที่คนส่วนใหญ่มักสงสัย คือ KPI กับ OKRs มีความแตกต่างกันอย่างไร ผมขอสรุปความต่างที่เห็นได้ชัดตามนี้ครับ 

KPI

– เป้าหมายของตัวชี้วัดถูกตั้งขึ้นโดยองค์กรเป็นหลัก

– ตัวชี้วัดมักจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง เมื่อตกลงกันแล้วจะคงระบบเดิมไว้

– มีผลโดยตรงต่อผลตอบแทนที่พนักงานได้รับ หรือที่เราเรียกว่า Compensation KPI

– สามารถควบคุมผลลัพธ์ได้ทั้งหมด เพราะจะเป็นตัวชี้วัดที่มีผลเป็นตัวเลขที่ชัดเจน

– KPI มักจะไม่ค่อยมีการทำงานประสานกัน มักจะเน้นแต่เฉพาะ KPIs ของตัวเอง

– การออกแบบจะเน้นในรูปแบบของ Top-Down เป็นหลัก คือผู้บริหารระดับสูงจะออกแบบตัววัดระดับองค์กร จนไปถึงระดับพนักงานด้วยตนเอง

OKRs

– พนักงานมีส่วนร่วมหรือเป็นคนตั้งเป้าหมาย OKRs ขององค์กร

– ท้าทายระบบการทำงานแบบเดิม และสามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลาจึงทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ได้ง่ายกว่า

– ไม่มีผลต่อผลตอบแทนของพนักงานในแต่ละบุคคล

– ทีมสามารถควบคุมผลลัพธ์ของ OKR ได้เพียงบางส่วน เพราะเป็นการตั้งเป้าหมายให้สูงไว้ก่อน

– OKRs จะทำให้เกิด Teamwork มากกว่า ทุกฝ่ายร่วมมือกันทำงาน

– การออกแบบจะเป็นรูปแบบผสมระหว่าง Top-Down กับ Bottom-Up ผู้บริหารระดับสูงจะตั้ง OKRs ระดับองค์กรขึ้นมาก่อน จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้บุคลากรในระดับต่าง ๆ รวมถึงพนักงาน ตั้ง OKRs ที่สอดคล้องกันทั้งองค์กร

       สรุปจุดเด่นของ KPI และ OKRs

          อ่านมาถึงตรงนี้คงจะพอเห็นภาพกันแล้วใช่ไหมว่า KPI และ OKRs เหมือน และต่างกันอย่างไร กล่าวโดยสรุปก็คือ ทั้งสองตัวมีหน้าที่ในการวัดผลของการทำงานเหมือนกัน แต่KPI เป็นการกำหนดเป้าหมายจากผู้บริหารมาสู่พนักงานในลักษณะ top down แต่มีข้อดีตรงที่สามารถวัดผลได้อย่างชัดเจนและผลออกมาเป็นตัวเลขซึ่งสามารถนำไปเปรียบเทียบ คำนวณต่อได้ง่าย ซึ่งแตกต่างจาก OKRs ที่มีความหลากหลายและเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดแลกเปลี่ยนเป้าหมาย ในลักษณะ two way ซึ่งตรงจุดนี้ถือว่าได้เปรียบเพราะผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับตัวงานมากกว่า ย่อมมองเห็นปัญหา ทราบปัญหาที่แท้จริงขององค์กร และตั้งเป้าหมายเพื่อไปเติมเต็มจุดบอด หรือสิ่งที่ยังขาดไปขององค์กร เพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างยั่งยืน ซึ่งจุดเด่นเหล่านี้ไปโดนใจหลายองค์กรระดับโลก เช่น Google, Twitter, Intel, Uber หรือผู้ให้บริการเครือข่ายใหญ่ ๆ อย่าง AIS และ DTAC ให้เลือกใช้ OKRs ด้วยเหมือนกันครับ

          การวัดผลหรือการประเมินผลในการทำงานนั้น ส่งผลดีต่อองค์กรมามากมายนับไม่ถ้วน องค์กรควรวัดประสิทธิภาพของการทำงาน หรือผลลัพธ์ที่ได้ เพื่อการวางแผนกลยุทธ์หรือแนวทาง.ในการทำงานต่อไป ซึ่งนอกจากจะมีประโยชน์กับบริษัทที่ได้วัดความสามารถของพนักงานแล้ว พนักงานเองก็ยังได้เห็นภาพรวมการทำงานที่ผ่านมา แล้วหาจุดที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขตัวเองให้ดีขึ้นอีกด้วยครับ

สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 02-138-9920
อีเมล: [email protected]
line: @mycloudgroup
MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก
บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

บริการแพ็คสินค้า รับแพ็คของพร้อมจัดส่ง ทำไมต้องเลือก MyCloud?

 บริการแพ็คสินค้า รับแพ็คของพร้อมจัดส่ง ทำไมต้องเลือก MyCloud? มองหา Fulfillment ที่มีบริการแพ็คสินค้าอยู่หรือเปล่า? การแพ็คบรรจุภัณฑ์มาตรฐานนั้นก็ถือว่าเป็นพื้นฐานของการแพ็คสินค้าเพื่อส่งให้ลูกค้า และในปัจจุบันก็มีบริการ fulfillment ที่หลากหลาย แต่เมื่อเทียบกับความยืดหยุ่นปรับแต่งได้ และบริการแพ็คพิเศษที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าสร้างความประทับใจสูงสุดให้กับลูกค้าแล้ว คุณต้องเลือก MyCloudFulfillment เพราะเรามีจุดเด่นในบริการแพ็คสินค้าพิเศษ หากคุณกำลังแพ็คสินค้าด้วยตัวเอง หรือจ้างแพ็ค ปัญหาที่คุณต้องเจอมีดังนี้ค่ะ ปัญหาที่ผู้ขายพบเมื่อแพ็คเอง หรือจ้างคนแพ็คสินค้า 1. แรงงานแพ็คสินค้าไม่เพียงพอ ร้านค้าเมื่อมีออเดอร์เข้ามามากขึ้น ทำให้ไม่สามารถแพ็คสินค้าทั้งหมดส่งลูกค้าได้ทัน ต้องจัดหาแรงงานมาช่วยแพ็ค ซึ่งก็หมายถึงต้องดูแล จัดการพนักงานแพ็คที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย 2. รูปแบบการแพ็คสินค้่าที่จำกัด ไม่สามารถ customize ได้ เมื่อจ้างแพ็ค หรือแพ็คสินค้าด้วยตัวเองคุณไม่มีเวลามากพอที่จะสร้างสรรค์การแพ็คเฉพาะในแต่ละกล่องได้ รวมถึงแรงงานที่จ้างมาก็ไม่มีประสบการณ์ หรือสามารถแพ็คได้อย่างจำกัด 3. แพ็คสินค้าผิด หรือแพ็คไม่ครบตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการ ปัญหาแพ็คสินค้าผิด แพ็คไม่ครบ เป็นปัญหาหลักที่ทุกร้านออนไลน์ต้องเจอค่ะ เมื่อแพ็คผิด ก็ส่งไปให้ลูกค้าแบบผิด ๆ ต้องเสียเวลาให้ลูกค้าส่งสินค้ากลับคืนมา และส่งสินค้าใหม่ หรือสินค้าที่ตกหล่นกลับไปให้ลูกค้าอีก เสียทั้งค่าใช้จ่ายและส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าอีกด้วย 4. ปัญหาการจัดเซ็ท และแพ็คสินค้าโปรโมชันต่าง ๆ เมื่อร้านค้าต้องการจัดเซ็ท […]

เจาะลึก ส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จาก Shopee ผู้ขายควรเข้าร่วมหรือไม่?

โปรแกรม ส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จาก Shopee  นักช็อปเคยสงสัยไหม ทำไมขึ้นว่าส่งฟรี แต่ยังต้องออกค่าส่ง? ผู้ขายต้องรับผิดชอบค่าส่งเองหรือเปล่า? วันนี้ MyCloud มีคำตอบให้ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับโปรแกรมส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จาก Shopee เพื่อให้ผู้ขายได้ทำความรู้จักข้อดี ข้อเสียของโปรแกรม และตัดสินใจเข้าร่วมโปรแกรมได้ต่อไป สำหรับโปรแกรมส่งฟรีนั้น Shopee จะสนับสนุนค่าส่งฟรี ให้กับลูกค้าที่ใช้โค้ดส่วนลด กับร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาทสูงสุดจำนวน 40 บาทต่อออเดอร์ ซึ่งในกรณีที่สินค้าของคุณมีน้ำหนักเบาค่าส่งไม่เกิน 40 บาท ก็จะได้ส่งฟรี 100% ไปเลยค่ะ แต่ถ้าหากสินค้าหนัก หรือมีขนาดใหญ่ก็จะต้องออกค่าส่วนต่างเอง ซึ่งในส่วนนี้ค่าจัดส่งส่วนต่างจะถูกคิดไปกับจำนวนเงินที่ผู้ซื้อต้องชำระนั่นเอง ดังนั้นหายสงสัยกันได้แล้วนะคะว่าทำไมชื่อส่งฟรี แล้วไม่ฟรี!! ผู้ซื้อถูกใจ ผู้ขายได้ประโยชน์  สำหรับผู้ซื้อจะได้สินค้าจากร้านที่เ้ขาร่วมโปรแกรม ทำให้ประหยัดค่าส่ง ซึ่งสินค้าจากร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรีจะมีแถบของตัวเองโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ซื้อเข้าไปเลือกซื้อได้สะดวกมากขึ้น ส่วนร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรม ส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จะได้รับสิทธิพิเศษดังต่อไปนี้ 1. เพิ่มโอกาสในการเพิ่มยอดขาย และสินค้าที่พบเห็นจากลูกค้าได้มากขึ้น 2. สำหรับร้านค้าที่ซื้อโฆษณา […]

บริการแพ็คสินค้า รับแพ็คของพร้อมจัดส่ง ทำไมต้องเลือก MyCloud?

 บริการแพ็คสินค้า รับแพ็คของพร้อมจัดส่ง ทำไมต้องเลือก MyCloud? มองหา Fulfillment ที่มีบริการแพ็คสินค้าอยู่หรือเปล่า? การแพ็คบรรจุภัณฑ์มาตรฐานนั้นก็ถือว่าเป็นพื้นฐานของการแพ็คสินค้าเพื่อส่งให้ลูกค้า และในปัจจุบันก็มีบริการ fulfillment ที่หลากหลาย แต่เมื่อเทียบกับความยืดหยุ่นปรับแต่งได้ และบริการแพ็คพิเศษที่สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าสร้างความประทับใจสูงสุดให้กับลูกค้าแล้ว คุณต้องเลือก MyCloudFulfillment เพราะเรามีจุดเด่นในบริการแพ็คสินค้าพิเศษ หากคุณกำลังแพ็คสินค้าด้วยตัวเอง หรือจ้างแพ็ค ปัญหาที่คุณต้องเจอมีดังนี้ค่ะ ปัญหาที่ผู้ขายพบเมื่อแพ็คเอง หรือจ้างคนแพ็คสินค้า 1. แรงงานแพ็คสินค้าไม่เพียงพอ ร้านค้าเมื่อมีออเดอร์เข้ามามากขึ้น ทำให้ไม่สามารถแพ็คสินค้าทั้งหมดส่งลูกค้าได้ทัน ต้องจัดหาแรงงานมาช่วยแพ็ค ซึ่งก็หมายถึงต้องดูแล จัดการพนักงานแพ็คที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย 2. รูปแบบการแพ็คสินค้่าที่จำกัด ไม่สามารถ customize ได้ เมื่อจ้างแพ็ค หรือแพ็คสินค้าด้วยตัวเองคุณไม่มีเวลามากพอที่จะสร้างสรรค์การแพ็คเฉพาะในแต่ละกล่องได้ รวมถึงแรงงานที่จ้างมาก็ไม่มีประสบการณ์ หรือสามารถแพ็คได้อย่างจำกัด 3. แพ็คสินค้าผิด หรือแพ็คไม่ครบตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการ ปัญหาแพ็คสินค้าผิด แพ็คไม่ครบ เป็นปัญหาหลักที่ทุกร้านออนไลน์ต้องเจอค่ะ เมื่อแพ็คผิด ก็ส่งไปให้ลูกค้าแบบผิด ๆ ต้องเสียเวลาให้ลูกค้าส่งสินค้ากลับคืนมา และส่งสินค้าใหม่ หรือสินค้าที่ตกหล่นกลับไปให้ลูกค้าอีก เสียทั้งค่าใช้จ่ายและส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าอีกด้วย 4. ปัญหาการจัดเซ็ท และแพ็คสินค้าโปรโมชันต่าง ๆ เมื่อร้านค้าต้องการจัดเซ็ท […]

เจาะลึก ส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จาก Shopee ผู้ขายควรเข้าร่วมหรือไม่?

โปรแกรม ส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จาก Shopee  นักช็อปเคยสงสัยไหม ทำไมขึ้นว่าส่งฟรี แต่ยังต้องออกค่าส่ง? ผู้ขายต้องรับผิดชอบค่าส่งเองหรือเปล่า? วันนี้ MyCloud มีคำตอบให้ทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับโปรแกรมส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จาก Shopee เพื่อให้ผู้ขายได้ทำความรู้จักข้อดี ข้อเสียของโปรแกรม และตัดสินใจเข้าร่วมโปรแกรมได้ต่อไป สำหรับโปรแกรมส่งฟรีนั้น Shopee จะสนับสนุนค่าส่งฟรี ให้กับลูกค้าที่ใช้โค้ดส่วนลด กับร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาทสูงสุดจำนวน 40 บาทต่อออเดอร์ ซึ่งในกรณีที่สินค้าของคุณมีน้ำหนักเบาค่าส่งไม่เกิน 40 บาท ก็จะได้ส่งฟรี 100% ไปเลยค่ะ แต่ถ้าหากสินค้าหนัก หรือมีขนาดใหญ่ก็จะต้องออกค่าส่วนต่างเอง ซึ่งในส่วนนี้ค่าจัดส่งส่วนต่างจะถูกคิดไปกับจำนวนเงินที่ผู้ซื้อต้องชำระนั่นเอง ดังนั้นหายสงสัยกันได้แล้วนะคะว่าทำไมชื่อส่งฟรี แล้วไม่ฟรี!! ผู้ซื้อถูกใจ ผู้ขายได้ประโยชน์  สำหรับผู้ซื้อจะได้สินค้าจากร้านที่เ้ขาร่วมโปรแกรม ทำให้ประหยัดค่าส่ง ซึ่งสินค้าจากร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งฟรีจะมีแถบของตัวเองโดยเฉพาะ ทำให้ผู้ซื้อเข้าไปเลือกซื้อได้สะดวกมากขึ้น ส่วนร้านค้าที่เข้าร่วมโปรแกรม ส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท จะได้รับสิทธิพิเศษดังต่อไปนี้ 1. เพิ่มโอกาสในการเพิ่มยอดขาย และสินค้าที่พบเห็นจากลูกค้าได้มากขึ้น 2. สำหรับร้านค้าที่ซื้อโฆษณา […]