Knowledge Center

ค่าธรรมเนียม TikTok Shop มีอะไรบ้าง เรื่องง่าย ๆ ที่คนขายของออนไลน์ต้องรู้ 

เปิดร้านขายของออนไลน์บน TikTok

TikTok Shop ถือเป็นช่องทางการขายออนไลน์ที่มาแรงที่สุดในปีนี้เลย ด้วยจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดและยอดขายที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ร้านค้าออนไลน์จำนวนมากหันมาให้ความสนใจกับแพลตฟอร์มนี้มากขึ้น แต่สิ่งที่ TikTok Seller จำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนเริ่มขายคือเรื่องค่าธรรมเนียมต่าง ๆ บน TikTok Shop เพราะจะส่งผลโดยตรงต่อการคำนวณต้นทุนและกำไรของธุรกิจ วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องค่าธรรมเนียม TikTok Shop กันอย่างละเอียด เพื่อให้คุณสามารถวางแผนธุรกิจได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น  

ค่าธรรมเนียม TikTok Shop คืออะไร

ค่าธรรมเนียม TikTok Shop คือค่าใช้จ่ายที่ผู้ขายต้องจ่ายให้กับแพลตฟอร์มเมื่อขายสินค้าได้สำเร็จ โดยระบบจะทำการหักค่าธรรมเนียมต่าง ๆ จากยอดขายที่ได้รับจากลูกค้าโดยอัตโนมัติ ซึ่งค่าธรรมเนียมนี้ถือเป็นต้นทุนสำคัญที่ผู้ขายต้องนำมาคำนวณก่อนตั้งราคาขายสินค้า เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้กำไรตามที่ต้องการ นอกจากนี้ ค่าธรรมเนียมยังมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของสินค้าและประเภทของร้านค้า ดังนั้น การทำความเข้าใจเรื่องค่าธรรมเนียมจึงเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการประสบความสำเร็จในการขายบน TikTok Shop 

ค่าธรรมเนียม TikTok Shop ต้องเสียค่าอะไรบ้าง

ในการขายสินค้าบน TikTok Shop ผู้ขายจำเป็นต้องเข้าใจโครงสร้างค่าธรรมเนียมทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยค่าใช้จ่ายหลัก 3 ส่วน ได้แก่ ค่าคอมมิชชัน ค่าธรรมเนียมคำสั่งซื้อและค่าจัดส่ง มาดูรายละเอียดแต่ละส่วนกันว่า จะมีอะไรบ้าง 

1. ค่าคอมมิชชัน (Marketing Commission Fee) 

ค่าคอมมิชชันเป็นค่าธรรมเนียมหลักที่ผู้ขายต้องจ่ายให้กับ TikTok Shop โดยจะอยู่ที่ 5.35% และถูกคำนวณโดยที่ไม่รวมส่วนลด และจะหักเมื่อการจัดส่งสินค้าเสร็จสิ้นสมบูรณ์เท่านั้น หากมีการยกเลิกคำสั่งซื้อ ผู้ขายก็จะไม่ถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมส่วนนี้ 

2. ค่าธรรมเนียมคำสั่งซื้อ (Transaction Fee)

ค่าธรรมเนียมคำสั่งซื้อเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางการเงินบนแพลตฟอร์ม TikTok Shop โดยจะถูกเรียกเก็บในอัตรา 3.21% (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) จากมูลค่าคำสั่งซื้อทั้งหมด รวมถึงค่าจัดส่งที่ลูกค้าชำระ ค่าธรรมเนียมนี้จะถูกเรียกเก็บเฉพาะเมื่อการขายสำเร็จเท่านั้น และเป็นอัตราเดียวกันสำหรับทุกประเภทสินค้าและทุกประเภทร้านค้า ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้านการเงินและการชำระเงินทั้งหมดบนแพลตฟอร์ม 

ซื้อสินค้าผ่าน TikTok Shop

3. ค่าจัดส่ง (Shipping Fee) 

ค่าจัดส่งบน TikTok Shop เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้า โดยปกติลูกค้าจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนนี้ผ่านการชำระเงินในขั้นตอนสั่งซื้อ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ร้านค้าเข้าร่วมโปรแกรมการจัดส่ง TTS ซึ่งทาง TikTok จะมีคูปองจัดส่งฟรีให้ลูกค้าได้เก็บเพื่อใช้เป็นส่วนลดการจัดส่ง ซึ่งค่าธรรมเนียมในการจัดส่ง TTS นี้ จะอยู่ที่ 3% หรือไม่เกิน 199 บาทต่อ 1 คำสั่งซื้อ 

4. ค่านายหน้า (Affiliate) 

สำหรับร้านค้าที่ต้องการขยายฐานลูกค้าและเพิ่มโอกาสในการมองเห็นร้านค้าของคุณ การทำนายหน้าหรือการทำ TikTok Affiliate โดยการนำสินค้าในร้านค้าของคุณไปทำ Affiliate ให้เหล่าครีเอเตอร์ทั้งหลายได้เข้ามาโปรโมทสินค้าของคุณ โดยอัตราค่าธรรมเนียมตรงนี้ที่ร้านค้าจะต้องจ่ายนั้นขึ้นอยู่กับที่เรากำหนด โดยจะเริ่มต้นที่ 5% ขึ้นไป และจะหักจากราคาสินค้าของเรา

การคำนวณค่าธรรมเนียม TikTok Shop จากคำสั่งซื้อจริง

เพื่อให้เข้าใจการคำนวณค่าธรรมเนียมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น มาดูตัวอย่างการคำนวณค่าธรรมเนียม TikTok Shop จากออเดอร์จริงกัน สมมติว่าคุณขายเสื้อผ้าแฟชั่นบน TikTok Shop และได้รับคำสั่งซื้อมูลค่า 150 บาท โดยร้านค้าของคุณได้เข้าร่วมโปรแกรม TTS รวมถึงมีการทำ Affiliate โดยจะให้ส่วนแบ่งแก่ครีเอเตอร์ 5% วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียมจะเป็นดังนี้ 

ค่าคอมมิชชัน 150 x 3.21% = 4.8 บาท 

ค่าธรรมเนียมคำสั่งซื้อ 150 x 5.35% = 8 บาท 

ค่าจัดส่ง TTS 150 x 3% = 4.5 บาท

ค่านายหน้า (Affiliate) 150 x 5% = 7.5 บาท

หลังจากที่คำนวณค่าธรรมเนียมทั้งหมดแล้ว ให้นำผลลัพธ์ที่ได้ทั้งหมดมารวมกัน สำหรับคำสั่งซื้อนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมทั้งหมด 24.8 บาท ดังนั้น จากยอดขาย 150 บาท คุณจะได้รับเงินทั้งหมด 150 – 24.8 = 125.2 บาท 

ครีเอเตอร์ทำคอนเทต์เพื่อทำ Affilate

สรุปบทความ 

สำหรับใครที่กำลังอยากจะเปิดร้านขายของออนไลน์บน TikTok ก็จำเป็นต้องทำความเข้าใจและคำนวณค่าธรรมเนียม TikTok Shop ได้ ก็จะช่วยให้คุณกำหนดราคาขายที่เหมาะสมและวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การติดตามและวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณสามารถปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

สำหรับผู้ขายที่ต้องการจัดการค่าใช้จ่ายให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินธุรกิจแล้ว นอกจากค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับ TikTok Shop ค่าใช้จ่ายในส่วนการบริหารจัดการเรื่องหลังบ้านร้านค้าออนไลน์ถือเป็นส่วนที่สำคัญเช่นกัน MyCloud พร้อมให้บริการคลังสินค้าออนไลน์แบบครบวงจร ด้วยระบบจัดการออเดอร์อัจฉริยะ Order Management System ช่วยให้คุณประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่น ค่าจ้างพนักงานแพ็กสินค้าที่ต้องจ่ายเพิ่ม หากคุณมีออเดอร์จำนวนเยอะขึ้นก็ยังมีค่าอุปกรณ์ในการจัดการออเดอร์หรือค่าเช่าพื้นที่ในการเก็บสินค้าเพิ่ม รวมถึงค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ หากคุณดำเนินการทำคลังสินค้าเองก็อาจจะไม่คุ้มที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเหล่านี้เพิ่ม เพราะมีผลต่อเรื่องต้นทุนและกำไร MyCloud Fulfillment ช่วยริหารจัดการออเดอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นจนจบ เชื่อมต่อกับทุกช่องทางการขายผ่าน API ไม่ว่าจะเป็น Shopee, Lazada, TikTok Shop หรือ Line Shopping ทำให้ร้านค้าสามารถจัดการออเดอร์ทั้งหมดได้จากที่เดียว พร้อมทั้งมีระบบแสดงผลแบบ Dashboard บริการสรุปที่จะช่วยแสดงภาพรวมของร้านค้า สามารถนำข้อมูลตรงที่ได้ไปวิเคราะห์และวางแผนพัฒนา ต่อยอดธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย  

หากสนใจ Fulfillment โซลูชันที่ครบวงจรแบบนี้ สามารถติดต่อเราได้ที่ https://www.mycloudfulfillment.com/quotation 

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

การทำธุรกิจแบบ B2C B2B และ B2B2C ต่างกันยังไง?

การทำธุรกิจแบบ B2C B2B และ B2B2C ปัจจุบันนี้ธุรกิจส่วนใหญ่นั้นมักจะเจาะกลุ่มตลาดออนไลน์ และให้ความสำคัญกับธุรกิจ E-commerce มากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบในการทำธุรกิจ จากเดิมที่มักจะเห็นธุรกิจแบบ B2C จนชินตา เปลี่ยนมาเป็น ธุรกิจแบบ B2B และ B2B2C เรามาทำความรู้จักธุรกิจทั้งสามแบบ ว่าคืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ? กันดีกว่าครับ        B2C คืออะไร B2C หรือ Business-to-Customer คือธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการระหว่างเจ้าของธุรกิจ(B) และผู้บริโภครายบุคคล(C) เป็นประเภทธุรกิจ E-commerce ที่มีความสัมพันธ์ระยะสั้นระหว่างเจ้าของธุรกิจและผู้ซื้อโดยตรง ซึ่งปัจจุบันธุรกิจประเภทนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เนื่องจากมีการเข้าถึงระบบออนไลน์ และเว็บไซต์ได้ง่าย ตัวอย่างธุรกิจ B2C ได้แก่ประเภทสินค้า เช่น อาหาร, เสื้อผ้า และ ประเภทบริการ เช่น สายการบิน, โรงแรม เป็นต้น B2B คืออะไร B2B หรือ Business-to-Business คือการทำการค้าระหว่างธุรกิจทำกับธุรกิจด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุดิบ การผลิตสินค้า […]

การทำธุรกิจแบบ B2C B2B และ B2B2C ต่างกันยังไง?

การทำธุรกิจแบบ B2C B2B และ B2B2C ปัจจุบันนี้ธุรกิจส่วนใหญ่นั้นมักจะเจาะกลุ่มตลาดออนไลน์ และให้ความสำคัญกับธุรกิจ E-commerce มากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบในการทำธุรกิจ จากเดิมที่มักจะเห็นธุรกิจแบบ B2C จนชินตา เปลี่ยนมาเป็น ธุรกิจแบบ B2B และ B2B2C เรามาทำความรู้จักธุรกิจทั้งสามแบบ ว่าคืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ? กันดีกว่าครับ        B2C คืออะไร B2C หรือ Business-to-Customer คือธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการระหว่างเจ้าของธุรกิจ(B) และผู้บริโภครายบุคคล(C) เป็นประเภทธุรกิจ E-commerce ที่มีความสัมพันธ์ระยะสั้นระหว่างเจ้าของธุรกิจและผู้ซื้อโดยตรง ซึ่งปัจจุบันธุรกิจประเภทนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เนื่องจากมีการเข้าถึงระบบออนไลน์ และเว็บไซต์ได้ง่าย ตัวอย่างธุรกิจ B2C ได้แก่ประเภทสินค้า เช่น อาหาร, เสื้อผ้า และ ประเภทบริการ เช่น สายการบิน, โรงแรม เป็นต้น B2B คืออะไร B2B หรือ Business-to-Business คือการทำการค้าระหว่างธุรกิจทำกับธุรกิจด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุดิบ การผลิตสินค้า […]