Dead Stock ปัญหาใหญ่ที่คอยกัดกินธุรกิจ! โดยเฉพาะธุรกิจที่มีการซื้อมาขายไป หรือผลิตสินค้าเองแล้วสต็อกไว้ ปัญหาโลกแตกที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ สินค้าขายไม่ออก ค้างสต๊อกนาน ยิ่งค้างนานวันเข้า ปัญหาที่ตามมาก็ไม่พ้นเรื่อง “ต้นทุนจม” คือสัญญาณอันตรายของธุรกิจเลยก็ว่าได้ ใครที่กำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ ขอบอกเลยว่าคุณไม่ได้อยู่คนเดียว
ลองจินตนาการภาพสินค้าของคุณนอนแอ้งแม้งอยู่ในโกดัง ฝุ่นจับเกรอะกรัง เวลาผ่านไปนานแสนนานก็ยังขายไม่ได้สักที นอกจากจะไม่สร้างรายได้แล้ว ยังทำให้ต้นทุนจม แถมยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บอีกด้วย ปัญหาสินค้าค้างสต๊อกไม่ได้ส่งผลกระทบแค่เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เท่านั้นนะคะ แต่มันยังส่งผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจ ทำให้ลูกค้ามองว่าสินค้าของคุณไม่น่าสนใจ ไม่ทันสมัย หรือตกรุ่นไปแล้ว
แต่ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกถึงความหมายของ Dead Stock ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ และแนวทางแก้ไขแบบหมดเปลือก เพื่อให้ธุรกิจของคุณอยู่รอดปลอดภัย ไม่จมอยู่กับปัญหานี้อีกต่อไป
Dead Stock คืออะไร?
สินค้าที่ค้างอยู่ในคลังเป็นระยะเวลานานโดยไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่ถูกขายหรือส่งออก ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญสำหรับธุรกิจออนไลน์ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีสินค้าหลายประเภทและต้องจัดการสต๊อกเป็นจำนวนมากหรือธุรกิจสินค้าประเภทสกินแคร์ อาหารเสริม ที่มีวันหมดอายุ หากไม่มีการบริหารสต๊อกอย่างมีประสิทธิภาพ อาจทำให้เกิดปัญหาสินค้าค้างสต๊อก หมดอายุ ไม่สามารถนำไปขายต่อได้ ทำให้ภาระต้นทุนเพิ่มเติม สูญเสียโอกาสในการทำกำไร และสร้างปัญหาให้กับการดำเนินธุรกิจในระยะยาว
สาเหตุที่ทำให้เกิด Dead Stock
1. สินค้าตกรุ่นหรือหมดความนิยม
โลกหมุนเร็ว เทรนด์และความนิยมของผู้บริโภคก็เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน สินค้าบางประเภทมีวงจรชีวิตสั้น โดยเฉพาะสินค้าแฟชั่น สินค้าตามฤดูกาล หรือสินค้าเทคโนโลยี หากไม่สามารถขายสินค้าได้ในช่วงเวลาที่กำลังเป็นที่นิยม ยกตัวอย่างเช่น เสื้อผ้าแฟชั่นที่ล้าสมัย โทรศัพท์มือถือรุ่นเก่า ของเล่นที่ตกเทรนด์ ผลกระทบคือ สินค้าค้างสต็อก สูญเสียมูลค่า ต้องลดราคาขาย ทำให้กำไรลดลง และอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดสินค้า
2. การวางแผนการสั่งซื้อสินค้าที่ไม่เหมาะสม
การคาดการณ์ยอดขายที่ผิดพลาดอาจนำไปสู่การสั่งสินค้ามาเก็บในคลังเกินกว่าความต้องการที่แท้จริง ซึ่งเกิดได้จากการไม่วิเคราะห์ข้อมูลยอดขายในอดีตหรือไม่ติดตามแนวโน้มตลาดอย่างใกล้ชิด เช่น เจ้าของธุรกิจสั่งซื้อสินค้าล็อตใหญ่เข้ามาโดยหวังว่าการจัดโปรโมชั่นจะช่วยเพิ่มยอดขาย แต่ยอดขายจริงกลับไม่เป็นไปตามที่คาด ส่งผลให้เกิดการค้างสต๊อก
3. ปัญหาด้านการตลาดหรือการขาย
หากสินค้าขาดการโปรโมทที่มีประสิทธิภาพ หรือการตั้งราคาสินค้าไม่ตรงกับความต้องการของตลาด อาจทำให้สินค้าขายไม่ออกและค้างอยู่ในคลัง เช่น ธุรกิจออนไลน์ที่ขายสินค้าแบรนด์ใหม่ ไม่ได้ทำการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้ในกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ไม่มีลูกค้ารู้จักหรือสนใจสินค้านั้น
4. การจัดการสต๊อกที่ไม่มีประสิทธิภาพ
การขาดระบบที่ดีในการติดตาม ตรวจสอบ และควบคุมการเคลื่อนไหวของสินค้า ซึ่งอาจทำให้สินค้าที่เข้ามาก่อน ถูกเก็บลืมไว้ในคลัง ในขณะที่สินค้าใหม่เข้ามาเติมเต็มพื้นที่ ส่งผลให้สินค้าเก่าค้างสต็อก เสื่อมสภาพ หรือหมดอายุ การนำระบบจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพมาใช้ เช่น ระบบ FIFO (First-In, First-Out) จะช่วยให้ธุรกิจสามารถควบคุมการหมุนเวียนสินค้า และลดโอกาสการเกิดปัญหาที่วุ่นวายนี้ได้
5.การสื่อสารภายในองค์กร
หากเป็นองค์กรขนาดกลางหรือขนาดใหญ่การขาดการประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด และฝ่ายคลังสินค้า อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการสั่งซื้อ การจัดเก็บ หรือการขายสินค้า ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสต๊อกค้างได้และอีกสาเหตุคือ หากองค์กรนั้นๆบริหารจัดการคลังสินค้าด้วยทีมที่จ้างมาเองแต่การขาดการฝึกอบรมพนักงานที่ขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการสินค้าคงคลัง อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการจัดเก็บ การตรวจนับ หรือการดูแลรักษาสินค้า ซึ่งส่งผลให้สินค้าเสื่อมสภาพหรือหมดอายุและปัญหานี้ไม่เพียงแต่จะทำให้เสียโอกาสในเรื่องของยอดขายแล้ว ทางแบรนด์อาจจะเสียต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานที่ขาดทักษะนี้อีกด้วย
ผลกระทบจาก Dead Stock
- ต้นทุนสินค้าจมในสต๊อก (Sunk Cost of Inventory) ต้นทุนของสินค้าที่ค้างอยู่ในคลังสินค้าเป็นเวลานาน จนไม่สามารถขายได้ หรือขายได้ในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุน ทำให้เกิดการสูญเสียเงินลงทุน
- ภาระต้นทุนการจัดเก็บ (Holding Cost): สินค้าทุกชิ้นที่อยู่ในคลังล้วนมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่าพื้นที่คลังสินค้า ค่าไฟฟ้า ค่าแรงพนักงาน ค่ารักษาความปลอดภัย หรือแม้แต่ค่าประกันภัย ยิ่งสินค้าค้างสต็อกนานเท่าไหร่ ต้นทุนเหล่านี้ก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น กลายเป็นต้นทุนจมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
- สินค้าหมดอายุหรือเสื่อมสภาพ สินค้าบางประเภทมีความอ่อนไหวต่อเวลา เช่น อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง หรือยา หากเก็บไว้นานเกินไป อาจเสื่อมคุณภาพ หมดอายุ หรือล้าสมัย ทำให้ไม่สามารถนำมาขายได้อีกต่อไป ส่งผลให้ธุรกิจต้องสูญเสียเงินลงทุนไปโดยเปล่าประโยชน์
- เสียโอกาสในการเพิ่มยอดขาย พื้นที่คลังสินค้ามีจำกัด หากพื้นที่ส่วนใหญ่มีสินค้างค้างสต๊อกเยอะ ขายไม่ออกก็จะทำให้ไม่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับจัดเก็บสินค้าใหม่ๆ ที่ขายดีกว่า ซึ่งหมายถึงธุรกิจอาจพลาดโอกาสในการขายสินค้าที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาด และสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ
- ผลกระทบต่อลูกค้า ปัญหาสินค้าค้างสต๊อกนานๆส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจด้วย หากลูกค้าได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ หรือไม่ตรงกับความคาดหวัง ก็อาจทำให้ลูกค้าไม่พอใจ และไม่กลับมาซื้อสินค้าจากธุรกิจนั้นอีก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อธุรกิจในระยะยาว
- ความสัมพันธ์ทางธุรกิจ อาจส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจกับคู่ค้าและซัพพลายเออร์ หากธุรกิจไม่สามารถขายสินค้าได้ตามที่ตกลงไว้ หรือมีการคืนสินค้าจำนวนมาก อาจทำให้คู่ค้าและซัพพลายเออร์ไม่พอใจ และส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจในระยะยาว ความเชื่อมั่น หากธุรกิจมีปัญหาสินค้าค้างสต๊อกซ้ำแล้วซ้ำเล่า อาจทำให้คู่ค้าและซัพพลายเออร์สูญเสียความเชื่อมั่นในธุรกิจ และอาจไม่ต้องการทำธุรกิจด้วยอีกต่อไป
ประเภทสินค้าที่ควรระวัง !
1.สินค้าตามฤดูกาลหรือตามเทศกาล เช่น เสื้อผ้าแฟชั่นตามฤดูกาล, ของขวัญหรือของตกแต่งตามเทศกาล, สินค้าที่เกี่ยวข้องกับกีฬาหรือกิจกรรมเฉพาะช่วงเวลา เพราะสินค้าเหล่านี้จะขายดีเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น หากขายไม่หมดภายในช่วงเวลานั้น ก็อาจจะกลายเป็นสินค้าค้างสต็อกไปจนกว่าจะถึงฤดูกาลหรือเทศกาลถัดไป
2.สินค้าแฟชั่นและสินค้าที่เน้นเทรนด์ เช่น เสื้อผ้า, เครื่องประดับ, สินค้า IT, Gadget เพราะ เทรนด์แฟชั่นและเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สินค้าที่กำลังเป็นที่นิยมในวันนี้ อาจจะล้าสมัยในวันพรุ่งนี้ ทำให้ขายไม่ออกหากไม่สามารถปรับตัวตามเทรนด์ได้ทัน
3.สินค้าที่มีวันหมดอายุ เช่น อาหาร, เครื่องดื่ม, เครื่องสำอาง, ยา, วิตามิน สินค้าเหล่านี้มีอายุการใช้งานจำกัด หากขายไม่หมดภายในระยะเวลาที่กำหนด ก็จะหมดอายุและไม่สามารถขายได้อีก ทำให้เกิดการสูญเสีย
4.สินค้าที่มีราคาแพง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า, สินค้าแบรนด์เนม, สินค้า luxury สินค้าเหล่านี้มีราคาสูง ทำให้ลูกค้าต้องใช้เวลาตัดสินใจซื้อนาน หากเศรษฐกิจไม่ดี หรือลูกค้ามีกำลังซื้อลดลง ก็อาจทำให้สินค้าค้างสต็อกได้
แนวทางการป้องกันปัญหา Dead Stock
1.วางแผนสั่งซื้อสินค้า
การสั่งซื้อสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดเป็นเรื่องสำคัญสำหรับธุรกิจออนไลน์ เพื่อให้มั่นใจว่ามีสินค้าเพียงพอต่อการขาย และไม่เหลือสินค้าคงคลังมากเกินไป MyCloud Fulfillment ช่วยให้คุณวางแผนการสั่งซื้อสินค้าได้อย่างแม่นยำ โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกจากยอดขายในอดีตและแนวโน้มตลาด
Inventory Dashboard ตัวช่วยจัดการสินค้าคงคลัง
MyCloud Fulfillment มี Inventory Dashboard ที่เป็นฟีเจอร์สำคัญในการจัดการและบริหารสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ Inventory Dashboard ช่วยให้ร้านค้าออนไลน์สามารถจัดการเรื่องการสั่งผลิตหรือวางแผนการสั่งซื้อสินค้าได้อย่างง่ายๆ เช่น
- รู้ว่าสินค้าชิ้นไหนขายดีและใกล้หมดสต็อก: ทำให้คุณไม่พลาดโอกาสในการขาย และวางแผนการสั่งซื้อสินค้าได้อย่างทันท่วงที
- รู้ว่าสินค้าชิ้นไหนขายไม่ดี: ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ว่าจะลดราคาสินค้า หรือนำสินค้าออกจากสต็อก
ข้อดีของการใช้ Inventory Dashboard
- ลดความเสี่ยงสินค้าขาดสต็อก ช่วยให้คุณมีสินค้าเพียงพอต่อการขายอยู่เสมอ เมื่อลูกค้าประจำต้องการซื้อสินค้าก็จะมีสต๊อกเพียงพอให้กดซื้อได้ตลอด
- ลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ช่วยลดปริมาณสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น และป้องการความเสี่ยงเรื่องต้นทุนจม
- เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงคลัง ช่วยให้คุณจัดการสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ต้องมาวุ่นวายเสียเวลานานในการเช็กจำนวนสินค้าคงคลังแบบ Manual สามารถเช็กข้อมูลทุกอย่างในระบบได้เลย
2.ใช้ระบบบริหารสต๊อกที่มีประสิทธิภาพป้องกัน Dead Stock
การใช้ระบบจัดการสต๊อกแบบอัตโนมัติช่วยให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบการหมุนเวียนสินค้าได้อย่างแม่นยำ เช่น ระบบ FIFO ที่ช่วยให้สินค้าที่เข้าก่อนถูกขายออกก่อน หรือใช้ระบบการเก็บสินค้าแบบ FEFO (First Expire First Out)คือ วิธีการจัดการสินค้าคงคลังที่ให้ความสำคัญกับวันหมดอายุของสินค้าเป็นหลัก โดยสินค้าที่มีวันหมดอายุก่อนจะถูกนำไปขายหรือใช้ก่อน เพื่อลดความเสี่ยงที่สินค้าจะหมดอายุและสูญเสียมูลค่าซึ่งที่ MyCloud เรามีการเก็บสินค้าทั้ง 2 แบบทั้ง FIFO และ FEFO เพื่อให้ธุรกิจออนไลน์ที่สินค้าหลากหลายประเภทได้เลือกเก็บตามความเหมาะสม
ใช้ระบบจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System :WMS)
- Real-time visibility: สามารถตรวจสอบจำนวนสินค้าคงคลังได้แบบเรียลไทม์ ผ่านแดชบอร์ดออนไลน์ ทำให้ทราบสถานะสินค้าปัจจุบัน และวางแผนการสั่งซื้อได้อย่างแม่นยำ
- Barcode scanning: ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดในการจัดการสินค้า ทำให้การรับเข้า-จ่ายออกสินค้าเป็นไปอย่างรวดเร็วและแม่นยำ ลดความผิดพลาดในการจัดการสินค้า
- Stock control: ระบบจะแจ้งเตือนเมื่อสินค้าใกล้หมดสต็อก ช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า ป้องกันปัญหาสินค้าขาดสต็อก
- Reporting & analytics: ระบบจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง และจัดทำรายงานต่างๆ เช่น รายงานสินค้าขายดี รายงานสินค้าคงคลังต่ำ เพื่อให้ธุรกิจนำข้อมูลไปวิเคราะห์และวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ทำโปรโมชั่นระบายสินค้าค้างสต๊อก
การจัดแคมเปญลดราคาแบบ Flash Sale หรือ Clearance Sale เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยกระตุ้นยอดขายและระบายสินค้าคงคลังได้อย่างดี แต่หลายครั้งที่แบรนด์ต้องเผชิญกับความท้าทายในการตัดสินใจเลือกสินค้ามาจัดโปรโมชั่น เนื่องจากมีสินค้าจำนวนมากและไม่ทราบวันหมดอายุ การใช้ข้อมูลวิเคราะห์เข้ามาช่วย จะทำให้การตัดสินใจง่ายขึ้น MyCloud Inventory Dashboard มีข้อมูลสำคัญที่ช่วยแนะนำสินค้าขายช้าแต่มีจำนวนคงค้างในสต็อกมาก ให้ร้านค้านำข้อมูลส่วนนี้ไปใช้เลือกสินค้าสำหรับจัดโปรโมชั่นลดราคาได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ช่วยให้การระบายสต็อกเป็นเรื่องง่ายและมีประสิทธิภาพ
สรุป
Dead Stock คือปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับธุรกิจออนไลน์ เพราะนอกจากจะสร้างภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังทำให้เสียโอกาสทางการขายอีกด้วย การบริหารจัดการสต๊อกอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยลดปัญหานี้ และทำให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อย่าปล่อยให้ปัญหานี้เป็นอุปสรรคในการทำกำไรของคุณ! MyCloud Fulfillment พร้อมช่วยคุณลดผลกระทบปัญหาเรื่องสต๊อกด้วยบริการ Inventory Management ที่ช่วยให้คุณติดตาม วิเคราะห์ และควบคุมสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดสินค้าค้างสต๊อกและเพิ่มโอกาสในการทำกำไรให้กับธุรกิจของคุณ