Knowledge Center

รักษาฐานลูกค้าเก่าอย่างไร ให้อยู่กับเรานานๆ ?

รักษาฐานลูกค้าเก่าอย่างไร ให้อยู่กับเรานานๆ ?

เค้าว่ากันว่า… หาลูกค้าใหม่ว่ายากแล้ว แต่การรักษาลูกค้าเก่าให้อยู่กับเรานานๆ ยากยิ่งกว่า!!

ถึงแม้คุณจะหาลูกค้าใหม่ได้มากมายขนาดไหน แต่ถ้ารักษาลูกค้าไม่เป็น ธุรกิจก็อาจจะพังได้นะครับ

เพราะมีผลวิจัยจาก Harvard Business School พบว่า การเพิ่มขึ้นของอัตราการรักษาลูกค้าเก่า 5% จะเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจถึง 25-95% เลยทีเดียว

เห็นถึงความสำคัญและพลังของลูกค้าเก่ากันแล้วใช่ไหมครับ? แล้วแบบนี้เราจะไม่หาวิธีมัดใจกลุ่มคนเหล่านี้หน่อยหรอ?? วันนี้แอดเลยขอนำเทคนิคเด็ดๆ มาฝากทุกคนครับ เพื่อนๆ สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจได้เลย 😉

1.คุณภาพดีเหมือนเดิม

รักษาคุณภาพสินค้าและบริการของคุณ ให้เหมือนเกลือที่รักษาความเค็ม ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน แต่คุณภาพต้องดีเสมอต้นเสมอปลาย เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากครับ ถ้าลูกค้าเจออะไรที่มันผิดไปจากเดิมนิดหนึ่ง เขาก็อาจจะไปหาแบรนด์ใหม่ที่ดีกว่าก็ได้

2.ใส่ใจลูกค้าสม่ำเสมอ

อย่าเป็นร้านค้าที่ซื้อขายกันเสร็จแล้วก็จบไป อย่าเป็นร้านค้าที่เอาแต่จะขายของ อย่าเป็นร้านค้าที่หวังแต่ผลกำไรอย่างเดียว แต่จงเอาใจใส่ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ คอยติดตามสอบถาม Feedback จากลูกค้าด้วย

รับฟังทุกเสียงคำติชม ทั้งดีและไม่ดี แล้วนำไปปรับปรุง

3.มอบสิทธิพิเศษเหนือใคร

ใครๆ ก็อยากเป็นคนสำคัญ ใครๆ ก็อยากได้สิทธิพิเศษกันทั้งนั้น! เวลาที่คุณคิดจะจัดโปร อย่าลืมนึกถึงลูกค้าเก่าๆ ด้วยการมอบสิทธิพิเศษ เช่น ส่วนลดหรือโปรโมชั่นต่างๆ เพื่อให้เขารู้สึกประทับใจ ให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นคนพิเศษ อาจจะเป็น ให้ส่งรูปรีวิวมาเพื่อรับส่วนลด 10% หรือสะสมคะแนนออนไลน์เพื่อแลกรับของรางวัล หรือเวลาออกคอลเลคชั่นใหม่ ก็แจ้งลูกค้าเก่าก่อน บอกเลย เทคนิคนี้มัดใจลูกค้าได้ทุกรายแน่นอน!

หากต้องการผู้ช่วยในการจัดการออเดอร์สินค้าแบบมืออาชีพ

MyCloudFulfillment ให้บริการคลังสินค้าออนไลน์แบบครบวงจร

สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com

หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

โทร: 092-472-7742, 02-138-9920

อีเมล: [email protected]

line: @mycloudgroup

MyCloudFulfillment ขายของง่ายไม่ต้องแตะสต๊อก

บริการคลังสินค้าออนไลน์ เก็บ แพ็ค ส่ง ครบวงจร

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วย CRM (Customer Relationship Management)

ขายของยุคนี้ ไม่ใช่แค่ซื้อมาแล้วขายไป เพราะการขายสินค้าไปได้ครั้งเดียว แล้วต้องหาลูกค้าใหม่เรื่อย ๆ อยู่ตลอด มันเหนื่อยเกินไปครับ และอาจได้ไม่คุ้มเสียอีกด้วย เพราะจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น เพื่อใช้ในการดึงดูดลูกค้าใหม่ เพราะงั้นสิ่งที่สำคัญในการตลาดยุคใหม่จึงเน้นใส่ใจประสบการณ์ของผู้บริโภคเป็นหลัก และหันมาทำ CRM เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ให้ผู้ซื้อเกิดความประทับใจจนนำไปสู่การซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง และรักษาฐานลูกค้า เพื่อให้มีการบอกต่อหรือแนะนำคนใกล้ตัวของเขาให้มาซื้อสินค้าหรือใช้บริการเราได้ในอนาคตครับ            CRM คืออะไร ?           Customer Relationship Management (CRM) คือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มยอดขายและ เก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อรักษาและขยายฐานลูกค้าในระยะยาว การทำ CRM จะช่วยสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูกค้า ให้มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ต่อสินค้าหรือบริการ โดยการทำ CRM ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ครับ            1. Identify ขั้นตอนการเก็บข้อมูลของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-สกุล […]

รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วย CRM (Customer Relationship Management)

ขายของยุคนี้ ไม่ใช่แค่ซื้อมาแล้วขายไป เพราะการขายสินค้าไปได้ครั้งเดียว แล้วต้องหาลูกค้าใหม่เรื่อย ๆ อยู่ตลอด มันเหนื่อยเกินไปครับ และอาจได้ไม่คุ้มเสียอีกด้วย เพราะจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น เพื่อใช้ในการดึงดูดลูกค้าใหม่ เพราะงั้นสิ่งที่สำคัญในการตลาดยุคใหม่จึงเน้นใส่ใจประสบการณ์ของผู้บริโภคเป็นหลัก และหันมาทำ CRM เพื่อที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ให้ผู้ซื้อเกิดความประทับใจจนนำไปสู่การซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง และรักษาฐานลูกค้า เพื่อให้มีการบอกต่อหรือแนะนำคนใกล้ตัวของเขาให้มาซื้อสินค้าหรือใช้บริการเราได้ในอนาคตครับ            CRM คืออะไร ?           Customer Relationship Management (CRM) คือ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งหมายถึงวิธีการที่เราจะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มยอดขายและ เก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าเพื่อรักษาและขยายฐานลูกค้าในระยะยาว การทำ CRM จะช่วยสร้างทัศนคติที่ดีให้กับลูกค้า ให้มีความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ต่อสินค้าหรือบริการ โดยการทำ CRM ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ครับ            1. Identify ขั้นตอนการเก็บข้อมูลของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ-สกุล […]