Knowledge Center

Sale Page (เซลเพจ) ปิดการขายได้ง่าย จ่ายค่าธรรมเนียมถูกลง

สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของออนไลน์ทาง Marketplace อย่าง Lazada, Shopee, หรือ TikTok Shop คุณอาจจะเคยได้ยินคำว่า “Sale Page” ผ่านหูผ่านตามาบ้าง แต่ยังไม่เข้าใจแน่ชัดว่าเซลเพจ คืออะไร และมีประโยชน์ต่อธุรกิจของคุณอย่างไร ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายให้คุณเข้าใจถึงความสำคัญของ เซลเพจ และเหตุผลว่าทำไมเมื่อคุณมีช่องทางการขายทาง Marketplace อยู่แล้วคุณถึงควรเริ่มใช้เซลเพจเพื่อขยายธุรกิจของคุณไปอีกขั้นกันค่ะ

Sale Page คืออะไร?

คือหน้าเว็บไซต์ที่ถูกออกแบบมาเฉพาะเพื่อขายสินค้า โดยเน้นให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับสินค้าและข้อเสนอที่ดึงดูดใจ เช่น ส่วนลด โปรโมชั่นพิเศษ หรือสินค้ารุ่นใหม่ และที่สำคัญหน้าเซลเพจยังสามารถปรับแต่ง Banner ให้เข้ากับแบรนด์ของคุณได้ทั้งหมด ทั้งภาพ สี และข้อความ เพื่อสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่น่าประทับใจและกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าง่ายขึ้น

Sale Page

ในด้านการทำการตลาดออนไลน์ เซลเพจ เป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มอัตราการแปลง (Conversion Rate) ได้สูง เพราะการเน้นให้ลูกค้าเห็นเฉพาะข้อมูลสินค้าและข้อเสนอสำคัญ ทำให้ลดสิ่งที่อาจจะเบี่ยงเบนความสนใจของลูกค้าออกไป ช่วยให้การปิดการขายง่ายและเร็วขึ้น

ขายผ่าน Sale Page ดีกว่าขาย Marketplace ยังไง?

1.ลดค่าธรรมเนียมจากแพลตฟอร์ม Marketplace

ลดค่าธรรมเนียม

การขายสินค้าทาง Marketplace ส่วนใหญ่จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมและค่าคอมมิชชั่นที่ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าและยอดขายในแต่ละแพตฟอร์ม ซึ่งอาจจะเป็น 5%-20% ต่อออเดอร์หรือมากกว่านั้นและยังมีในส่วนของการเข้าร่วมแคมเปญต่างๆ ที่จะต้องมีค่าบริการในการเข้าร่วมชำระให้กับแพลตฟอร์ม ซึ่งหากเรามีช่องทางการขายทางเซลเพจเป็นของตัวเองก็จะช่วยประหยัดค่าค่าธรรมเนียมเหล่านี้ได้มากยิ่งขึ้น ทำให้คุณสามารถควบคุมกำไรได้อีกด้วย

2.สร้างการรับรู้แบรนด์ที่ชัดเจนกว่า

2.สร้างการรับรู้แบรนด์ที่ชัดเจนกว่า

การขายผ่าน Marketplace คุณอาจไม่มีโอกาสสร้างการรับรู้แบรนด์ได้อย่างเต็มที่ เพราะลูกค้าอาจจะจำได้แต่ชื่อแพลตฟอร์มมากกว่าชื่อแบรนด์ของคุณ การมีเซลเพจของตัวเองจะช่วยให้ลูกค้าเห็นและจดจำแบรนด์ของคุณได้ชัดเจนขึ้น เช่น การใช้โลโก้ สีสัน และสไตล์ของแบรนด์ที่สะท้อนความเป็นตัวตนของคุณได้อย่างชัดเจนควบคุมโปรโมชั่นและการตลาดได้มากกว่า

3.การจัดโปรโมชั่นที่ควบคุมได้

โปรโมชั่น

ใน Marketplace การจัดการโปรโมชั่นอาจต้องทำตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของแพลตฟอร์ม แต่เมื่อคุณมี เซลเพจ ของตัวเอง คุณสามารถกำหนดโปรโมชั่นต่างๆ ได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นส่วนลดรายวัน สินค้าแถม หรือโปรพิเศษที่เหมาะกับลูกค้าของคุณ

4.เพิ่มความยืดหยุ่นในการขายและจัดส่งสินค้า

เพิ่มความยืดหยุ่นในการขายและจัดส่งสินค้า

ใน Marketplace การจัดการคำสั่งซื้อและการส่งสินค้าอาจถูกจำกัดจากกฎเกณฑ์และระบบของแพลตฟอร์ม หากขายผ่าน เซลเพจ คุณจะสามารถควบคุมการขายและการจัดส่งสินค้าได้มากขึ้น เช่น การเลือกบริการขนส่งที่เหมาะสม การจัดส่งโปรโมชั่นพิเศษ หรือการให้บริการหลังการขายที่ดีกว่า

5.ร้านค้ารับเงินไว นำไปต่อยอดธุรกิจได้ทันที

ร้านค้ารับเงินไว นำไปต่อยอดธุรกิจได้ทันที

การชำระเงินผ่านเซลเพจลูกค้าที่กดซื้อสินค้าจะชำระผ่านทางธนาคารที่ทางร้านค้าผูกไว้กับระบบโดยตรง ทำให้ร้านค้าสามารถตรวจสอบและรับยอดเงินโอนได้ทันที ไม่เหมือนกับการขายทาง Marketplace ที่ยอดเงินจากคำสั่งซื้อจะชำระให้กับทางแพลตฟอร์มก่อนและหลังจากนั้นประมาณ 7 วันทางแพลตฟอร์มก็จะทำการโอนเงินโดยหักค่าธรรมเนียมแล้วให้กับร้านค้าอีกที ซึ่งการได้รับเงินจากการขายทันทีก็เป็นข้อดีที่ทางร้านค้าจะได้นำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาธุรกิจต่อได้เร็วยิ่งขึ้น

6.มีข้อมูลฐานลูกค้าในช่องทางการขายของตัวเอง

มีข้อมูลฐานลูกค้าในช่องทางการขายของตัวเอง

คนที่ขายสินค้าทาง Marketplace จะสังเกตได้ว่าข้อมูลลูกค้าเช่น ชื่อ,ที่อยู่,เบอร์โทรศัพท์ จะถูกปิดกั้นการมองเห็น ร้านค้าไม่สามารถที่จะตรวจสอบข้อมูลลูกค้า หรือ ไม่สามารถเก็บฐานข้อมูลลูกค้าได้เลย เหตุผลที่ทางแพลตฟอร์มทำเช่นนี้อาจจะเป็นเพราะว่าไม่อยากให้ร้านค้านำฐานข้อมูลลูกค้าที่เคยสั่งซื้อในแพลตฟอร์มนั้นๆ ไปทำการตลาดเพื่อไปซื้อช่องทางอื่นนั่นเอง แต่ร้านค้าสามารถเช็คข้อมูลลูกค้าเหล่านี้ได้จากระบบหลังบ้านของเซลเพจที่เก็บข้อมูลให้ ซึ่งข้อดีของการมีฐานข้อมูลลูกค้าตรงนี้ก็จะสามารถนำมาพัฒนาการขายได้นั้นเองค่ะการโปรโมทสินค้าได้อย่างอิสระ

7.การโปรโมตสินค้าทำอย่างเต็มที่

การโปรโมตสินค้าทำอย่างเต็มที่

เนื่องจากเป็นช่องทางการขายของตัวเอง ร้านค้าสามารถทำการตลาดผ่านช่องทางต่างๆ ได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Ads, Google Ads หรือการส่ง Email Marketing ไปยังลูกค้าที่เคยซื้อสินค้ากับคุณ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับกลยุทธ์การขายให้ดีขึ้นได้ด้วย เช่น การดูข้อมูลลูกค้าที่เข้ามาในหน้าเพจ เพื่อตัดสินใจปรับแคมเปญการตลาด

How to

หากคุณอยากมีช่องทางการขายเซลเพจเป็นของตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร MyCloud Fulfillment เราพร้อมช่วยคุณได้! เพราะเรามีฟีเจอร์ เซลเพจ ที่ร้านค้าสามารถสร้างลิงก์การขายได้ด้วยตัวเองผ่านระบบ OMS ของ MyCloud และมีการเชื่อมต่อด้วยระบบ Omni-Channel Management ที่ช่วยให้คุณจัดการคำสั่งซื้อ,การชำระเงิน และการจัดส่งที่ง่ายดายเพียงเมื่อลูกค้ากดชำระเงิน คำสั่งซื้อที่เกิดขึ้นก็จะส่งไปยังระบบ OMS และ ส่งต่อไปยังระบบ WMS (Warehouse Management System) ที่คลังสินค้าของ MyCloud เพื่อทำการแพ็คสินค้า และจัดส่งสินค้าได้เลยทันทีโดยที่ร้านค้าไม่ต้องมานั่งคีย์ออเดอร์เข้าระบบแบบ Manual เองย้อนหลัง (วิธีนี้จะช่วยให้คำสั่งซื้อไม่ตกหล่นแถมยังทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจในการซื้อสินค้าอีกด้วย)

ทำไมต้องเลือกใช้ MyCloud Sale Page?

1.สร้าง Sale Page ได้ไม่จำกัดจำนวน

สร้าง Sale Page ได้ไม่จำกัดจำนวน

ไม่ต้องเสียเวลาปรับแต่งเองบนหลายแพลตฟอร์ม สามารถสร้างหน้าโปรโมชั่นได้หลากหลายและไม่จำกัดจำนวนตามที่ต้องการ ทั้งสำหรับสินค้ารายตัวหรือโปรโมชั่นพิเศษ ด้วยเทมเพลตที่ใช้งานง่ายและสวยงาม คุณสามารถออกแบบให้เหมาะสมกับการขายของคุณได้โดยไม่ต้องมีความรู้เรื่องการเขียนโค้ด

2.ปรับเปลี่ยนโปรโมชั่นได้ง่ายได้ตามใจคุณ

ปรับเปลี่ยนโปรโมชั่นได้ตามใจ

ไม่ว่าจะเป็นส่วนลด โปรโมชั่น ซื้อ 1 แถม 1 หรือแจกของขวัญก็ช่วยคุณสร้างแคมเปญที่น่าสนใจและดึงดูดลูกค้าได้ทุกรูปแบบ พร้อมจัดการคำสั่งซื้อและสต็อกได้ในหน้าเดียว และ มีฟีเจอร์ให้คุณปรับแต่งรูปแบบได้ตามความต้องการ เพิ่มโลโก้ สีสัน และข้อมูลที่ต้องการนำเสนอได้อย่างอิสระ เพื่อให้ตรงตามแบรนด์ของคุณมากที่สุด

3.เชื่อมต่อกับทุกช่องทางการขาย

เชื่อมต่อทุกช่องทางการขาย

คุณสามารถโปรโมทผ่านทุกช่องทางที่คุณเชื่อมต่ออยู่ได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Instagram, LINE หรือ Marketplace อื่น ๆ ด้วยลิงก์เดียวที่นำไปสู่หน้าโปรโมชั่น ทำให้ลูกค้าเข้าถึงได้สะดวกและเพิ่มโอกาสในการปิดการขายมากขึ้น

4.มีระบบติดตามผลลัพธ์และวิเคราะห์ข้อมูล

มีระบบติดตามผลลัพธ์และวิเคราะห์ข้อมูล

มาพร้อมกับเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่ละเอียด ช่วยให้คุณรู้ว่าแคมเปญไหนที่ได้ผลดีที่สุดและจุดไหนที่ควรปรับปรุง เพื่อให้คุณสามารถทำแผนการตลาดและการขายที่ตรงเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น

5.การดึงออเดอร์จาก MyCloud Sale Page

การดึงออเดอร์ให้คลังสินค้าจัดการ

ระบบเชื่อมต่อและดึงข้อมูลอัตโนมัติ ไปยังระบบคลังสินค้าเมื่อมีการสร้างคำสั่งซื้อจากลูกค้าใน เซลเพจ ที่คุณตั้งไว้ ระบบ MyCloud จะทำการดึงข้อมูลออเดอร์เหล่านั้นเข้าสู่ระบบ WMS โดยอัตโนมัติ ซึ่งการเชื่อมต่อระหว่าง เซลเพจ กับระบบ WMS เป็นแบบเรียลไทม์ ทำให้ข้อมูลถูกอัปเดตทันทีโดยไม่ต้องทำการดึงข้อมูลด้วยตนเอง

การจัดการออเดอร์ที่คลังสินค้า

เมื่อออเดอร์ถูกดึงเข้าสู่ระบบ WMS ของ MyCloud แล้ว ระบบจะทำการตรวจสอบและจัดเตรียมข้อมูลเพื่อการประมวลผล เช่น การยืนยันรายการสินค้าและจำนวนที่ลูกค้าสั่งซื้อ การเช็คสต็อกสินค้า และการเตรียมแพ็คสินค้าตามคำสั่งซื้อ ระบบนี้จะช่วยให้การดำเนินงานหลังบ้านของคุณง่ายขึ้นมาก เพราะคุณไม่ต้องมาคีย์ข้อมูลซ้ำ ทำให้ลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดจากการทำงานด้วยมือ

การติดตามสถานะออเดอร์และรายงาน เมื่อคำสั่งซื้อถูกจัดส่ง ระบบ WMS ของ MyCloud จะอัปเดตสถานะออเดอร์ให้ทันที ทำให้คุณสามารถตรวจสอบได้ว่าคำสั่งซื้อนั้นอยู่ในขั้นตอนใด ไม่ว่าจะเป็นสถานะการแพ็ค การจัดส่ง หรือการส่งถึงมือลูกค้าแล้ว นอกจากนี้ยังสามารถสร้างรายงานที่ช่วยในการวิเคราะห์การขายและการจัดการสต็อกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการออเดอร์จากการขาย Sale Page

การดึงออเดอร์จากเซลเพจไปยังระบบ WMS ของ MyCloud ช่วยให้การจัดการคำสั่งซื้อเป็นไปอย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การดึงข้อมูลอัตโนมัติ การจัดการสต็อก การประสานงานกับบริการจัดส่ง ไปจนถึงการติดตามสถานะออเดอร์ ทุกขั้นตอนทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ทำให้ธุรกิจของคุณสามารถขายสินค้าได้อย่างต่อเนื่องและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานหลังบ้านค่ะ

ข้อควรระวัง! เมื่อขายผ่าน Sale Page

1. การตั้งค่าข้อมูลสินค้าและโปรโมชั่น

การตั้งค่าข้อมูลสินค้าและโปรโมชั่น

ข้อควรระวัง: ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลสินค้าและโปรโมชั่นให้ละเอียดก่อนที่จะเปิดใช้งานรวมถึงราคา, คำอธิบายสินค้า, รูปภาพ และเงื่อนไขโปรโมชั่นต่าง ๆ เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดของลูกค้า

คำแนะนำ: ตั้งค่าข้อมูลที่สอดคล้องกับสต็อกที่มีอยู่ในคลัง และอย่าลืมอัปเดตข้อมูลทันทีหากมีการเปลี่ยนแปลงในราคา โปรโมชั่น หรือสต็อก

2. การจัดการคำสั่งซื้อ (Order Management)

Order Management

ข้อควรระวัง: อาจมีปัญหาเรื่องการจัดการคำสั่งซื้อที่ไม่ได้รับการยืนยันหรือคำสั่งซื้อล่าช้า ซึ่งอาจกระทบถึงความพึงพอใจของลูกค้า

คำแนะนำ: ใช้ระบบ Order Management ของ MyCloud ที่สามารถช่วยจัดการคำสั่งซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ ลดข้อผิดพลาดจากการประมวลผลออเดอร์ด้วยมือ นอกจากนี้ ควรตรวจสอบคำสั่งซื้อที่มีปัญหาหรือค้างอยู่เป็นระยะ ๆ เพื่อตอบสนองลูกค้าได้รวดเร็ว

3. การติดตามและจัดส่งสินค้า

การติดตามและจัดส่งสินค้า

ข้อควรระวัง: หากการติดตามสถานะการจัดส่งไม่ชัดเจนหรือการจัดส่งล่าช้า จะทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่พอใจและอาจทำให้เกิดการร้องเรียน

คำแนะนำ: ตรวจสอบและอัปเดตสถานะการจัดส่งในระบบให้สม่ำเสมอ พร้อมทั้งเลือกใช้บริการขนส่งที่มีคุณภาพและสามารถจัดส่งสินค้าได้อย่างรวดเร็ว

Order Management

สรุป
การสร้าง เซลเพจ ของตัวเองไม่เพียงช่วยให้คุณลดต้นทุนค่าธรรมเนียมจากการขายผ่าน Marketplace แต่ยังช่วยสร้างแบรนด์ของคุณให้ชัดเจนและโดดเด่นขึ้นในตลาดออนไลน์ พร้อมทั้งควบคุมการจัดการการขายและโปรโมชั่นได้มากขึ้นอีกด้วย หากคุณยังขายออนไลน์ผ่าน Marketplace อยู่ การมีเซลเพจเป็นอีกหนึ่งช่องทางการขายถือเป็นโอกาสที่ดี ที่คุณจะได้เริ่มเพิ่มยอดขายผ่านช่องทางใหม่ๆ เริ่มต้นสร้างเซลเพจของคุณกับ MyCloud Fulfillment ได้แล้ววันนี้! ติดต่อสอบถามเราตอนนี้ได้เลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม

การทำธุรกิจแบบ B2C B2B และ B2B2C ต่างกันยังไง?

การทำธุรกิจแบบ B2C B2B และ B2B2C ปัจจุบันนี้ธุรกิจส่วนใหญ่นั้นมักจะเจาะกลุ่มตลาดออนไลน์ และให้ความสำคัญกับธุรกิจ E-commerce มากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบในการทำธุรกิจ จากเดิมที่มักจะเห็นธุรกิจแบบ B2C จนชินตา เปลี่ยนมาเป็น ธุรกิจแบบ B2B และ B2B2C เรามาทำความรู้จักธุรกิจทั้งสามแบบ ว่าคืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ? กันดีกว่าครับ        B2C คืออะไร B2C หรือ Business-to-Customer คือธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการระหว่างเจ้าของธุรกิจ(B) และผู้บริโภครายบุคคล(C) เป็นประเภทธุรกิจ E-commerce ที่มีความสัมพันธ์ระยะสั้นระหว่างเจ้าของธุรกิจและผู้ซื้อโดยตรง ซึ่งปัจจุบันธุรกิจประเภทนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เนื่องจากมีการเข้าถึงระบบออนไลน์ และเว็บไซต์ได้ง่าย ตัวอย่างธุรกิจ B2C ได้แก่ประเภทสินค้า เช่น อาหาร, เสื้อผ้า และ ประเภทบริการ เช่น สายการบิน, โรงแรม เป็นต้น B2B คืออะไร B2B หรือ Business-to-Business คือการทำการค้าระหว่างธุรกิจทำกับธุรกิจด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุดิบ การผลิตสินค้า […]

การทำธุรกิจแบบ B2C B2B และ B2B2C ต่างกันยังไง?

การทำธุรกิจแบบ B2C B2B และ B2B2C ปัจจุบันนี้ธุรกิจส่วนใหญ่นั้นมักจะเจาะกลุ่มตลาดออนไลน์ และให้ความสำคัญกับธุรกิจ E-commerce มากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบในการทำธุรกิจ จากเดิมที่มักจะเห็นธุรกิจแบบ B2C จนชินตา เปลี่ยนมาเป็น ธุรกิจแบบ B2B และ B2B2C เรามาทำความรู้จักธุรกิจทั้งสามแบบ ว่าคืออะไร เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ? กันดีกว่าครับ        B2C คืออะไร B2C หรือ Business-to-Customer คือธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการระหว่างเจ้าของธุรกิจ(B) และผู้บริโภครายบุคคล(C) เป็นประเภทธุรกิจ E-commerce ที่มีความสัมพันธ์ระยะสั้นระหว่างเจ้าของธุรกิจและผู้ซื้อโดยตรง ซึ่งปัจจุบันธุรกิจประเภทนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก เนื่องจากมีการเข้าถึงระบบออนไลน์ และเว็บไซต์ได้ง่าย ตัวอย่างธุรกิจ B2C ได้แก่ประเภทสินค้า เช่น อาหาร, เสื้อผ้า และ ประเภทบริการ เช่น สายการบิน, โรงแรม เป็นต้น B2B คืออะไร B2B หรือ Business-to-Business คือการทำการค้าระหว่างธุรกิจทำกับธุรกิจด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ตอบสนองความต้องการทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านวัตถุดิบ การผลิตสินค้า […]