การหยิบสินค้ามีกี่แบบ? FIFO, LIFO, FEFO แต่ละแบบต่างกันอย่างไร

เคยสงสัยกันไหมครับ แค่การหยิบสินค้าไปแพ็คส่งลูกค้า ต้องมีรูปแบบด้วยหรอ? ไปหาคำตอบกันได้เลยครับ!! จริง ๆ แล้วทุกขั้นตอนของการบริการ fulfillment มีความสำคัญทั้งหมดเลยครับ แต่บางคนอาจจะให้ความสำคัญไปที่ขั้นตอนการเก็บ การเเพ็ค และส่งมากกว่า จนลืมไปว่าหากขั้นตอนการหยิบสินค้าก่อนแพ็คผิดผลาดก็อาจเกิดปัญหาในขั้นตอนถัด ๆ มาได้ครับ ซึ่งก่อนหน้านี้ใน ขั้นตอนการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้า ผมได้ยกตัวอย่างวิธีการหยิบสินค้า ที่คลังสินค้าต่าง ๆ มักใช้กันไปแล้วนะครับ blog นี้ผมจึงอยากให้ทุกคนรู้จักรูปแบบการหยิบสินค้ากันบ้างครับ  การหยิบสินค้าแบบ FIFO, LIFO, และ FEFO FIFO FIFO หรือ First-In First-Out เหมาะกับร้านค้าที่ขายสินค้าที่มีวันหมดอายุเช่น เภสัชภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงร้านค้าที่มีสินค้าหลายชนิด หรือสินค้าประเภทอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวน เปลี่ยนราคาอยู่บ่อย ๆ ซึ่งมีความหมายตรงตัวคือการหยิบสินค้าที่เก็บเข้าคลังก่อนออกไปก่อน เพื่อลดปัญหาสินค้าเสื่อมสภาพจากการเก็บเป็นเวลานานครับ ประโยชน์ของการหยิบสินค้าแบบ FIFO FEFO FEFO หรือ First Expire date First Out หมายถึง สินค้าใดที่จะหมดอายุก่อน จ่ายออกไปก่อน […]

Fulfillment คืออะไร ช่วยธุรกิจจริงหรอ?

Fulfillment คืออะไร สำคัญกับธุรกิจยุคนี้จริงไหม?           ได้ยินกันบ่อย ๆ สำหรับคำว่า Fulfillment แท้จริงแล้วมันคืออะไร ใช่สิ่งที่ผู้ประกอบการมองหาหรือไม่? คำ ๆ นี้ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นบริการที่จะช่วยผู้ประกอบการยุคนี้ อยู่รอดและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น!แล้วบริการ Fulfillment ทำให้สะดวกสบายมากขึ้นอย่างไร? ขายของได้อัตโนมัติและมียอดขายเพิ่มขึ้นจริงหรือ? ไปรู้จักบริการนี้กันดีว่าครับ Fulfillment มีความหมายว่าอะไร?            คำว่า Fulfillment ในภาษาไทยหมายถึง การเติมเต็มเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ดังนั้นการใช้คำนี้ในเชิงธุรกิจจึงเปรียบเหมือนการช่วยเติมเต็มการทำงานของร้านค้าออนไลน์ให้สมบูรณ์นั่นเอง แล้วบริการ Fulfillment คืออะไร? สามารถช่วยธุรกิจค้าขายออนไลน์หรือธุรกิจ E-Commerce ได้อย่างไร? มาทำความรู้จักให้มากขึ้นกันดีกว่า บริการ Fulfillment คืออะไร? (What is Fulfillment ?)            Fulfillment คือ บริการคลังสินค้าพร้อมจัดส่ง เป็นบริการที่อำนวยความสะดวกเพื่อธุรกิจค้าขายออนไลน์หรือธุรกิจ E-Commerce ในเรื่องของพื้นที่จัดเก็บสินค้า (คลังสินค้า) […]

WMS คืออะไร แก้ปัญหาคลังสินค้าด้วย ระบบบริหารจัดการคลังสินค้า 

ในยุคที่การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นเรื่อยๆ การบริหารจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่ต้องรับมือกับความท้าทายในการจัดการสต็อกสินค้า การรับเข้า-จ่ายออก และการจัดส่งที่รวดเร็วตรงเวลา ระบบ WMS หรือ Warehouse Management System จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความผิดพลาด และยกระดับการให้บริการลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น  WMS คืออะไร  Warehouse Management System หรือ WMS คือระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคลังสินค้าแบบครบวงจร ครอบคลุมตั้งแต่การรับสินค้าเข้าคลัง การจัดเก็บ การควบคุมสต็อก ไปจนถึงการเบิกจ่ายและจัดส่งสินค้า ระบบนี้ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถติดตามสถานะสินค้าได้แบบเรียลไทม์ ลดความผิดพลาดในการทำงาน และช่วยให้การบริหารพื้นที่คลังสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานผ่านการเพิ่มความแม่นยำในการจัดการสต็อกและลดการสูญเสียจากสินค้าหมดอายุหรือเสื่อมสภาพ  หลักการทำงานของระบบ Warehouse Management มีอะไรบ้าง  การทำงานของระบบ WMS แบ่งออกเป็น 3 กระบวนการหลักที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การบริหารจัดการคลังสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำสูงสุด โดยแต่ละกระบวนการมีความสำคัญและบทบาทที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้  1. การรับสินค้า กระบวนการรับสินค้าถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการบริหารคลังสินค้า WMS คือระบบที่ช่วยให้การรับสินค้าเป็นไปอย่างมีระบบและแม่นยำ โดยเริ่มจากการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเบื้องต้น (Quality Control) เปรียบเทียบกับใบสั่งซื้อสินค้า เพื่อจัดเก็บข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ เช่น […]

ขั้นตอนการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้า ใครว่าไม่สำคัญ?

ขั้นตอนการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้า ใครว่าไม่สำคัญ? … อย่าคิดว่าการหยิบสินค้า (Picking) ในคลังสินค้าไม่สำคัญ! เพราะทุกขั้นตอนตั้งแต่สินค้าเข้าคลัง จนสินค้าออกจากคลังเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะการหยิบสินค้าที่ดีต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของสินค้า และช่วยลดเวลาเพื่อให้เราทำงานเร็วขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนวิธีการหยิบ ซึ่งเรามี 4 วิธีที่คนนิยมใช้บ่อยๆ มาแนะนำครับ รับรองว่า มีประสิทธิภาพ ทำงานง่ายขึ้นแน่นอน 1.หยิบตามคำสั่งซื้อ (Discrete Picking) เป็นวิธีที่เบสิคและเข้าใจง่ายที่สุด! วิธีการคือ เมื่อมีออเดอร์เข้ามา ผู้หยิบจะเดินไปหยิบสินค้าตามรายการ ที่อยู่ในใบสั่งจนครบทุกออเดอร์ ถ้ามีคำสั่งซื้อใหม่ ก็ต้องเดินไปหยิบใหม่ เป็นขั้นตอนที่ใช้เวลาค่อนข้างมาก อาจทำให้ทำงานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรครับ 2.หยิบเป็นโซน (Zone Picking) เหมาะสำหรับคลังสินค้าที่มีหลายโซน เช่น โซนห้องเย็น, โซนชั้นวางมาตรฐาน โดยผู้หยิบจะถูกกำหนดให้หยิบเฉพาะโซนนั้นๆ เมื่อคำสั่งสินค้าเข้ามาจะแบ่งออกตามโซน สินค้าจะถูกหยิบพร้อมๆกันในทุุกโซนจนครบ อาจจะอาศัยสายพานในการช่วยลำเลียงสินค้า เพื่อส่งต่อไปยังขั้นตอนต่อไป 3.หยิบแบบคลื่น (Wave Picking) วิธีนี้จะคล้ายๆ กับแบบแรกเลยครับ แต่ต่างกันที่แบบนี้จะกำหนดเวลาชัดเจน การหยิบสินค้าจะมีลักษณะเหมือนคลื่น หมายถึง คำสั่งซื้อจะเข้าตามช่วงเวลา เช่น […]